http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.เผยเห็นชอบยกระดับยาไซลาซีนเป็นยาควบคุมพิเศษ

อย. เผย คณะกรรมการยาเห็นชอบยกระดับ “ยาไซลาซีน” เป็นยาควบคุมพิเศษพร้อมกำหนดมาตรการเข้มงวด ป้องกันใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

 

คณะกรรมการยาเห็นชอบปรับยกระดับยาสำหรับสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จำพวก

ยาสงบประสาท 4 กลุ่ม เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” แล้ว หลังมิจฉาชีพนำไปก่ออาชญากรรม พร้อมกำหนดมาตรการ

เข้มงวด เพื่อป้องกันการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

 

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยภายหลังจากการประชุม

คณะอนุกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ว่า จากกรณีการเสนอยกระดับยาไซลาซีน

(Xylazine) เป็นยาควบคุมพิเศษ หลังจากมีมิจฉาชีพนำยาดังกล่าวไปใช้ในการก่ออาชญากรรมนั้น คณะอนุกรรมการฯ

ได้มีมติเห็นชอบยกสถานะยาสำหรับสัตว์ที่เป็นยาสงบประสาท จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” จำนวน

4 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มอัลฟ่า-2-อะเดรเนอจิค อะโกนิสต์ (alpha-2-adrenergic agonist) อาทิเช่น ไซลาซีน (Xylazine),

เดโทมิดีน (Detomidine), เมเดโทมิดีน (Medetomidine), เด็กซ์เมเดโทมิดีน (Dexmedetomidine), โรมิฟิดีน

(Romifidine) 2.กลุ่มเบนโซไดอะซีปีน เดริเวทีฟ (Benzodiazepine derivative) อาทิเช่น โซลาซีแปม (Zolazepam)

สูตรตำรับยาเดี่ยวและผสม 3.กลุ่มบิวทีโรฟีโนน เดริเวทีฟ (Butyrophenone derivative) อาทิเช่น อะซาเพอโรน

(Azaperone), โดรเพริดอล (Droperidol) 4.กลุ่มฟีโนไทอะซีน เดริเวทีฟ (Phenothiazine derivative) อาทิเช่น

อะเซโพรมาซีน (Acepromazine) โดยกำหนดให้แสดงข้อความในฉลากและเอกสารกำกับยา ดังนี้ “ขายตามใบสั่ง

ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งเท่านั้น และ ใช้ภายใต้การกำกับดูแลโดยผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง

เท่านั้น”

 

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า หลังจากยกระดับยาใน 4 กลุ่มดังกล่าวแล้ว ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า

และจำหน่าย จะต้องจัดทำบัญชีและเก็บรายงานไว้ที่สถานประกอบการผลิต นำเข้า และจำหน่าย โดยไม่น้อยกว่า

วันหมดอายุของรุ่นการผลิตของยานั้น และร้านขายยาจะต้องขายยากลุ่มดังกล่าวให้แก่ผู้ที่มีใบสั่งยาของ

สัตวแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าว จะได้รับโทษปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท และ

หากเป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ประจำร้านขายยา จะได้รับ

โทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท

 

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการขายผลิตภัณฑ์ยาโดยไม่ใช่ร้านขายยา หรือ ขายยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์

ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร.1556 หรืออีเมล : 1556@fda.moph.go.th หรือส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเอง พร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาที่ ศูนย์เฝ้าระวัง

และรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 ชั้น 1 ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบ

และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป

 

ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค วันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 ข่าวแจก 10 /ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ข่าวยาไซลาซีน.pdf

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,170
Page Views2,012,356
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view