http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนผู้บริโภคสารเร่งเนื้อแดงอันตราย

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมบริโภคหมูเนื้อแดง ไม่มีมัน เนื่องจากกลัวโรคอ้วน หรือกลัวสารคลอเรสเตอรอลที่มีผลร้ายต่อสุขภาพ จึงทำให้ฟาร์มสุกรต้องผลิตเนื้อหมูที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค คือ มีเนื้อแดงมาก และมีไขมันต่ำ

 โดยปัจจุบันพบว่า มีการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง หรือสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ในหมู วัว และสัตว์ปีก ได้แก่ เคลนบิวรอล และซาลบิวทามอล ซึ่งมีผลข้างเคียง คือทำให้ชั้นไขมันลดลง และเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ หรือเนื้อแดง เมื่อใช้สารในปริมาณมาก ผู้บริโภคซื้อเนื้อหมู หรือเนื้อโคที่มีสารเร่งนี้ จะทำให้มีการขยายตัวของหลอดลม หลอดเลือด มีผลทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนและปวดศีรษะ จึงต้องระมัดระวังการใช้สารนี้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ, โรคลมชัก, โรคเบาหวาน และสตรีมีครรภ์

 จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า อันตรายจากสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (Beta Agonists) โดยสารเบต้าอะโกนิสท์นั้นเป็นสารต้องห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาหารสัตว์ ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท เนื่องจากเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้หัวใจทำงานหนัก เต้นผิดปกติ อันตรายสูงกับคนที่เป็นโรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน

อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก มือสั่น ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ กระวนกระวายและคลื่นไส้ อาเจียนได้ ตลอดจนมีผลกับหญิงมีครรภ์ เพราะจะกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในระบบอวัยวะสืบพันธ์สตรีอีกด้วย โดยในประเทศฝรั่งเศส มีคนตายจากการบริโภคตับโคที่ปนเปื้อนสารเบต้าอะโกนิสท์ ชนิดบิวเทอรอล 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าสารในกลุ่มนี้ บางชนิดเป็นสารก่อให้เกิดเนื้องอกและมะเร็งด้วย 

ในปัจจุบันยังมีการลักลอบใช้สารนี้ในอาหารหรือน้ำให้สุกรและโคเนื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อแดงและลดชั้นไขมันให้บางลง จึงเป็นที่สนใจของผู้บริโภคที่ไม่ทราบถึงอันตรายจากสารที่ตกค้างอยู่ในเนื้อที่ซื้อไปบริโภค เพราะถึงแม้จะทำให้สุกแล้วก็ไม่สามารถกำจัดสารให้หมดไปได้

นอกจากนี้ สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ยังเป็นสารต้องห้ามของประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของไทย คือ ประเทศสหภาพยุโรป (อียู) และประเทศอื่นๆ หากพบในผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกจะถูกระงับการนำเข้า สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและเสียชื่อเสียงของประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากฟาร์ม ผู้จำหน่ายสารดังกล่าว ตลอดจนผู้บริโภค ช่วยหาทางหยุดยั้งการจำหน่ายหรือใช้สารดังกล่าวในการเลี้ยงสัตว์และหน่วยงานของภาครัฐจะต้องดำเนินการในทุกด้านอย่างจริงจัง เข้มงวด และต่อเนื่อง เพื่อหยุดยั้งการใช้สารนี้ให้ผู้บริโภคปลอดภัยต่อไ 

"สารกลุ่มนี้มีทั้งหมดไม่น้อยกว่า 20 ชนิด แต่ที่มีข้อมูลพบว่าใช้กันในไทยแน่นอนแล้ว 4 ชนิด คือ เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol), ซัลบูทามอล (Salbutamol), แรคโตปามิน (Ractopamine) และซิลพาเทอรอล (Zilpaterl) และที่นิยมใช้มากที่สุดคือ Salb

utamol และ Ractopamine

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดหลัง มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้กันมากขึ้น ลักษณะการนิยมใช้ผสมในอาหารสุกร ประมาณ 3-8 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร ส่วนในโคจะมีการใช้ในระดับปริมาณที่สูงถึง 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่ามีการผสมในน้ำให้สัตว์กินอีกด้วย และจากการที่ตรวจตัวอย่างอาหารสัตว์และน้ำที่ให้สัตว์กิน พบว่าการใช้ในสุกรได้ลดลงมาก ส่วนในโคยังคงมีการใช้สารเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50%"

 การดำเนินการที่ผ่านมานั้น มีปัญหาและอุปสรรคมากมาย เนื่องจากมีการใช้สารกันมานานมาก ผู้จำหน่ายสารเข้าใจวิธีการหลบหลีกทีหนีทีไล่เป็นอย่างดี และเป็นเครือข่ายกับฟาร์ม อีกทั้งเคยชินกับการดำเนินการของรัฐ ทำให้มีผู้ฝ่าฝืนอยู่กลุ่มหนึ่ง จึงลำบากต่อการดำเนินการของรัฐยากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนในพื้นที่รู้จักมักคุ้น เกรงใจ บางฟาร์มยังมีอิทธิพล และยังมีปัญหาเรื่องงบประมาณ การจัดซื้อยาชุดทดสอบสารที่ล่าช้าไม่สอดคล้องกับแผนงาน, ห้องแล็บตรวจสารยังคงมีผลวิเคราะห์ที่ยังขาดการยอมรับจากฟาร์ม

 ฉะนั้น ควรเพิ่มมาตรการแก้ปัญหาในเรื่องความร่วมมือบูรณการจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายปกครองในพื้นที่ที่ควรเกี่ยวข้องรับรู้ร่วมมือแก้ปัญหาด้วย และให้กลุ่มสมาคมต่างๆ ตลาด ผู้บริโภค เข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ห้องแล็บส่วนภูมิภาคต้องก้าวหน้า มีเครื่องมือที่พร้อม ทันสมัยกว่าปัจจุบัน มีมาตรฐานใกล้เคียงกับ สตส. หรือหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกระทรวงอื่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

 จากความเข้มงวดในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ทำให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงของผู้เลี้ยงสุกรลดลง อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง จะต้องอาศัยความร่วมมือของเกษตรกรที่ต้องมีจิตสำนึกที่ดีต่อผู้บริโภค ไม่ใช้ยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและผู้บริโภค

 ต้องรู้จักเลือกซื้อเนื้อสุกรที่สะอาดปลอดภัย โดยให้เลือกซื้อเนื้อสุกรที่มีมันหนาบริเวณสันหลัง เมื่ออยู่ในลักษณะตัดขวาง จะมีมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้อเห็นได้ชัดเจน เนื้อสุกรปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว แต่เนื้อที่มีสารเร่งเนื้อแดงจะมีลักษณะค่อนข้างแห้ง ส่วนของ 3 ชั้น ปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (33%) แต่เนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อแดงสูงถึง 3 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (25%) และเนื้อจะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ

 ควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่มีแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ หรือมีป้ายรับรองจากหน่วยราชการ เช่น ป้ายทองอาหารปลอดภัย หรือตรารับรองของกรมปศุสัตว์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ได้เนื้อหมู หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ มาบริโภคได้อย่างปลอดภัย

 ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/37820

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,375
Page Views2,012,561
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view