http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย จากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ ฉลากภาษาไทย มีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน เตือนหากใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วมีอาการผิดปกติหรือเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรกหรือใช้มานานแล้วก็ตาม ต้องหยุดใช้ทันทีและรีบไปพบแพทย์

 นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในการเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางด้วยความระมัดระวังจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ ฉลากภาษาไทย มีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้ง แหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ คำเตือนและเลขที่รับแจ้ง 10 หลักอย่างชัดเจน หากใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วมีอาการผิดปกติหรือเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรกหรือใช้มานานแล้วก็ตาม ต้องหยุดใช้ทันทีและรีบไปพบแพทย์

 นอกจากนี้หากพบสิ่งผิดปกติหรือสงสัย ในอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้เครื่องสำอางให้ร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โทรสายด่วน 1556 หรือส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ได้ที่สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง

 นายบำรุง คงดี ผู้อำนวยการสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่ตรวจพบในครีม ที่สั่งซื้อจากอินเตอร์เนต มี 3 ชนิด ได้แก่ สารไฮโดรควิโนน มีฤทธิ์ทำให้ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย กรดเรทิโนอิก ทำให้ แสบร้อนรุนแรง ผิวหน้าลอก และเป็นอันตราย ต่อทารกในครรภ์ ในขณะที่สารประกอบของปรอท มีอันตรายร้ายแรงมาก ทำให้ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเมื่อสารปรอทสะสมในร่างกาย ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้อีกด้วย การทดสอบเบื้องต้นของสารทั้ง 3 ชนิดนี้ ใช้ชุดทดสอบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าให้ผลบวกให้ส่งทดสอบยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการที่สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ

 สารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ ผิวขาว ส่วนใหญ่เป็นสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ เช่น สารที่ทำให้ทึบแสงและแลดูขาวขึ้นได้แก่ titanium dioxide, zinc oxide และ bismuth subnitrate เป็นต้น ส่วนสารลอกเซลล์ผิวที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ ทำให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดลอกออกไป ทำให้ผิวหน้าดูใสและอ่อนวัย ได้แก่ กรดแอลฟ่าไฮดรอกซี่ (AHA) เช่น กรดไกลโคลิก, กรดแลคติก และกรดเบต้า ไฮดรอกซี่ (BHA) เช่น กรดซาลิไซลิก และสารต่อต้านกลไกการสร้างสีผิว ได้แก่ อาร์บูติน กรดโคจิก อนุพันธ์ของวิตามีนซีและสารสกัดจากพืช เช่น ชะเอม, หม่อน, Apricot, Peach, เปลือกมะนาว เป็นต้น

 ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/37552

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,220
Page Views2,012,406
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view