http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

นมแม่สร้างเด็กไทยไอคิว-อีคิ สูง

'นมแม่' สร้างเด็กไทย 'ไอคิว-อีคิว' สูง 

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เผยผลงานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่เชิงเศรษฐกิจ หลังพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว 6 เดือน ช่วยให้แต่ละครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 7 พันบาทต่อปี วอนภาครัฐและประชาสังคมเร่งขยายสิทธิลาคลอดในทางปฏิบัติให้ครบ 90 วัน อย่างเป็นจริง เพื่อสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่ให้เติบโตขึ้นอย่างมีไอคิวและอีคิวสูง

 นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา ข้อมูลความเกี่ยวข้องของประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้กับ ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าผลการวิจัยจะดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในต้นปี 2557

 "จากการจัดเก็บข้อมูลในกลุ่มหญิงหลังคลอดจำนวน 830 ราย ใน 5 จังหวัด พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน ช่วยให้ ครัวเรือนประหยัดค่าใช้จ่าย 6,616.24 บาท หรือราว 1,100 บาทต่อเดือน และเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในภาพรวม ของประเทศ ซึ่งตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2555 ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ 7.6 แสนคนต่อปี มีร้อยละ 71 ของเด็กทารกเกิดใหม่ได้รับนมแม่ อย่างเดียวเป็นระยะเวลา 3 เดือน และร้อยละ 38 ของ ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน ซึ่งเท่ากับว่า ครัวเรือนไทยจะสามารถประหยัดรายจ่ายได้มากกว่า 1.8 พันล้านบาทต่อปี หากมีการสนับสนุนให้เด็กทุกคน ยกเว้นมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน"

 นอกจากนี้การศึกษาดังกล่าวยังพบข้อสังเกตว่า แม้หญิงไทยหลังคลอดส่วนใหญ่จะเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และถึงจะมี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2521 ที่กำหนดสิทธิ์การลาคลอดไว้ถึง 90 วัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วมารดาจะใช้สิทธิ์ลาคลอดน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าว เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและความจำเป็นด้านการทำงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยได้ผลักภาระให้แม่และครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งที่ประโยชน์จากการกิน นมแม่ไม่ได้เกิดเฉพาะกับเด็กและครอบครัว แต่สังคมและประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์จากการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ รวมถึงยังช่วยลดภาระทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และรายจ่ายของครัวเรือน ที่ลดลงจากการที่เด็กได้รับนมแม่อีกด้วย

 ฉะนั้น ทุกภาคส่วนในสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ควรร่วมสนับสนุนให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสม ผ่านการส่งเสริมมุมนมแม่ในสถานที่ทำงาน ให้แม่ทำงานสามารถเก็บน้ำนมกลับไปให้ลูกที่บ้านได้ รวมถึงการขยายระยะเวลาลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 180 วัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2554 ที่พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้สหรัฐ ประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขที่ต้อง ใช้เพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วยของเด็กในแต่ละปี ได้ถึง 1.1 แสนล้านบาท ลดความสูญเสียจาก การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของเด็กที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 30.3 พันล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้อนมผง 1.17 แสนล้านบาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้าน อาหารเสริมสำหรับแม่หลังคลอด 4.8-6.3 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

 "ดังนั้น การกินนมแม่นอกจากช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้เด็กมีสุขภาพดี มีการเจ็บป่วยน้อยลงซึ่งจะส่งผลจนถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ยังทำให้เด็กเติบโตมีไอคิวและอีคิวสูง ประเทศชาติจะได้ประโยชน์จากการมีประชากรที่มีสติปัญญาดี และสุขภาพแข็งแรง" นพ.ภูษิต กล่าวสรุป

 ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/37563

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,574
Page Views2,012,760
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view