http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

พบอาหารสำเร็จรูปร้านสะดวกซื้อฉลากผิด

ตรวจพบอาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ 'ฉลาก' ผิดอื้อ

 สคบ. เตรียมตรวจสอบข้อมูลฉลากสินค้าประเภทอาหารที่จำหน่ายทั่วไป โดยเฉพาะภายในร้านสะดวกซื้อ หลังพบส่วนใหญ่ แสดงฉลากสับสน

 รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า เตรียมมอบหมายให้กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สคบ. ตรวจสอบข้อมูลฉลากสินค้าประเภทอาหารที่จำหน่ายทั่วไป โดยเฉพาะภายในร้านสะดวกซื้อ หลังได้รับทราบข้อมูลจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด ที่ได้ตรวจสอบฉลากอาหาร 4 กลุ่ม คือ อาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็น-แช่แข็ง เครื่องดื่ม ขนมเด็ก และอาหารนำเข้าของทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 272 ตัวอย่าง พบว่า สินค้าบางส่วนแสดงฉลากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะเดียวกันสินค้าส่วนใหญ่ แสดงฉลากสับสน ทำให้ผู้บริโภคไม่เข้าใจ จึงได้มอบให้เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบ หากพบว่ามีความผิดจริง จะเสนอเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดบทลงโทษต่อไป

 สำหรับผลการตรวจสอบสินค้าดังกล่าว อยู่ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนด้านอาหาร ภายใต้การสนับสนุนของแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด พะเยา ลำปาง สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ออกสุ่มตรวจฉลากอาหารในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก ให้ตรวจสอบว่า อาหารแต่ละชนิดมีประโยชน์กับผู้บริโภคเพียงใด

 ทั้งนี้จากผลตรวจสอบเฉพาะพื้นที่กทม. พบอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็น แช่แข็ง จำนวน 34 ตัวอย่าง เช่น แซนด์วิช เบอร์เกอร์ ติ่มซำ ไส้กรอก ลูกชิ้น จากร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เกต มีสินค้าบางรายการแสดงฉลากไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุส่วนประกอบของอาหารอย่างชัดเจนว่าทำจากอะไร เข้าข่ายการกระทำความผิดฐานแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่เนื้อสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารก็ระบุเพียงว่า เป็นเนื้อสัตว์ ไม่ได้แยกออกมาให้ทราบว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดตามที่กำหนดไว้ในชื่อสินค้า

 นอกจากนี้ยังไม่ระบุส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสโดยเลือกใช้แค่คำว่า เครื่องปรุงรส ซึ่งผู้บริโภคบางกลุ่มอาจอ่อนไหวกับส่วนประกอบ เนื่องจากมีอาการแพ้อาหาร รวมถึงสินค้าบางรายการไม่แสดงวันผลิต และวันหมดอายุเป็นภาษาไทย และเลือกใช้ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษกับตัวเลขแทน ขัดต่อกฎหมายที่กำหนดให้แสดงเป็นภาษาไทย

 ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/37378

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,278
Page Views2,012,464
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view