http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

5 จังหวัดเสี่ยงโรคฉี่หนูระบาด

สธ.สั่งเฝ้าระวัง 5 จังหวัดเสี่ยง "โรคฉี่หนู" แพร่ระบาด เหตุเป็นพื้นที่พบโรคบ่อย ยิ่งน้ำท่วมยิ่งเพิ่มการแพร่ระบาด ระบุปีนี้พบผู้ป่วยแล้ว 2,182 ราย แนะเลี่ยงเดินลุยน้ำย่ำดินโคลน ย้ำติดเชื้อมีอาการไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อโคนขา น่อง ห้ามซื้อยากินเอง ต้องไปพบแพทย์ด่วนก่อนเสียชีวิต 

วันนี้ (17 ต.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในพื้นที่น้ำท่วมและน้ำลด ดำเนินการ 4 เรื่องคือ 1.จัดบริการทางการแพทย์ให้ทั่วถึง ขณะนี้แจกยาชุดน้ำท่วมไปแล้วกว่า 3 แสนครัวเรือน 2.เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต 3.ดูแลความสะอาดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตรวจระดับคลอรีนตกค้างในน้ำประปา ซึ่งในช่วงที่มีน้ำท่วมกำหนดให้อยู่ในระดับ 0.5 พีพีเอ็ม และคงไว้ 1 เดือนหลังน้ำลดเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร และ4.เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย 

นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการประเมินโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วม ขณะนี้แม้ยังไม่พบความผิดปกติ แต่น้ำท่วมที่ขังหลายจังหวัด บางพื้นที่มีโรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนูอยู่แล้ว โดยข้อมูลทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูปี 2556 จำนวน 2,182 ราย พื้นที่ที่เคยพบโรคนี้ เมื่อมีน้ำท่วมอาจจะระบาดในพื้นที่ได้ ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังและให้เพิ่มเป็นกรณีพิเศษใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ และยโสธร ขอให้เจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังหลังน้ำลดต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เคยมีรายงานพบผู้ป่วยมาก่อนเกิดน้ำท่วม 

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เมื่อน้ำท่วมหนูจะหนีน้ำเข้ามาอาศัยตามบ้านเรือนและในที่มีแหล่งอาหารและฉี่ออกมาพร้อมเชื้อ เชื้อชนิดนี้จะมีความเข้มข้นในแหล่งน้ำที่เป็นแอ่งน้ำตื้นๆ และบริเวณดินโคลนชื้นแฉะ และไชเข้าทางแผล รอยถลอกหรือบริเวณง่ามมือง่ามเท้าหรือผิวหนังที่แช่น้ำนาน หรือรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน หลังติดเชื้อประมาณ 10 วัน จะมีอาการป่วย 

อาการที่เป็นสัญญาณเด่นของโรคนี้คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา หากมีอาการดังกล่าวขอให้รีบไปพบแพทย์ มียารักษาหาย ประการสำคัญอย่าซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาลดไข้แก้ปวด เพราะยาชนิดนี้ไม่ได้ฆ่าเชื้อ จะทำให้โรคกำเริบรุนแรงขึ้น และเสียชีวิตได้ 

นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า การป้องกันโรค หากจำเป็นต้องลุยน้ำย่ำโคลน เดินบนที่ชื้นแฉะ ขอให้สวมรองเท้าบูท หรือรองเท้าที่กันน้ำได้ หากมีบาดแผลขอให้ระวังเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำต้องรีบล้างอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เก็บอาหารให้มิดชิด อาหารค้างคืนต้องอุ่นให้ร้อน เก็บกวาดขยะโดยเฉพาะเศษอาหารลงในถุงพลาสติกและมัดปากถุงให้แน่น ดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารของหนู

ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/37101

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,219
Page Views2,012,405
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view