http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

10 วิธี ดูแลจิตใจผู้ประสบภัย

 

กรมสุขภาพจิต แนะ 10 วิธีดูแลสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยน้ำท่วม หลังจากประเมินสุขภาพจิตพบว่า มีความเครียดสูง พร้อมเร่งช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจ

 

นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ส่งผลให้ผู้ประสบภัยเกิดความเครียดกันมากขึ้นซึ่งจากการประเมินสุขภาพจิตผู้ประสบภัยล่าสุด จำนวน  3,838 ราย พบ มีความเครียดสูง 208 ราย เครียดปานกลาง 397 ราย ซึมเศร้า 8 ราย และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1 ราย ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้จัดทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัย หรือทีม MCATT (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team) ทีมีครอบคลุมอยู่ทุกอำเภอ ทำงานเชิงรุกร่วมกับทีมช่วยเหลือทางกาย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติการรักษาโรคทางจิตเวช / ใช้สารเสพติด ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก/ทรัพย์สินอย่างมาก  ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้พิการ  ผู้สูงอายุและเด็ก  กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต  ตลอดจนช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้สูญหายทุกราย  โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องต่อไปเป็นระยะเวลา 3 เดือน

 

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้เตรียมแผนรับมือและการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ได้แก่แผนระยะสั้น1. การเตรียมความพร้อมทีม MCATT ให้สามารถช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม 2. การเตรียมพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือ3. เน้นการบูรณาการด้านการดำเนินงานด้านวิกฤตสุขภาพจิตร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทางกาย และหน่วยงานให้การช่วยเหลืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน 4. จัดให้มีการดำเนินการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการดูแลด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์วิกฤตเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

แผนระยะยาว ได้แก่ 1. สร้างเครือข่ายในการให้การดูแลด้านสุขภาพจิตในชุมชนให้เข้มแข็ง 2. สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถมีความรู้ด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์วิกฤตและสามารถ  เข้าถึงบริการได้อย่างทันท่วงที 3. การเตรียมความพร้อมด้านดูแลสุขภาพจิตตั้งแต่วัยเด็กโดยการบูรณาการร่วมกับสถานศึกษา 4. การพัฒนาศักยภาพทีม MCATT อย่างต่อเนื่อง 5. การพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

 

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะแนวทางในการดูแลจิตใจช่วงน้ำท่วม 10 ข้อ ดังนี้ 1. หายใจเข้าออกช้าๆ 2-3 นาที เพื่อทำให้ออกซิเจนเข้าสู่สมองแล้วความเครียดจะลดลง 2. การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จะช่วยทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีขึ้น หากต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน 3. การยืดเหยียดในท่าที่ผ่อนคลายจะช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น 4. ความเครียดทำให้เรารับฟังกันน้อยลงจึงต้องดูแลตัวเองด้วย 5. แปลงความกังวลเป็นการลงมือทำ รวมพลังครอบครัวและชุมชนรับกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น 6. ไม่ด่า ไม่ว่า ไม่ทับถม อย่าให้ความหวังดีเป็นความขัดแย้งและทำร้ายกัน 7. ความกังวลใจจะลดลงได้ หากได้ช่วยเหลือผู้อื่น 8. อย่าลืมเวลาเล่น เล่านิทานกับลูกเพราะว่าเด็กก็เครียดเป็น 9. การใส่ใจคนรอบข้างทำให้เราทุกข์น้อยลง 10. แบ่งเวลาทำสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ สร้างความสงบให้จิตใจ

 

ทั้งนี้  หากไม่ดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโทรสายด่วน1323 และหมายเลขอัตโนมัติ 1667 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36939

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,531
Page Views2,012,717
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view