http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนประชาชน สารพิษตกค้างในผัก

เตือนประชาชนระวังสารพิษตกค้างในผัก

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนประชาชน บริโภคผักสด ผักแห้้ง รวมทั้งผักดอง ระวังสารอันตรายตกค้าง พร้อมแนะวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันแก่ประชาชน

 

นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผย ว่า การบริโภคพืชผัก ทั้งผักสด ผักแห้ง รวมทั้งผักดอง ซึ่งพืชผักเหล่านี้อาจมีสารอันตรายตกค้างได้ โดยอาจเกิดได้ ทั้งจากภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม เช่น ยาฆ่าแมลงในผักสด สารกันรา และวัตถุกันเสียในผักดอง รวมทั้งสารบอแรกซ์หรือผงกรอบในผักดอง และอาหารเจทั่วไป ซึ่งสารเคมีดังกล่าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

 

ผลจากการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของสำนักคุณภาพและความปลอดภัย อาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ผักสด จำนวน 6 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง จำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83.33 โดยพบในหัวไช้เท้าและผักกวางตุ้ง อาหารหมักดอง จำนวน 30 ตัวอย่าง ไม่พบกรดซาลิซิลิค(สารกันรา) และสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) ทุกตัวอย่าง  แต่ตรวจวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิค) เกินมาตรฐานที่กำหนด จำนวน 22 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 73 ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 1,034-5,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยพบในผักกาดดอง และหัวไช้โป๊วมากที่สุด รองลงมาคือกาน่าไฉ่ ส่วนอาหารเจทั่วไป จำนวน 10 ตัวอย่าง ไม่พบสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) ทุกตัวอย่าง

 

ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันสารอันตรายได้ ดังนี้ ยาฆ่าแมลง โดยการเลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ดังนั้นควรนำมาล้างน้ำทำ ความสะอาดและปอกเปลือก (ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาปรุงอาหาร และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น

 

เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อ จากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพหรือมีเครื่องหมาย อย. ส่วนสารบอแรกซ์หรือผงกรอบ ผู้บริโภค ไม่ควรกินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้งหรืออยู่ได้นานผิดปกติ

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36977

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,571
Page Views2,012,757
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view