http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ย่ำ 'น้ำขัง' เสี่ยงโรค

สถาบันโรคผิวหนัง แนะประชาชนดูแลและความสะอาดเท้าหลังจากลุยน้ำขัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนัง 

 น.พ.จิโรจน์ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง แนะการใส่ใจดูแลและทำความสะอาดเท้าหลังจากการลุยน้ำขัง คือการลุยน้ำแบบน้ำไม่สกปรกมาก บางคนอาจจะไม่รู้สึกว่าอันตราย แต่ที่ควรจะต้องตระหนักยังมีปัญหาเรื่องความชื้นที่ทำให้เท้าเปื่อยอย่างบริเวณง่ามเท้าฉีก เปื่อย ยุ่ย และเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผิวหนังอ่อนแอและขาดความสามารถในการป้องกันเชื้อโรค ซึ่งเมื่อเชื้อราเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังลอก หรือเป็นกลาก แต่หากเป็นแบคทีเรียจะทำให้เป็นตุ่มหนองได้ หรืออาจจะลุกลามเป็น "ไฟลามทุ่ง" ติดเชื้อลามในชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้ต่อมน้ำเหลือง "ลูกหนู" อักเสบและบวมได้

 ส่วนการย่ำน้ำที่สกปรกมากๆ มีเศษขยะ สารเคมี ความสกปรกทั้งหลายละลายปนน้ำแล้วขังอยู่ในแอ่ง รวมถึงน้ำในท่อระบายน้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคนับไม่ถ้วนที่เอ่อขึ้นมาบนถนน น้ำชนิดนี้ค่อนข้างมีอันตรายที่ตาเปล่ามองไม่เห็น เพราะไม่จำเป็นต้องมีแผลแต่ไวรัส เชื้อโรค และพยาธิบางชนิดสามารถไชผ่านผิวหนังได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยรอยแผลใดๆ บนผิวหนัง

 นอกจากนี้ยังมีโรคฉี่หนู ที่เป็นแล้วถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงเศษแก้วหรือเศษโลหะที่อยู่ในแอ่งน้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยเส้นเลือดตีบและเบาหวาน เพราะเป็นแผลง่ายและหายยาก โอกาสติดเชื้อมีสูง อาจจะรุนแรงถึงขั้นต้องตัดเท้า

 ส่วนประชาชนทั่วไปหากจำเป็นต้องเดินผ่านประจำ ควรมีบูทยางสลับเปลี่ยนเมื่อต้องลุยน้ำ หากหาไม่ได้อย่างน้อยใช้ถุงพลาสติกสวมเท้าก็พอกันได้ แต่พอผ่านมาได้แล้วต้องรีบล้างเท้า ถ้าเป็นน้ำไม่สกปรกนัก ล้างให้สะอาด ฟอกสบู่ก็พอ แต่ถ้าน้ำสกปรกมากควรใช้สบู่ฆ่าเชื้อหรือเช็ดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์

 การล้างควรเน้นพื้นที่ซอกนิ้วร่องนิ้ว และง่ามนิ้ว ซึ่งเป็นจุดอับที่มักจะล้างไม่ทั่วถึง และเมื่อล้างเสร็จต้องเช็ดให้แห้ง โดยใส่ใจจุดอับช่วงง่ามนิ้วเป็นพิเศษ

 หน้าฝนแบบนี้ถ้าทำได้ให้ใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าพลาสติก และควรมีรองเท้าถุงเท้าสำรองติดรถ ติดออฟฟิศ หรือถ้าติดกระเป๋าไว้บ้างก็ดี เพราะล้างเท้า เช็ดเท้าแล้ว ก็ไม่ควรจะไปใส่รองเท้าหรือถุงเท้าชื้นๆ และสกปรกอีก

 ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36824

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,279
Page Views2,012,465
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view