http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คพ.อบรมวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

"ขยะอิเล็กทรอนิกส์" พุ่ง คพ.อบรมวิธีกำจัดซาก

 

กรมควบคุมมลพิษ เผยขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น แนะประชาชนควรมีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้

 

นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ คพ.ได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาบาเซล โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชน (SBC/UNEP) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จัดฝึกอบรมเทคโนโลยีการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 ให้กับผู้แทนหน่วยงานจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ เพื่อเผยแพร่แนวทางและเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในการ จัดการซากผลิตภัณฑ์ ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการกำจัดของเสียหรือวัสดุที่เป็นอันตราย

 

นายวิเชียรกล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันกว่าร้อยละ 50 จะขายซากผลิตภัณฑ์เมื่อไม่ใช้แล้ว ส่วนที่เหลือจะเก็บปะปนรวมกับขยะทั่วไป โดยผู้ที่รับซื้อไม่ได้มีการจัดการอย่างถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งคาดว่าในปี 2559 จะเกิดซากผลิตภัณฑ์ประมาณ 24.30 ล้านเครื่อง ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ประมาณ280 ล้านหลอด และซากแบตเตอรี่แห้งประมาณ 650 ล้านก้อน

 

"การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีความยุ่งยากซับซ้อน และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมีองค์ประกอบจากวัสดุหลายอย่าง โดยเฉพาะสารอันตราย เช่น โลหะหนัก สารในกลุ่มสารมลพิษที่ตกค้างยาว หากการถอดแยกชิ้นส่วนโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนของการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า และเกิดการปล่อยสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมได้ เช่น การถอดแยกเครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น เพื่อนำมารีไซเคิล ทำให้มีการระบายสารความเย็นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสารทำความเย็นส่วนใหญ่เป็นสารทำลายชั้นโอโซน หรือกลายเป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่หากใช้วิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมได้" อธิบดี คพ.กล่าว

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36662

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,383
Page Views2,012,569
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view