http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.สนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภค

อย.สนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภค 100 เครื่องทั่วประเทศ

 

หนุนผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลางยกระดับการผลิตได้มาตรฐาน

อย.สนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภคให้แก่ผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางครบ 100 เครื่อง

ติดตั้งทั่วประเทศแล้วแบ่งเป็นเครื่องผสมเกลือบริโภคขนาดเล็ก 40 กิโลกรัม 70 เครื่องและเครื่องผสมเกลือ

บริโภคขนาดใหญ่ 150 กิโลกรัม 30 เครื่อง เพื่อให้มีเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสามารถผลิตเกลือบริโภค

ที่มีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด ได้ผลวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคเป็นที่น่าพอใจ

โดยเกลือบริโภคมีแนวโน้มผ่านมาตรฐานมากขึ้น

 

ภญ.ศรีนวลกรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า นโยบายสําคัญของ

กระทรวงสาธารณสุขคือต้องการให้คนไทยไม่ขาดสารไอโอดีน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตเกลือบริโภค

เสริมไอโอดีนด้วยเครื่องผสมเกลือบริโภคและให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดซื้อเครื่อง

ผสมเกลือบริโภคโดยให้ความช่วยเหลือในการอุดหนุนเครื่องผสมเกลือบริโภคให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก

40 กิโลกรัมจํานวน 70 เครื่องและขนาดใหญ่ 150 กิโลกรัมจํานวน 30 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 100 เครื่องซึ่ง

ขณะนี้ได้ดําเนินการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วตามภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคเหนือ 5 เครื่อง ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ 51 เครื่อง ภาคกลาง 34 เครื่อง ภาคใต้ 1 เครื่องและกรุงเทพฯ 9 เครื่อง ซึ่งภายหลัง

จากการติดตั้งเครื่องผสมได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเกลือบริโภคด้วยเครื่อง

ผสมรวมทั้งร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลดําเนินการสํารวจความพร้อมและประเมิน

ศักยภาพผู้ประกอบการทั้งก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนเครื่องเครื่องผสม พร้อมทั้งให้คําแนะนํา ปรึกษาใน

การผลิตเกลือบริโภคอีกด้วย

 

รองเลขาธิการฯอย. กล่าวต่อไปว่าจากการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนในเกลือก่อนได้รับการ

สนับสนุนเครื่อง (เดือนพฤศจิกายน 2555- กุมภาพันธ์ 2556) ผ่านมาตรฐาน (20-40 ppm) ร้อยละ 70.97

และไม่ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 29.03 โดยพบการกระจายตัวของไอโอดีนไม่สม่ําเสมอเท่าที่ควร หลังได้รับการ

สนับสนุนเครื่อง(เดือนกรกฎาคม 2556- กันยายน 2556) ผ่านมาตรฐาน (20-40 ppm) ร้อยละ 87.36 และ

ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 12.64 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนเครื่องผสม พบว่า

ผู้ประกอบการผลิตเกลือบริโภคมีแนวโน้มผ่านมาตรฐานตามกฎหมายเพิ่มขึ้นและมีการกระจายตัวของไอโอดีน

ที่สม่ำเสมอมากขึ้น

 

อย. จะดําเนินการจัดสร้างระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System ) หรือ QMS

สําหรับสถานที่ผลิตเกลือในระยะเวลาดําเนินการ 3 ปี (พ.ศ.2556-2558) โดยมีเป้าหมายระยะสั้นคือการ

จัดสร้างระบบ QMS ให้กับสถานที่ผลิตขนาดใหญ่และขนาดกลางและเป้าหมายระยะยาวคือสถานที่ผลิต

เกลือบริโภคทุกแห่งต้องมีระบบ QMS ทั้งนี้เพื่อให้เด็กไทยได้รับสารไอโอดีนเพียงพอต่อความต้องการของ

ร่างกายสอดคล้องกับคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญจากยูนิเซฟและระบบการผลิตเกลือบริโภคให้ได้มาตรฐานตาม

แนวทางสากลรองเลขาธิการฯกล่าวในที่สุด

 

ที่มา :กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 27 กันยายน 2556 ข่าวแจก 86 / ปีงบประมาณ พ.ศ.2556

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/สนับสนุนเครื่องผสมเกลือไอโอดีนครบ100เครื่อง.pdf

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,399
Page Views2,012,585
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view