http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ปรับการควบคุมถุงบรรจโลหิต

อย. ปรับการควบคุมถุงบรรจโลหิตให้สอดคล้องกับการควบคุมเครื่องมือแพทย์ในระดับสากล

 

อย. ปรับการควบคุมถุงบรรจุโลหิต ทั้งที่มีและไม่มีน้ํายาป้องกันการแข็งตัวของโลหิตหรือน้ํายารักษาสภาพ

ของโลหิตเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับอนุญาตผลิต นําเข้า หรือขายเพื่อให้สอดคล้องกับการควบคุมในระดับ

สากล มีการกําหนดคุณภาพมาตรฐานของถุงบรรจุโลหิตและการแสดงฉลากภาชนะบรรจุถุงบรรจุโลหิตโดยออก

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องถุงบรรจุโลหิต พ.ศ. 2556 มีผลบังคับใช้ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป

 

นพ.บุญชัยสมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าสํานักงานคณะกรรมการ

อาหารและยา (อย.) ได้ปรับการควบคุมถุงบรรจุโลหิต ทั้งที่มีและไม่มีน้ํายาป้องกันการแข็งตัวของโลหิตหรือน้ํายา

รักษาสภาพของโลหิตเพื่อให้สอดคล้องกับการควบคุมในระดับสากลโดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข

เรื่องถุงบรรจุโลหิต พ.ศ. 2556 ปรับการควบคุมถุงบรรจุโลหิตให้เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับอนุญาตผลิต

นําเข้า หรือขาย ซึ่งจากเดิมถุงบรรจุโลหิตที่มีน้ํายาป้องกันการแข็งตัวของโลหิตหรือน้ํายารักษาสภาพของโลหิต

จัดเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่ต้องขึ้นทะเบียนตํารับยาส่วนถุงบรรจุโลหิตที่ไม่มีน้ํายาป้องกันการแข็งตัวของโลหิตหรือ

น้ํายารักษาสภาพของโลหิตเดิมจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป

 

นอกจากนี้ประกาศฯดังกล่าวยังได้กําหนดคุณภาพของถุงบรรจุโลหิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ภาชนะพลาสติกปราศจากเชื้อสําหรับบรรจุโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต (มอก. 1298 – 2555) หรือมาตรฐาน

สากลที่เทียบเท่าและต้องผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพการผลิต โดยมีการควบคุมน้ํายาป้องกัน

การแข็งตัวของโลหิตหรือน้ํายารักษาสภาพของโลหิตที่บรรจุถุงบรรจุโลหิตตามข้อกําหนดในตํารายาที่รัฐมนตรี

ประกาศตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องยา

 

นอกจากนี้ได้กําหนดการแสดงฉลากภาชนะบรรจุถุงบรรจุโลหิต (Over-package) ที่ขายหรือมีไว้เพื่อขายภายใน

ประเทศต้องมีฉลากเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่อ่านได้ชัดเจน เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์หรือชื่อการค้าข้อความที่แสดง

ว่าเป็นถุงเดี่ยว หรือถุงชุด ปริมาณโลหิตที่สามารถบรรจุในแต่ละถุงชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิตหรือสถานที่นําเข้า

ครั้งที่ผลิตหรือรุ่นที่ผลิตเดือน ปีที่ผลิต/ เดือน ปีที่หมดอายุคําเตือน วิธีการเก็บรักษาวัสดุที่ใช้ทําถุงบรรจุโลหิต

รวมทั้งกําหนดให้ขายถุงบรรจุโลหิตเฉพาะแก่สถานพยาบาลสภากาชาดไทย หรือผู้รับอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์

เท่านั้น ทั้งนี้ประกาศฯฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป

 

เลขาธิการฯอย. กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อประกาศฯเรื่อง ถุงบรรจุโลหิต พ.ศ. 2556 มีผลบังคับ

ใช้แล้วผู้ประกอบการถุงบรรจุโลหิตได้แก่ผู้ที่ได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับยาซึ่งบรรจุอยู่ในถุงบรรจุโลหิต

ตามประกาศฯฉบับนี้ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตถุงบรรจุโลหิตผู้นําเข้าถุงบรรจุโลหิตที่ได้รับหนังสือ

รับรองประกอบการนําเข้าเครื่องมือแพทย์และผู้ขายถุงบรรจุโลหิตอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

หากประสงค์จะดําเนินการต่อไป ต้องมายื่นคําขออนุญาตภายในกําหนดเวลา 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มี

ผลบังคับ หรือ ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2557

 

ที่มา :กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค วันที่ 20 กันยายน 2556 ข่าวแจก 85 /ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ /ข่าวถุงโลหิต.pdf

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,244
Page Views2,012,430
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view