http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนภัย! โรคไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่

 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดย ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลและที่ปรึกษากรมควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, ศ.นพ.สมิง เก่าเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการร่างแนวทางเวชปฏิบัติและการจัดการความรู้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และ ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร เลขานุการและอนุกรรมการร่างแนวทางการวินิจฉัยไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวเตือนประชาชนระวังภัยไข้เลือดออกเดงกีระบาดในผู้ใหญ่ โดยในปีนี้พบผู้ป่วยเพิ่มจำนวนสูงมากขึ้นหลายเท่า พร้อมเผยแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่ ย้ำปี พ.ศ. 2556 ให้แพทย์ทั่วประเทศเฝ้าระวังสังเกตอาการ และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม 

ศ.นพ.เกรียง กล่าวว่า นี้ได้เกิดการระบาดของโรคไข้แดงกีและไข้เลือดออกแดงกีในผู้ใหญ่ ทำให้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ต้องออกมาประกาศเตือนประชาชนและแจ้งข่าวสารไปยังแพทย์ทั่วประเทศให้เตรียมรับสถานการณ์และหมั่นเฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วย ที่เข้ามารักษาที่คลินิกหรือโรงพยาบาลให้มากที่สุด

 ศ.พญ.อุษา เพิ่มเติมว่า ในปี พ.ศ. 2556 นี้ พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกีในปีที่ผ่านๆมา โดยมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีในบางเดือนเพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ

 โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี (29.98%) รองลงมา เป็นผู้ป่วยอายุ 15-24 ปี (25.39%) และผู้ป่วยอายุ 7-9 ปี (12.51%) ภาคที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเดงกีสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองลงมาเป็นภาคใต้ ภาคเหนือและภาคกลาง ตามลำดับ โดยพาหะนำโรคไข้เลือดออกเดงกีคือยุงลาย ดังนั้นการป้องกันโรค จึงต้องอาศัย การควบคุมการแพร่พันธุ์ยุงลายและป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเด็งกี ที่นำออกมาใช้กับประชากรทั่วไป

 ด้าน ศ.นพ.สมิง กล่าวว่า ขอให้ประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีผู้ป่วยในระยะ 500—1,000 เมตร รอบๆ บ้านและหมั่นปิดฝาโอ่ง เทน้ำในภาชนะที่ไม่ใช้แล้วทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลาย โดยเป็นการป้องกันในเบื้องต้นในขณะนี้ ทั้งนี้ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี จึงขอให้ประชาชนทั่วไปเฝ้าระวังด้วย หากมีอาการป่วยในเบื้องต้น ให้รีบพบแพทย์ทันที

 สำหรับแพทย์ทั่วไป ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 7 เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 02-7166744 ต่อ 14หรืออีเมล์: rcptmail@gmail.com

 ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/36308

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,317
Page Views2,012,503
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view