http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งพัฒนาเด็กให้อ่านออกเขียนได้

 เร่งรัดคุณภาพอ่านรู้เรื่องสื่อสารได้ ใช้จี้เขตพื้นที่เร่งรัดพัฒนาเด็ก ป.3/ป.6 ต้องอ่านออกเขียนได้ ระบุจะกำหนดเป็นมาตรการระยะยาวและให้ สพฐ. ไปสร้างแบบทดสอบภาษาไทยโดยเฉพาะเพื่อจะได้รู้ศักยภาพที่แท้จริง

ด้าน สพฐ. โชว์คู่มือและแนวปฏิบัติคัดกรองเด็กและเริ่มคัดกรองเด็ก 9-20 ก.ย.นี้ก่อนนำมาพัฒนาในช่วงปิดเทอม เตรียมมัดมือเขตพื้นที่ฯ มาเซ็น MOU ร่วมรับผิดชอบพัฒนาการอ่านของเด็ก 22 ก.ย.นี้ จะเริ่มย้ำสิ้นปีการศึกษา 56 กำหนดมาตรการระยะยาว

 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) และนางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการ กพฐ. ร่วมแถลงข่าวประกาศนโยบายเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ “นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ต้องไม่มี” โดย นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ศธ.ได้มีนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้ มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ดังนั้น วันนี้ตนจึงได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยจะให้เป็นนโยบายเร่งรัดที่จะทำในปีการศึกษา 2556 นี้

 ซึ่งหลังจากนี้ จะเริ่มขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยนำร่องที่นักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ก่อน โดยจะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ ไปดำเนินกาคัดกรองหรือสแกนนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาให้แล้วเสร็จระหว่างวันที่ 9-20 ก.ย.นี้  จากนั้นจะให้มีการเร่งรัดพัฒนาครู ตามผลการประเมินนักเรียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2556 หรือช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 และติดตามนิเทศก์และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา พร้อมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อ สพฐ.ทุกภาคเรียน

 “ศธ.ได้เตรียมมาตรการแก้ปัญหาระยะยาวไว้ด้วยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ภาษาไทยซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิรูปการเรียนรู้ของ ศธ. ที่สำคัญ ได้ให้ สพฐ.หาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยมาพัฒนาและออกแบบทดสอบสมรรถนะด้านภาษาไทยขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีแบบทดสอบภาษาไทยโดยเฉพาะเหมือนกับแบบทดสอบทางภาษาในภาษาอื่น ๆ ทำให้ไม่รู้ความสามารถทางภาษาไทยที่แท้จริงของเด็ก ซึ่งแบบทดสอบทางภาษาไทยนี้จะพัฒนาไว้ให้โรงเรียนใช้สแกนเด็กของตัวเอง เพื่อวางแผนพัฒนาทักษะทางภาษาให้เด็กได้อย่างถูกต้อง"นายจาตุรนต์ กล่าว

 นายชินภัทร กล่าวว่า สพฐ. จะลงมือสแกนนักเรียนระหว่างวันที่ 9-20 ก.ย.นี้ หลังจากกระบวนการสแกนนักเรียนครั้งใหญ่แล้ว. จะได้ข้อมูลชี้ชัดวนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ทั่วประเทศ มีทักษะในการอ่านในระดับใด โดยจะมีการแบ่งแยกเด็กออกเป็น 4 กลุ่มตามผลการทดสอบ คือ กลุ่มดี กลุ่มพอใช้ กลุ่มต้องปรับปรุง. และกลุ่มอยู่ในขั้นอ่านไม่ได้เลย ขณะเดียวกัน ระหว่างปิดภาคเรียนก็จะมีการเตรียมความพร้อมของครูผู้สอน และทำแผนฟื้นฟูเด็กที่มีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พอเปิดภาคเรียนที่ 2 ก็จะลงมือฟื้นฟูเด็กที่มีปัญหาทันทีโดยมีมาตรการช่วยเหลือเด็กที่หลากหลาย

 ที่มา : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36339

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,275
Page Views2,012,461
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view