http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ทีวีเป็นเพื่อน เด็กบกพร่องพัฒนาการภาษา

ทีวีเป็นเพื่อนลูก ทำเด็กบกพร่องพัฒนาการภาษา

 

จิตแพทย์ เผย เด็ก ม.1 อ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง เพราะพัฒนาการภาษาล่าช้า และไม่ได้กระตุ้นรักษาตั้งแต่เด็ก เหตุพ่อแม่คุยกับลูกน้อย แถมชอบเปิดทีวีอยู่เป็นเพื่อนลูก แนะสังเกตสมุดการบ้าน ยิ่งเละยิ่งต้องแก้ไข เตือนครูห้ามฝืนบังคับเด็กอ่านเขียนแบบเดิม ให้เน้นการอ่านแบบภาพ เผย ปี 57 เล็งทำคู่มือคัดกรองเด็กมีปัญหาพัฒนาการสำหรับครู

 

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความเป็นห่วงปัญหาเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่คล่อง ว่า ปัญหานี้แท้จริงแล้วเกิดจากการที่เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า แต่ไม่ได้รับการใส่ใจหรือแก้ปัญหาตั้งแต่เด็ก อย่างกรณีอ่านเขียนไม่คล่องนั้น เกิดจากการพัฒนาการล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีใครสื่อสารกับลูกตั้งแต่เด็ก เช่น พ่อแม่ต้องทำงานก็ปล่อยให้ลูกอยู่กับทีวี แม้แต่ตอนกลางคืนก็ไม่ได้มีการพูดคุยกับลูก ตรงนี้จะทำให้เด็กมีปัญหาการพัฒนาการด้านภาษา ดังนั้น พ่อแม่จะต้องหมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆ อย่างก่อนนอนอาจจะเล่านิทานให้ลูกฟัง เพื่อฝึกทักษะด้านภาษาให้ลูก เป็นต้น ซึ่งการที่เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ทำให้บางครั้งเขาไม่สามารถอ่านเขียนแบบเรียงบรรทัดได้

 

“หากอยากทราบว่าเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาหรือไม่ ความจริงแล้วสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเข้าวัยเรียนแล้ว สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ประถมจากสมุดการบ้าน หากสมุดการบ้านเละ เขียนผิดๆ ตกหล่น ให้รีบแก้ไข แต่ส่วนใหญ่เมื่อเด็กอ่านเขียนไม่คล่อง ที่ผ่านมาครูมักจะคิดว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ก็จะบังคับเขาให้อ่านหนังสือ บังคับให้เขียนจนกว่าจะได้เหมือนเพื่อนๆ ซึ่งการสอนแบบนี้จะไม่สามารถช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติได้” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว     

 

พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า การฝึกพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสำหรับเด็กประถมหรือมัธยมนั้น ต้องฝึกให้เขาอ่านแบบภาพแทน ถ้าให้ฝึกจากการสะกดตัวอักษรเขาจะงง ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนหลายแห่งจะมีการเปิดสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ทั้งหมด โดยจะเปิดห้องเรียนพิเศษเหมือนเรียนซ่อมเสริม แต่จะให้เด็กได้มาเรียนรู้ภาษาในลักษณะของสื่อการเรียนการสอนที่คล้ายกับการเล่นเกม ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับความสนุกด้วย

 

พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า ในปี 2557 กรมสุขภาพจิตจะมีความร่วมมือกับ ศธ.เพื่อให้เด็ก ป.1 มีกระบวนการประเมินเพื่อหาเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า โดยจะทำคู่มือสำหรับครูโดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมามักพบว่าเด็กป.1 มีปัญหาออทิสติก 8% เด็กแอลดี 10% ซึ่งเมื่อรู้ได้ไวว่าเด็กมีปัญหาจะได้กระตุ้นพัฒนาการให้ถูกด้าน เด็กก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้

 

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/node/36195

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,551
Page Views2,012,737
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view