http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งรัดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเสี่ยง

กรมควบคุมโรค ขอให้กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่มารับบริการฉีดวัคซีนก่อน 30 กันยายน 2556 ขณะนี้มีผู้มารับบริการวัคซีนประมาณ 1.9 ล้านราย จากเป้าหมาย 3.5 ล้านราย

 

นายแพทย์ประดิษฐ  สินธวรณรงค์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยวัคซีนให้แก่ประชาชน 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน -2 ปี และผู้ป่วยทุกอายุ ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด ปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด  นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้วัคซีนแก่บุคลากรทางการแพทย์  และเจ้าหน้าที่ที่เสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วย ผู้ที่มีหน้าที่กำจัดซากสัตว์ปีก เป็นต้น โดยได้จัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ไว้บริการแก่กลุ่มดังกล่าว จำนวน 3.5 ล้านราย และได้เริ่มทยอยให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม–30 กันยายน 2556  

 

ด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยนั้น  แต่ละปีจะมีสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน สำหรับปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ไว้บริการให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ สายพันธุ์เอ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ชนิดเอ เอช 3 เอ็น 2 (H3N2) และชนิดบี (B) หลังฉีดวัคซีนดังกล่าวจะมีผลป้องกันโรคได้ 1 ปี หรืออาจเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้แต่อาการไม่รุนแรง  อย่างไรก็ตามถ้าผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง  ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ก็อาจไม่เป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรงได้เช่นกัน ตรงกันข้ามผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการป่วยรุนแรงจากโรคแทรกซ้อนได้  ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประมาณการผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรงไว้ 3.5 ล้านคนและเตรียมวัคซีนไว้เพียงพอ แต่ขณะนี้มีจำนวนผู้มารับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ถึง 22 สิงหาคม  2556 จำนวนประมาณ 1.9 ล้านราย ได้แก่ ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่มีโรคเรื้อรังประมาณ 1.1 ล้านราย บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป  ประมาณ 5 แสนราย ที่เหลือเป็นหญิงมีครรภ์ บุคคลโรคอ้วน ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กอายุ 6  เดือน- 2 ปี

 

อย่างไรก็ตาม การให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงขอให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวไปรับบริการฟรี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยกเว้นเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนผลิตในไข่ไก่ ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ผู้ที่มีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือโรคประจำตัวกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน หลังการฉีดวัคซีนไม่ควรรีบกลับบ้าน ควรรอเฝ้าสังเกตอาการข้างเคียงในสถานพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการข้างเคียง ซึ่งจะปรากฏภายใน 2–3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังฉีด เช่น หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะต้องแจ้งแพทย์ทันที

 

ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้โดย 1.ล้างมือบ่อยๆหลีกเลี่ยงการเอามือขยี้ต่ำหรือจับของเข้าปาก รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ  2.อย่าใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ  แปรงสีฟัน เป็นต้น สิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยควรแช่น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนซักหรือต้มในน้ำเดือน ตากให้แห้ง  3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่นขณะป่วยและควรนอนพักรักษาตัวที่บ้าน  4.สวมหน้ากากอนามัยหรือที่ปิดจมูกเวลาไอจาม  5.รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอในช่วงอากาศหนาวเย็น  6.หากมีอาการไข้หวัดที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ส่วนใหญ่อาการจะหายภายใน 3–5 วัน โดยการนอนพักผ่อนให้มาก ดื่มน้ำมากๆ หรือน้ำผลไม้ น้ำซุป หรืออาจใช้นำเกลือแร่ร่วมด้วย ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ขาดเกลือแร่  เมื่อไข้สูงห้ามอาบน้ำเย็นให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากมีอาการปวดศีรษะ ให้กินยาพาราเซตามอน ในผู้ใหญ่กินครั้งละ 1–2 เม็ด (500 มิลิลกรัม)  วันละ 2–3 ครั้ง ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้

 

เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสจะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากมีอาการหอบหรือแน่นหน้าอกให้พบแพทย์ทันที่ หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ โทร 1422 และศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค โทร 02 590 3333

 

ที่มา : กลุ่มประชาสัมพันธ์และข่าว กรมควบคุมโรค

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36188

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,541
Page Views2,012,727
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view