http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

คู่มือรักษาไข้เลือดออกหลังครึ่งปีพบป่วยแสน

ออกคู่มือรักษาไข้เลือดออกหลังครึ่งปีพบป่วยแสน

 

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ออกแนวทางการรักษาไข้เลือดออก-ไข้เดงกีในผู้ใหญ่ หลังพบครึ่งปีมีผู้ป่วยทุกช่วงอายุเกือบแสนราย เสียชีวิตแล้ว 86 ราย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ป่วยและตายมีจำนวนเพิ่มไม่ต่างจากเด็ก พบสาเหตุเสี่ยงเพราะแพทย์วินิจฉัยช้า แถมมีโรคประจำตัวเยอะ 

 

ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีกำลังระบาดหนัก ทางราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จึงเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องออกมาประกาศแจ้งเตือนไปยังแพทย์และประชาชนให้ตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรค

 

โดยเฉพาะในชุมชนเมือง ในปี 2556 ไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการขยายตัวของประชากร ทำให้การกระจายของยุงลาย ที่นำเชื้อไวรัสเดงกีหลายสายพันธุ์ หรือบุคคลที่นำเชื้อนี้ไปด้วยในระยะที่มีอาการป่วย ซึ่งแม้ว่าโรคไข้เลือดออกจะสามารถพบได้ตลอดทั้งปีและพบบ่อยในฤดูฝน แต่การแพร่ระบาดไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่าในระยะหลังมีการระบาดไม่มีแบบแผนแน่นอน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

 

ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล และที่ปรึกษากรมควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ไข้เลือดออกพบในเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยพบมากขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งการรักษาจะทำได้ยากกว่าเด็ก เนื่องจากกลุ่มผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดัน โรคตับแข็ง โรคไต และมีการรับประทานยาบางอย่างร่วมด้วย อาทิ พาราเซตามอล

 

ทั้งนี้ สถิติล่าสุดจนถึง ส.ค. พบว่ามีผู้ป่วยทั้งประเทศรวม 93,034 ราย เสียชีวิต 86 ราย คิดเป็นอัตราเสียชีวิตเฉลี่ย 0.09 รายต่อจำนวนผู้ป่วย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา บางเดือนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี 30% รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15-20 พบ 25% และกลุ่มอายุ 7-9 ปี จำนวน 12% โดยพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง

 

ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร เลขานุการและอนุกรรมการร่างแนวทางการวินิจฉัยไข้เดงกีและไข้เดงกีในผู้ใหญ่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า เชื้อไวรัสเดงกีปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ เวลาติดเชื้อจะแสดงอาการ 2 แบบคือ เป็นไข้เดงกี กับเป็นไข้เลือดออก โดยไข้เดงกีจะเป็นแบบเฉียบพลัน โดยมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก ไม่ท้องเสีย แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะเลือดออกผิดปกติ คือจุดสีแดงตามตัว เลือดกำเดาไหล เกร็ดเลือดต่ำ

 

ส่วนไข้เลือดออกจะมีอาการรั่วของพลาสมาไปอยู่ในช่องปอด ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารน้ำในเลือดรุนแรง ความดันต่ำอาจจะเสียชีวิตได้ กลุ่มนี้มีภาวะเลือดออกรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่เป็นเดงกี อย่างไรก็ตาม อาการรุนแรงของไข้ทั้ง 2 ประเภทคือมีการรั่วของสารน้ำเลือดจนเกิดช็อก ความดันต่ำ ไตวาย เลือดออกผิดปกติรุนแรง ฉี่เป็นเลือด เลือดออกในอวัยวะภายใน การทำงานของอวัยวะล้มเหลว ตับวาย ไตวาย ปัจจุบันเกิดในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้น อัตราการเสียชีวิตก็ไม่แตกต่างจากกลุ่มเด็ก

 

ศ.นพ.สมิง เก่าเจริญ ประธานอนุกรรมการร่างแนวทางเวชปฏิบัติและการจัดการความรู้ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวว่า เนื่องจากเราพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในกลุ่มผู้ใหญ่เกิดจากการที่วินิจฉัยโรคได้ช้าเกินไป ดังนั้นราชวิทยาลัยฯ ได้ร่วมกับนักวิชาการในประเทศ สมาคมวิชาชีพต่างๆ ในประเทศไทย ในการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาไข้เดงกีและไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ได้ถูกต้องและรวดเร็ว และสามารถให้การรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม

 

โดยเน้นการเฝ้าสังเกตอาการ อาการแสดง ค่าความเข้มข้นของเลือด ที่เป็นสัญญาณอันตราย (warning signs) ก่อนผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อรุนแรง แนวทางในการป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกรุนแรง หายใจลำบาก ตับวาย แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่อาจมีอาการรุนแรง เช่น สตรีตั้งครรภ์ อ้วนมาก มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด ซึ่งต้องระวังอย่างมาก โดยเฉพาะการให้ยาบางประเภท เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ที่มีพิษต่อตับ หรือยาแอสไพริน ที่ทำให้เลือดออกได้ง่าย และการให้สารน้ำ

 

“อาการไตวายเฉียบพลันเกิดมักเกิดขึ้นหลังการช็อก เนื่องจากร่างกายเสียเลือดและขาดสารน้ำในเลือด ซึ่งมักแสดงอาการประมาณวันที่ 4-7 โดยเฉพาะในวันที่ 7 ถือว่าเป็นวันที่วิกฤติ ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงการทำงานของตับ สมองเมื่อเลือดไปเลี้ยงไม่พอจะทำให้มีอาการซึม ไม่รู้สึกตัว” ศ.นพ.สมิง กล่าว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/35996

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,329
Page Views2,012,515
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view