http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โมเดลฝากครรภ์ลดเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์

”โมเดลฝากครรภ์” ลดพบแพทย์-เช็กเบาหวาน-กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

 

โมเดลฝากครรภ์ เป็นทางเลือกใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ เวลามานัดพบแพทย์ให้น้อยลง

 

รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ หัวหน้าสาขาหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด (Division of Maternal Fetal Medicine Unit) ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดีกล่าวว่า การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนจะพัฒนาอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ การฝากครรภ์จึงหมายถึงการฝากชีวิตแม่และเด็ก จุดประสงค์เพื่อให้คลอดปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุดทั้งแม่และลูก

 

ซึ่งปัจจุบัน การฝากครรภ์ทั่วไป หญิงตั้งครรภ์จะต้องเดินทางมาพบแพทย์ตามกำหนดนัด ประมาณ 10 ครั้ง ซึ่งปัจจุบันร.พ.รามาธิบดี มีโปรแกรมในการฝากครรภ์ที่ลดการพบแพทย์น้อยลง โดยการคัดกรองตามภาวะเสี่ยงของแม่ และจะแบ่งการฝากครรภ์เป็น 3 ไตรมาส

รศ.นพ.พัญญูกล่าวว่า การฝากครรภ์ดังกล่าว เป็นโมเดลของ ร.พ.รามาฯ โดยจะเริ่มตั้งแต่การแยกความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เพื่อแยกคลินิกและโปรแกรมการพบแพทย์ เพราะหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงแตกต่างกัน วิธีนี้จะทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาพบแพทย์น้อยลง เหลือ 4-5 ครั้ง สอดคล้องกับหลักการ องค์การอนามัยโลก ที่แนะนำให้ลดการพบแพทย์ลงให้เหมาะสม ทั้งนี้ ความแตกต่างของการตรวจคัดกรอง รามานิวโมเดลนี้ จะตรวจ คัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย เนื่องจากพบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศแถบเอเชียเกิดขึ้นได้มากกว่า และจากสถิติพบว่า ร้อยละ 30 ของหญิงที่ได้รับการคัดกรอง พบโรคเบาหวานในภาวะตั้งครรภ์ ทั้งที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงด้วย 

รศ.นพ.พัญญูกล่าวว่า ทั้งนี้นอกจากการตรวจร่างกายของทั้งแม่และเด็ก เพื่อหาโรคแทรกซ้อน ความพิการต่างๆ ตามช่วงระยะเวลา สิ่งที่สำคัญ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จากการวิจัยของรามาฯ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับอาหารไม่ครบ 5 หมู่ขณะตั้งครรภ์ และให้นมลูกเอง จะทำให้ประสิทธิภาพของนมแม่ลดลงเด็กจะมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่ได้รับนมผง

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36023

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,525
Page Views2,012,711
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view