http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กรณีโปรตีนเข้มข้นจากหางนมนิวซีแลนด์

กรณีพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในโปรตีนเข้มข้นจากหางนมของประเทศนิวซีแลนด์

 

ตามที่หน่วยงาน Ministry for Primary Industries ประเทศนิวซีแลนด์ประกาศเตือนเมื่อวันที่

3 สิงหาคม 2556 โดยได้รับแจ้งจาก บริษัท ฟอนเทียร่าจํากัดว่าพบการปนเปื้อนเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินั่ม

(Clostridium botulinum) ในโปรตีนเข้มข้นจากหางนม หรือเวย์โปรตีนเข้มข้น (whey protein concentrate)

ของบริษัทฯรุ่นการผลิตเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 จํานวน 3 รุ่น เป็นผลการดําเนินการเฝ้าระวังคุณภาพ

และความปลอดภัยของทางบริษัทฯ ต่อมาทาง บริษัท ฟอนเทียร่าจํากัดได้ดําเนินการเรียกคืนผลิตภัณฑ์กลุ่ม

เสี่ยงและแจ้งไปยังบริษัทฯ ที่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบดังกล่าวเพื่อให้เรียกคืนผลิตภัณฑ์จากประเทศนําเข้า 6 ประเทศ

ได้แก่ ประเทศจีน ออสเตรเลียมาเลเซียเวียดนามซาอุดิอาระเบียรวมถึงประเทศไทยเนื่องจากเวย์โปรตีน

ดังกล่าวใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตนมผงสําหรับทารกและเด็กเล็กผลิตภัณฑ์นมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ

เครื่องดื่ม ทั้งนี้ยังไม่พบรายงานการเจ็บป่วยเนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาดังกล่าว

 

ต่อมา บริษัท ดูเม็กซ์ประเทศไทย จํากัด ตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์นมของบริษัทใช้เวย์โปรตีนที่ตรวจพบปัญหา

เป็นวัตถุดิบ จึงได้เรียกคนผล ื ิตภัณฑ์เฉพาะรุ่นได้แก่

ชื่อผลิตภณฑั ์                       ผลิตขึ้นในระหว่างวันที่                            ถึงวันที่หมดอายุในระหว่างวันที่

ดูโปรสูตร ๒                         ๒๙.๐๔.๒๐๑๓ ถึง ๒๘.๐๖.๒๐๑๓              ๒๙.๑๐.๒๐๑๔ ถึง ๒๘.๑๒.๒๐๑๔

ไฮคิวสูตร ๑                         ๐๙.๐๕.๒๐๑๓ ถึง ๑๕.๐๗.๒๐๑๓              ๐๙.๑๑.๒๐๑๔ ถึง ๑๕.๐๑.๒๐๑๕

ไฮคิวสูตร ๒                         ๒๙.๐๔.๒๐๑๓ ถึง ๒๕.๐๖.๒๐๑๓              ๒๙.๑๐.๒๐๑๔ ถึง ๒๕.๑๒.๒๐๑๔

ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์สูตร ๑        ๑๑.๐๕.๒๐๑๓ ถึง ๑๔.๐๖.๒๐๑๓               ๑๑.๑๑.๒๐๑๔ ถึง ๑๔.๑๒.๒๐๑๔

ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์สูตร ๒        ๑๑.๐๕.๒๐๑๓ ถึง ๒๘.๐๖.๒๐๑๓               ๑๑.๑๑.๒๐๑๔ ถึง ๒๘.๑๒.๒๐๑๔

 

หากผู้บริโภคซอผล ื้ ิตภัณฑ์เฉพาะรุ่นตามวันผลิตและหมดอายุที่ระบุไว้ข้างต้น ให้ติดต่อคืนสินค้าได้ที่

ศูนย์แคร์ไลน์ของดูเม็กซ์โทร ๐ ๒๗๔๐ ๓๔๐๐ หรือ ๐ ๒๗๔๐ ๓๓๓๓

 

โปรตีนจากหางนม (whey protein) เวย์โปรตีนคือโปรตีนที่สกัดจากหางนมที่เหลือจากกระบวนการผลิตเนยแข็ง

โดยหางนมดังกล่าวมีคุณค่าทางอาหารสูงมากโปรตีนประมาณ 80-85 เปอร์เซ็นต์ข้อมูลทั่วไปของคลอสตรเดิ ียม

โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum)

 

ƒ ลักษณะทั่วไปของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินั่มเป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างเป็นท่อน สร้างสปอร์

ไม่ต้องการอากาศในการเจริญเติบโต ทนความร้อนสูง โดยสามารถทนในน้ําเดือดที่ 100 องศา

เซลเซียสได้นาน 5-9 ชั่วโมงสามารถสร้างสารพิษที่มีพิษต่อระบบประสาทที่ทําให้เกิดโรคโบทูลิสซึม

ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

ƒ แหล่งที่พบ สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติทั้งในดินและแหล่งน้ําเช่น ห้วย หนองคลองบึง ทะเล

โคลน เป็นต้น ทําให้สามารถพบการปนเปื้อนในพืชผักลําไส้และเหงือกของปลาทั้งน้ําจืดและน้ําเค็ม

ลําไส้ของสัตว์เลือดอุ่น เนื่องจากเชื้อดังกล่าวสร้างสปอร์ซึ่งทนความแห้งแล้งได้ดีจึงสามารถพบได้

ทั่วไปในฝุ่น ควัน เครื่องเทศและแป้ง

 

ƒ สารพิษ Clostridium spp. เป็นแบคทีเรียกลุ่มใหญ่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์มีบางสายพันธุ์เท่านั้นที่

พบรายงานว่าสามารถสร้างสารพิษและก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้เช่น คลอสตริเดียมโบทูลินั่มโดย

สารพิษที่สร้างขึ้นของเชื้อนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทมีคุณสมบัติเป็นโปรตีนจึงถูกทําลายด้วยความ

ร้อนที่ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 นาทีชนิดของสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคโบทูลิสซึมต่อมนุษย์มี 4

ชนิดคือไทป์ A, B, E และ F เนื่องจากสารพิษกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ช้า ดังนั้นพบว่าอาจทําให้เสียชีวิตใน

หลายวันให้หลังจากได้รับสารพิษในระดับที่ทําให้เสียชีวิต

 

ƒ ข้อมูลทางระบาดวิทยา โรคโบทูลิสซึมเป็นโรคที่มีความรุนแรงแต่พบได้ไม่บ่อยโดยอาหารที่มี

รายงานว่าเป็นสาเหตุการระบาดของโรคได้แก่แฮมไส้กรอก ปลารมควัน อาหารหมักดองอาหาร

กระป๋องและน้ําผึ้งเป็นต้น สําหรับข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคโบทูลิสซึมในประเทศไทยระหว่าง

ปีพ.ศ. 2548-2553 พบว่ามรายงานการเก ี ิดโรคดังกล่าวจาก แหนม หมูยอลาบหมูป่าดิบ เนื้อเก้ง ปู

ดองถั่วหมักและหน่อไม้ปี๊บ เป็นต้น แต่ไม่มีรายงานของโรคที่มีสาเหตุจากนมและผลิตภัณฑ์นม

ƒ ลักษณะอาการของโรค

ผู้ใหญ่– ผู้ป่วยมักมีอาการหลังจากได้รับสารพิษแล้วภายใน 6 ชั่วโมงหรือนานถึง 10 วัน

มีอาการเหนื่อยอ่อนแรง เวียนศีรษะตาพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน หนังตาตก ปากแห้งกลืนและพูดได้ลําบาก

ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกต่อมากล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดอัมพาตการหายใจล้มเหลวถึง

เสียชีวิตได้

เด็กทารก– พบในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปีเกิดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนสปอร์ของ

เชื้อเชื้อไปเจริญในลําไส้และสร้างสารพิษได้ทําให้เกิดอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน กินอาหารได้

น้อยอ่อนเพลียไม่มีแรง ร้องไห้เสียงเบาคออ่อนพับ ตัวอ่อนปวกเปียก ทารกบางรายอาจมีอาการหายใจ

ลําบาก หรือหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตกะทันหัน

 

ƒ การรักษาโรคในผู้ใหญ่ต้องได้รับสารต้านพิษควบคู่กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในการรักษาแต่ในเด็ก

ทารกใช้การรักษาตามอาการอย่างใกล้ชิดแต่ไม่สามารถให้สารต้านพิษเนื่องจากอาจเกิดการแพ้ได้

 

ƒ ข้อแนะนําการป้องกัน

 

เนื่องจากโรคโบทูลิสซึม พบไม่บ่อยและสามารถป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยและการใช้

ความร้อนที่เพียงพอในการถนอมอาหารรวมทั้งการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ดังนี้

 

1 ก่อนการบริโภคอาหารควรอุ่น หรือให้ความร้อนก่อนเพื่อทําลายสารพิษดังกล่าวโดยทั่วไป

ผ่านความร้อนที่ 80 องศาเซลเซียสเวลา 15 นาทีหรือ 100 องศาเซลเซียสเวลา 10 นาทีหรือความร้อนที่

120 องศาเซลเซียส นาน 10 นาทีสามารถทําลายสปอร์ได้

2. ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องหรืออาหารในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศที่มีลักษณะบวม

โป่งพอง หรือบุบรั่ว

3. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีกลิ่นของกรดบิวทีริก (กลิ่นคล้ายเนยเหม็นหืน)

 

ในประเทศไทยเวย์โปรตีนเข้มข้นนําเข้าเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของนมทารกและเด็กเล็กซึ่ง

นมผงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความชื้นสูงซึ่งไม่เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เชื้อเจริญเติบโตได้มากขึ้น ขณะนี้สํานักงาน

คณะกรรมการอาหารและยาได้เรียกเก็บคืนสินค้าที่มีปัญหาและเฝ้าระวังทางด่านอาหารและยาโดยต้องมีผล

วิเคราะห์ความปลอดภัยก่อนการนําเข้าและยังคงดําเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

 

มาตรการทางกฎหมาย

 

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีการควบคุมความปลอดภัยของจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิด

โรคซึ่งรวมถึงคลอสตริเดียมโบทูลินั่มโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์

ที่ทําให้เกิดโรคกําหนดให้อาหารทุกชนิดต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคเว้นแต่จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคตาม

ชนิดที่เป็นไปตามเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้กรณีผู้ผลิตเพื่อจําหน่าย นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือที่จําหน่าย

กรณีที่อาหารตรวจพบการปนเปื้อนของคลอสตริเดียมโบทูลินั่มจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐานตามมาตรา 28 ซึ่ง

เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25(3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา 26(1)

ฝ่าฝืนมาตรา 25(1) มีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

ที่มา: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,584
Page Views2,012,770
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view