http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สงสัยไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์

'เป็นไข้' สงสัยไข้เลือดออก ให้รีบพบแพทย์

ประชาชนทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้เลือดออก สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงได้แก่ เด็กเล็ก เด็กอ้วน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ หากมีไข้สูง กินยาลดไข้แล้วไม่ลดใน 1-2 วัน หรือมีอาการซึม งอแง ไม่สบายตัว ปวดจุกท้องด้านขวา หลังไข้ลด ให้สงสัยอาจป่วยเป็นไข้เลือดออกรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องทันที  

นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังไม่นิ่ง การแพร่พันธุ์ของยุงลายยังคงมีต่อเนื่องอันเป็นผลจากฝนตกชุก ทุกภาคส่วนต้องรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบ้านและรอบบริเวณบ้าน จากการประชุมวอร์รูมติดตามประเมินสถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ พบว่ากลุ่มผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้ ส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกได้แก่ เด็กเล็ก เด็กอ้วน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ หากป่วยเป็นไข้สูง กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดใน 1-2 วัน ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที 

นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า ในกลุ่มที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออกและอยู่ในช่วงที่ไข้ลด จะต้องระมัดระวังเฝ้าดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการรุนแรงหลังไข้ลด โดยให้สังเกตอาการที่เป็นสัญญานของอาการช็อคดังนี้ คือ ผู้ป่วยมีอาการซึม อ่อนเพลีย งอแง ไม่สบายตัว มีอาการปวดจุกแน่นในบริเวณท้องด้านขวา อาจมีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นประจำเดือน หากมีอาการหนึ่งอาการใด ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันการเสียชีวิต

ด้าน นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วิธีการป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและรอบบ้าน ป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง นอกจากนี้การค้นหาและกำจัดลูกน้ำยุงลายควรทำทุกสัปดาห์ นอกจากที่บ้านแล้วควรรณรงค์ทำที่โรงเรียน ที่ทำงาน โรงพยาบาล ศูนย์การค้าต่างๆ วัด หรือศาสนสถาน โรงแรม รีสอร์ท สวนสาธารณะ โดยเฉพาะขยะที่มีน้ำขังได้เช่น กล่องโฟม ยางรถยนต์ เป็นต้น 

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยังกล่าวต่ออีกว่า อาการของผู้ป่วยมี 3 ระยะที่สำคัญคือ 1.ระยะไข้สูงลอย อุณหภูมิร่างกายประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส กินยาลดไข้แล้วไข้มักจะไม่ลด การดูแลให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นเช็ดตัวเนื่องจากความเย็นจะทำให้รูขุมขนที่ผิวหนังปิด ความร้อนระบายออกจากร่างกายไม่ได้  2.ระยะวิกฤติ มักเป็นในช่วงหลังไข้ลด  24-48 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย หากเป็นเด็กจะงอแง ไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดท้อง จุกท้อง อาการจะคล้ายกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ประชาชนมักจะเข้าใจผิดว่าไข้ลงแล้วจะดีขึ้นจึงไม่ใส่ใจ ดังนั้นหากมีอาการที่กล่าวมา ต้องพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งอาการให้แพทย์ทราบ ระยะที่ 3.คือระยะฟื้นฟู หลังผ่านจากระยะไข้ลดแล้ว ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดอีก  2-3 วัน จนผู้ป่วยอาการดีขึ้น เช่น อาการซึมดีขึ้น กินได้ ไม่งอแง 

ทั้งนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 23-30 กรกฎาคม 2556 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 5,770 ราย เสียชีวิต 5 ราย ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 กรกฎาคม 2556  มีทั้งหมด 87,533 ราย เสียชีวิต 83 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของผู้ป่วย โดยมี 10 จังหวัด 113 อำเภอที่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ได้แก่เชียงใหม่  เชียงราย  ศรีสเกษ  กทม. 
สุรินทร์  ตาก  บุรีรัมย์  ร้อยเอ็ด  ชลบุรี  และขอนแก่น  เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35849

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,181
Page Views2,012,367
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view