http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะเลี่ยงสัมผัสคราบโคลนชายหาด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จัดระบบเฝ้าระวังผลกระทบจากน้ำมันดิบรั่วในทะเล จังหวัดระยอง ทั้งสุขภาพประชาชน และปัญหาสารก่อมะเร็ง โลหะหนักเช่น ปรอท ตะกั่ว ปนเปื้อนในน้ำและอาหารทะเลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ แนะประชาชนให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสคราบโคลนที่ชายหาด โดยเฉพาะ 4 กลุ่มที่ต้องระมัดระวังพิเศษได้แก่ หญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก แสบตา วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ขอให้รีบพบแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดหน้ากากอนามัย 20,000 ชิ้น แจกประชาชนป้องกันการสูดดมไอระเหย ในเบื้องต้นพบผู้มีอาการผิดปกติแล้ว 4 ราย

นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ระหว่างร่วมเดินทางไปเยือนประเทศโมซัมบิก อูกานดา ร่วมกับนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณีปัญหาการรั่วไหลของน้ำมันดิบลงในทะเล ที่จังหวัดระยอง ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง โดยเฉพาะผลกระทบทางสุขภาพประชาชนจากการสูดกลิ่นหรือสัมผัสกับสารโดยตรง รวมทั้งเฝ้าระวังการปนเปื้อนในอาหาร

โดยเฉพาะอาหารทะเลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายงานหลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลของประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา มีการตรวจพบสารพาห์ ( Polyacyclic aromatic hydrocarbon: PAH ) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ปนเปื้อนในอาหารทะเลสูงกว่าค่าพื้นฐานที่เคยตรวจพบ แสดงถึงการปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และยังมีการตรวจพบโลหะหนัก เช่น สังกะสี แมงกานีส สารหนู ตกค้างในตะกอน สัตว์ทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ดังนั้นหากมีการเก็บกู้ได้เร็วและดำเนินการถูกวิธี ก็จะลดผลกระทบดังกล่าวได้

นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า ในระยะเร่งด่วนนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ร่วมประเมินผลกระทบและวางแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนในพื้นที่ทั้งระยะเร่งด่วนและในระยะยาว โดยในระยะเร่งด่วนนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดจุดตั้งรับที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) เกาะเสม็ด

ในเบื้องต้นได้รับรายงานมีผู้ป่วยเป็นชาวบ้านอ่าวพร้าว มารับบริการจำนวน 4 ราย มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะทั้งนี้หากประเมินแล้วพบว่ามีผลกระทบวงกว้าง ก็อาจพิจารณาจัดเป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนให้ทั่วถึง และสั่งการให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดชลบุรี ดำเนินการเฝ้าระวังการปนเปื้อนอาหารทะเล เช่น ปลา ปู หอย โดยเก็บตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูการปนเปื้อนสารโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว รวมทั้งตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเล อย่างต่อเนื่อง เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชน

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และมีโอกาสสัมผัสกับสารปนเปื้อน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้กู้ภัย กู้สถานการณ์ ที่อาจสัมผัสกับสารปนเปื้อนโดยตรงทั้งทางการหายใจ และทางผิวหนัง 2.กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดการปนเปื้อน และ3.กลุ่มประชาชนผู้บริโภคทั่วไป จะมีความเสี่ยงในเรื่องของการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน จึงขอแนะนำให้ผู้ที่ทำหน้าที่กู้ภัย ควรป้องกันตนเอง โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ หน้ากากอนามัยป้องกันการสูดกลิ่นเข้าสู่ระบบหายใจ สวมชุดป้องกันที่เหมาะสม เพื่อลดการรับสัมผัสกับสารเคมี /ในกลุ่มผู้ที่อาศัยในบริเวณที่เกิดการปนเปื้อน ขอให้หลีกเลี่ยงเข้าไปในบริเวณที่ปนเปื้อน หากมีคราบเปื้อนที่ผิวหนัง ควรล้างทำความสะอาด รวมถึงให้ดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่ปนเปื้อนน้ำมันด้วย

ทางด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับกลุ่มประชาชนที่ต้องระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ มี 4 กลุ่มได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ได้แก่ โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากจะได้รับผลกระทบได้ง่ายและเร็วกว่ากลุ่มอื่น ขอให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณชายหาดที่มีคราบน้ำมันเหล่านี้ ควรอยู่ห่างประมาณ 500 เมตรและอยู่เหนือลม โดยในเบื้องต้นนี้กรมควบคุมโรคได้จัดส่งหน้ากากอนามัยจำนวน 20,000 ชิ้น มาแจกประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เช่นที่เกาะเสม็ด เป็นต้น

นายแพทย์พรเทพ กล่าวต่อว่า ผลกระทบของน้ำมันดิบที่รั่วไหล จะมีผลทั้งต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบผิวหนัง หากประชาชนมีอาการผิดปกติ ได้แก่ หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา แสบตา คลื่นไส้อาเจียน ขอให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพครั้งนี้ จะมีการสำรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ เช่นที่เกาะเสม็ด เพื่อติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35780

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,257
Page Views2,012,443
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view