http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โภชนาการสร้าง ‘คน’

โภชนาการสร้าง คน

 กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาทุพโภชนาการ นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของคนไทยอย่างร้ายแรงและต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อ ‘ผู้ใหญ่’ เท่านั้น หาก ‘เด็กไทย’ ตาดำๆ ก็ล้วนตกเป็นเหยื่อของ ‘อาหาร’ ไร้คุณภาพทางโภชนาการด้วย

 

ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจวัดค่าความฉลาดทางปัญญาหรือไอคิว (IQ) เด็กนักเรียนไทยทั่วประเทศเมื่อปี 2554 ของกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุว่า เด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 98 จุด ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน 100 จุด ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบภาวะเด็กอ้วน ผอม เตี้ย และขาดสารอาหารเพิ่มสูงขึ้น

 

นอกจากนี้ นายสง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษาทางด้านโภชนาการ กรมอนามัย, อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และผู้จัดการแผนนโยบายโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังให้ข้อมูลว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 18 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะน้ำหนักเกิน!

 

ทั้งหมดล้วนสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาทาง ‘โภชนาการอาหาร’ ของเด็กไทยว่า ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ จึงส่งผลต่อทั้งสุขภาพ คุณภาพชีวิต และพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหาก ‘เด็ก’ คือรากฐานของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้ย่อมไม่ใช่ 'เรื่องเล็กๆ' แน่นอน

 

'ท้องถิ่น' ทำได้

 

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่ปรึกษาทางด้านโภชนาการ กรมอนามัย คนนี้ ให้ความเห็นว่า ควรจะต้องส่งเสริมให้ 'ท้องถิ่น' มีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของเด็กในชุมชนให้มากขึ้น จากนั้นต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสาน 'ความร่วมมือ' ทั้งจากบ้าน (ครอบครัว) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน และชุมชนเข้าไว้ด้วยกันเพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน

 

“ปัจจุบันอำนาจการจัดการด้านคุณภาพชีวิตของคนก็ดี ความเป็นอยู่ของคนก็ดี อยู่ในมือของ 'ท้องถิ่น' ปัจจัยแรกของการขับเคลื่อนจึงอยู่ที่การสร้าง 'ความตระหนัก' ให้ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เห็นความสำคัญ และพร้อมที่จะขับเคลื่อนงานโภชนาการในพื้นที่ของตนเอง”

 

ไม่เพียงเท่านี้ การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ทั้งครูพี่เลี้ยง ครูผู้ดูแลเด็ก และแม่บ้าน ถึงหลักในการเลือกซื้อวัตถุดิบ การจัดเมนูอาหาร การเติมสารอาหารจำเป็นที่เด็กๆ ควรจะได้รับ อย่าง เกลือไอโอดีน ก็เป็นเรื่องที่ต้องย้ำ จัดอบรมด้านโภชนาการ และติดตามวัดผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

“แม้การดูแลให้เด็กได้รับโภชนาการคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ถึงอย่างไร เด็กก็ใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากกว่าที่ศูนย์ฯ ฉะนั้นบทบาทของพ่อแม่และครอบครัว จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก”

 

แต่กับครอบครัวไทยยุคสังคมรีบเร่งที่มักกล่าวอ้างว่าไม่มีเวลา ผจก.แผนนโยบายโภชนาการสมวัย (สสส.) ให้ความเห็นเสริมว่า ไม่อยากชี้ว่าเป็นความผิดของผู้ปกครอง หรือคนเป็นพ่อแม่  เพียงแต่พวกเขายังไม่รู้ และเห็นถึงโทษร้ายของการกินขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน และน้ำอัดลมมากๆ อย่างทันตาว่า จะส่งผลเสียให้ลูกหลานเตี้ย อ้วน ไอคิวต่ำ 

 

“โภชนาการที่ดีจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย แต่เด็กที่กินไม่ถูกหลัก กินมากจนอ้วน หรือเด็กที่ผอมเกินไปจะพบว่า เซลล์สมองจะมีการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ไม่ดี ทำให้เด็กกลายเป็นคนไอคิวต่ำ เรียนไม่รู้เรื่อง เมื่อพ่อแม่ไม่เห็นถึงผลร้ายตรงนี้ ก็เลยเลี้ยงกันตามมีตามเกิด และหลงคิดว่าการไปทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวเป็นความสำคัญเหนือสิ่งใด ซึ่งหากมีใครสักคนไปบอกพวกเขาสักนิดให้ฉุกคิด ผมมั่นใจว่าพ่อแม่ไทยไม่ใจร้าย” ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการกว่า 30 ปี กล่าว

 

ร่วมด้วย ช่วยกัน

 

ด้าน อ.ณัฎฐิรา ทองบัวศิริไล นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 5 เล่าถึงปัญหาปัจจุบันที่พบในศูนย์เด็กเล็กว่า ยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกำหนดปริมาณอาหารให้กับเด็กอ้วนและเด็กผอม และยังคงมีเมนูอาหารที่ไม่ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารที่เหมาะสม

 

“คำว่าไม่ได้คุณค่าหมายถึง กลุ่มอาหารบางตัวอาจยังไม่เพียงพอ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ถั่ว และนม ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่เด็กจะต้องได้รับ เพราะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการสร้างเซลล์สมอง ซึ่งครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์ฯ ก็ต้องมาดูว่า ในแต่ละสัปดาห์เด็กได้สารอาหารตรงนี้ครบถ้วนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทั้งเด็กอ้วนและผอมควรจะต้องได้กินอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณอาหารที่เขาควรจะได้ ไม่ใช่ไปลดอาหารของเด็กอ้วน หรือเพิ่มอาหารให้เด็กผอมมากเป็นพิเศษ”

 

เพียงแต่เปลี่ยนวิธีปรุงเสียใหม่ จัดทำเมนูอาหารให้หลากหลาย จากที่เคยทำข้าวผัดไส้กรอก เบคอน หรือแฮม ก็เปลี่ยนมาใส่เนื้อหมูสดไม่ติดมัน ที่มีปริมาณไขมันน้อยแต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่า ส่วนอาหารว่างระหว่างวัน ก็ควรจัดเป็น ‘ผลไม้’ แทนที่ขนมหวานใส่น้ำกะทิ

 

“สิ่งสำคัญคือยังไม่มีจุดเริ่มต้นที่ครอบครัว ตอนนี้ปัญหาคือแทบจะทุกบ้านไม่ทำอาหารกินเองเลย สิ่งที่เด็กได้รับหรือเรียนรู้จึงมีแต่ป

ระสบการณ์ในการซื้อกิน”

ทั้งนี้ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ มิได้หมายความว่า การซื้ออาหารรับประทานเป็นเรื่องไม่เหมาะสม หากแต่ต้องรู้จัก 'เลือกสั่ง' เมนูอาหารที่ครบคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งการซื้ออาหารแต่ละครั้ง ควรจะต้องมีเมนูผักเข้าไปร่วมด้วย เพื่อให้เด็กซึมซับว่า การกินผักเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นกับชีวิต ไม่ใช่ว่ากินเนื้อสัตว์ได้แต่กินผักไม่เป็น

 

“ผู้ปกครองควรจะต้องฝึกการกินของลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพราะวัย 3-5 ปี เป็นช่วงที่เด็กกำลังฝึกพฤติกรรมการกิน ผู้ปกครองคนไหนไม่มีเวลา จะซื้ออาหารนอกบ้านก็ได้ แต่ต้องรู้วิธีการเลือกซื้อให้เด็ก เน้นให้มื้อเช้าเป็นมื้อคุณภาพ ตัวเองต้องเป็นตัวอย่างการกินที่ดีให้กับลูก หาเวลากินข้าวร่วมกัน แล้วสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวบ้าง

 

ส่วนการซื้อขนมกรุบกรอบให้ลูกกิน กับการเตรียมผลไม้เป็นขนมว่าง อย่างหลังน่าจะดีกว่า เพราะในขนมกรุบกรอบนั้น มีส่วนผสมหลักคือแป้ง มีรสจัด มีไขมัน และผงชูรสสูง เมื่อเทียบคุณค่าทางโภชนาการแล้ว จะเห็นว่าต่างกันลิบกับผลไม้ ซึ่งผู้ปกครองต้องเตรียมการณ์ล่วงหน้า ซื้อผลไม้เก็บไว้ติดบ้าน เวลาที่ลูกหิวจะได้มีหยิบให้เขากิน เพราะถ้าเด็กอิ่มท้อง เขาจะไม่มองหาขนมกรุบกรอบ” อ.ณัฎฐิรา ให้ความเห็น

 

สำหรับ สำเนาว์ รัศมิทัต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรปราการ ต้นแบบการดำเนินงานโภชนาการในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน ขานรับนโยบายการเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน จากมื้อละ 13 บาท เป็น 20 บาท ผ่านการทำประชาคมความเห็นของชาวบ้านในชุมชนแล้ว กล่าวว่า ความสุขของคนทุกเพศทุกวัยคือการมีสุขภาพดี จะสร้างให้คนสุขภาพดี ก็ต้องมองไปที่ ‘เด็ก’

 

“เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ถ้าเราไม่ดูแลเด็กพวกนี้ ต่อไปคนในท้องถิ่นของเราจะแข็งแรง สุขภาพดี หรือฉลาดได้อย่างไร ฉะนั้นถ้าเด็กได้กินอาหารที่มีประโยชน์ กินอิ่ม มีความสุข สุขภาพแข็งแรง สมองดี ก็เรียนหนังสือได้ดี โตมาก็เป็นอนาคตของชุมชน แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี กินไม่ดี จะโตมาเป็นอย่างไร” นายกฯ อบต. ให้เหตุผลในการดำเนินงานเพื่อให้เด็กมีโภชนาการที่ดีสมวัย

 

ทั้งนี้ นายสำเนาว์ ยังมีมาตรการสำรวจความคิดเห็นของเด็กด้วยว่า อยากจะกินอะไร และเด็กๆ ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่จริงหรือไม่ โดยให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตรวจสอบ และเก็บเป็นฐานข้อมูลของชุมชนต่อไป

 

ถ้าคำกล่าวติดตลกที่ว่า ‘เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่’ เรื่องอาหารการกินของ ‘เด็กไทย’ วันนี้ก็ไม่น่าจะเป็น ‘เรื่องเล็ก’ ที่ถูกมองข้ามอีกต่อไป หรือหากยังไม่เห็นความสำคัญว่า เด็กไทยในวันนี้คือรากฐานของการพัฒนาสังคมและชาติในทุกมิติ ลองมองพวกเขาอย่าง ‘ลูกหลาน’ คนหนึ่งที่พึงจะได้รับการดูแลและส่งเสริมให้ได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนดูก็ดี

 

เพราะคุณค่าทางอาหารที่ดีมีผลต่อชีวิต 'เด็ก' ตลอดชีวิต...

 

เรื่องโดย ชัชวรรณ ปัญญาพยัตจาติ Team Content www.thaihealth.or.th

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/35569

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,230
Page Views2,012,416
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view