http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เด็กไทยขาดสารอาหารเสี่ยงเอ๋อ

เด็กไทยขาดสารอาหารเสี่ยงเอ๋อ

 แพทย์ระบุ เด็กไทยขาดสารอาหาร ปัญหาโรคอ้วน, ขาดธาตุเหล็กและขาดไอโอดีน กระทบไอคิวเด็ก หากทิ้งไว้เสี่ยงโรคเอ๋อ ด้านครูโอดงบอาหารกลางวัน 13 บ. ต่อมื้อน้อยเกินเป็นสาเหตุ

 

ภายหลัง คณะกรรมการสมัชชาสุภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) จัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 และมีเวทีร่วมอภิปรายในหัวข้อ 'อาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนของเด็กไทย คุณภาพความปลอดภัยใครกำหนด' นั้น

 

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงมาตรฐานของโภชนาการและความปลอดภัยในอาหารของเด็กเล็กว่า บทบาทที่สำคัญของกรมอนามัย คือ การเน้นให้เด็กเล็กได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและมีความปลอดภัย โดยมีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านโภชนาการอาหาร เพื่อถ่ายทอดไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและตำบล ตลอดจนอาจารย์และนักเรียนโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการอาหารอย่างมีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยเน้นโภชนาการในโรงเรียนและสุขาภิบาลในด้านอาหาร ซึ่งมีการใช้ตัวชี้วัดการประเมินผลภาวะโภชนาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการขาดธาตุเหล็กและไอโอดีนในเด็ก เพื่อเร่งแก้ไขสภาวะการขาดสารอาหารของเด็กเล็ก ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนได้ขอยื่นความจำนงเข้าร่วมโครงการกับทางกรมอนามัยเป็นจำนวนมาก

 

ส่วนแนวทางการดำเนินการจัดการปัญหาโภชนาการในโรงเรียนนั้น จะให้มีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนโดยให้มีการนำองค์ความรู้ด้านโภชนาการมาผสมผสานร่วมด้วย พร้อมกับให้มีการจัดอาหารเสริมที่มีความจำเป็นแก่เด็ก  เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก รวมทั้งผลักดันให้โรงเรียนจัดอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม และทางโรงเรียนต้องควบคุมอาหารว่าง อาหารที่ไม่มีประโยชน์ภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียนร่วมด้วย

 

'ทั้งนี้ กรมอนามัยยังได้ร่วมกับสำนักโภชนาการต่างๆ ในการเร่งแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กอย่างน้อยปีละ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และไม่ให้โรคอ้วนในเด็กเกินกว่าปีละ 0.15 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเด็กทั้งหมด ส่วนในอนาคตอยากให้เพิ่มงบอาหารกลางวัน ซึ่งราคา 13 บาทตามที่รัฐบาลกำหนดยังน้อยเกินไป เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้รับคุณค่าทางโภชนาอาหารที่เพียงพอต่อวัน' นพ.ธีรพล กล่าว

ด้าน รศ.พญ.ลัดดา อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการสำรวจโภชนาการในเด็กช่วง ปี 2551-2552 ที่ผ่านมา พบว่าปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กมีแนวโน้มลดลง แต่โรคอ้วนกลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเด็กจำนวนกว่า 1,200,000 คน มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า เด็กจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000คนตัวเตี้ย ในขณะที่ผลการตรวจปัสสวะในเด็กจำนวน 400,000 คน พบว่า เด็กขาดสารไอโอดีนและเป็นโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ซึ่งสภาวการณ์ เหล่านี้หากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบต่อไอคิวเฉลี่ยของเด็กไทยระยะยาว

'การขาดสารไอโอดีนเรื้อรังในวัยเด็ก จะทำให้ไอคิวลดลงไปกว่า 3-15 จุด และท้ายที่สุด เด็กจะเป็นโรคออทิสติกและจะยิ่งกระทบต่อระดับสติปัญญาและประสิทธิผลในการเรียนรู้ระยะยาว นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน พบว่า ไอคิวของเด็กไทยอยู่ที่ 98 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนาม ซึ่งสาเหตุมาจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ' รศ.พญ.ลัดดา กล่าว

ด้าน อาจารย์สาธิต กลิ่นภักดี นักวิชาการสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการดูแลและการบริหารจัดการโภชนาการอาหารในเด็กว่า 'ศูนย์เด็กเล็กของจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อกำหนดมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งนโยบายที่สำคัญ คือ การพัฒนาร่างกายของเด็ก โดยเน้นโภชนาการอาหาร แต่ปัญหาหลักในขณะนี้คือ งบประมาณการจัดการอาหารกลางวันแก่เด็ก  13 บาทต่อมื้อ ยังไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมโภชนาการอาหารประกอบกับผู้ประกอบอาหารยังไร้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร'

 

'ราคามาตรฐานที่ส่วนกลางใช้เป็นเกณฑ์การจัดสรรยังน้อยเกินไป ส่วนท้องถิ่นจึงได้ปรับงบเพิ่มให้เป็น 15 บาทแทน  เพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารให้มากขึ้น นอกจากนี้การปรุงอาหารเป็นหม้อแบบเดิมยังไม่มีการคุมคุณภาพ  ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภูเก็ตได้มีการจ้างแม่ครัวมาปรุงอาหารที่ศูนย์เด็กเล็ก แต่ศูนย์บางแห่งยังคงใช้การการจ้างเหมาอยู่ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญอีกประการ คือ ผู้บริหารและบุคคลากร ยังขาดองค์ความรู้เรื่องอาหารที่ถูกต้องด้วย ส่วนข้อเสนอต่อไปของส่วนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กนั้น ส่วนกลางควรจัดทำเมนูอาหารที่ครอบคลุมโภชนาการและราคากลางที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานและนำไปใช้เป็นแนวปฎิบัติร่วมกัน' อาจารย์สาธิต กล่าว

 

ขณะที่ อาจารย์อุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา  อ.ประจำโรงเรียนสวนส้ม จ.สมุทรปราการ  กล่าวว่า 'ทางโรงเรียนสวนส้มได้เข้าร่วมโครงการโภชนาการสมวัยโดยร่วมกับสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และกรมอนามัย ซึ่งมีการจัดเตรียมอาหารกลางวันแก่เด็กเล็กโดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า 'โภชนาการสมวัย' มาเป็นตัวช่วยในการจัดเตรียมอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนแก่เด็ก โดยราคาอาหารต่อมื้อตกอยู่ที่ 16.62 บาท ซึ่งหากจัดเตรียมอาหารกลางวันเองโดยยึดงบประมาณ 13 บาทต่อมื้อตามที่ส่วนกลางกำหนดนั้น เด็กจะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ในขณะที่ส่วนเกินของราคาอาหาร ทางโรงเรียนต้องแบกรับภาระเองทั้งหมด นอกจากนี้ผู้ที่ประกอบอาหารให้กับทางโรงเรียนก็ยังขาดความรู้ทางด้านโภชนาการที่เพียงพอด้วย'

 

"ค่าก๊าซหุงต้ม ยานพาหนะ แม่ครัว โรงเรียนต้องรับภาระส่วนเกินเองทั้งหมด อีกทั้งแม่ครัวที่ประกอบอาหารกลับไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการเลย ซึ่งอายุเฉลี่ยของแม่ครัวมากกว่า 50 ปีขึ้นไปและเป็นผู้ว่างงานเป็นส่วนใหญ่  โดยได้รับค่าแรงเพียง 230 บาทต่อวัน  ทำให้มีการเปลี่ยนแม่ครัวอยู่บ่อยๆเพราะค่าแรงน้อย สำหรับมาตรการในขณะนี้ทางโรงเรียนได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในโรงเรียน  โดยเน้นให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วม อย่างเช่น การปลูกพืชผักสวนครัว จัดทำสวนผักลอยฟ้า ไปพร้อมกับการนำชุดการเรียนรู้กลางซึ่งเกี่ยวกับความรู้ในด้านโภชนาการอาหารมาบูรณาการร่วมกับหลักสูตรการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระของโรงเรียน เพื่อช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้แก่เด็กนักเรียนอย่างยั่งยืนด้วย" อาจารย์อุไร กล่าว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/35567

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,295
Page Views2,012,481
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view