http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวังอย่าหลงเชื่อซื้อยาแผนโบราณ

ระวัง…อย่าหลงเชื่อซื้อยาแผนโบราณที่โฆษณาเกินจริงอ้างสามารถรักษาได้สารพัดโรค เพราะอาจได้รับอันตรายจาก

สเตียรอยด์โดยไม่รู้ตัว

 อย. เตือนผู้บริโภค ระวัง…อันตรายจากยาแผนโบราณที่แสดงสรรพคุณโอ้อวดว่ารักษาได้สารพัดโรค เผย สสจ.สมุทรสงคราม ตรวจยา “ร่วมหว่านหัวใหญ่สมุนไพรประดง 108 ยาแผนโบราณ” ตามที่มีการร้องเรียน พบมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ ทำให้มีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแทบทุกระบบ อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภคเด็ดขาด

 ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามเกี่ยวกับการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงยาเม็ดแผนโบราณชื่อ ยาร่วมหว่านหัวใหญ่สมุนไพรประดง 108 ยาแผนโบราณ ปรุงโดยพระภิกษุจาก จังหวัดพะเยา โดยฉลากยามีการแสดงสรรพคุณทางยาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่า สามารถรักษาได้สารพัดโรค ทั้งโรคประดงเรื้อรัง ปวดหลัง ปวดข้อ สายตาสั้น ลดผดผื่นคัน โรคประสาท ปวดหัว อาหารไม่ย่อย ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นต้น

 ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามได้เก็บตัวอย่างยาแผนโบราณดังกล่าวตรวจหา สารสเตียรอยด์ด้วยชุดทดสอบทันที ผลปรากฏพบสารสเตียรอยด์ชนิดเพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ และพบการแสดงทะเบียนตำรับยาไม่ถูกต้อง อย. จึงขอเตือนด้วยความห่วงใยมายังประชาชน อย่าหลงเชื่อซื้อยา ดังกล่าวมาบริโภคเป็นอันขาด เพราะนอกจากจะได้รับยาที่ไม่ปลอดภัยแล้ว การได้รับยาที่มีส่วนผสมของยา ในกลุ่มสเตียรอยด์ จะทำให้ผู้บริโภคเกิดผลข้างเคียงสูง อาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ หน้าบวม กระดูกผุ กระเพาะอาหารทะลุ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้นได้ 

 อีกทั้ง การแสดงสรรพคุณอวดอ้างเกินจริงบนฉลากยาแผนโบราณ ถือเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ การแสดงสรรพคุณดังกล่าวข้างต้นล้วนมิได้รับอนุญาตจาก อย. และไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา จึงไม่อาจเชื่อถือได้ และยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การที่ฉลากระบุว่าผลิตโดยพระภิกษุ ก็อาจไม่เป็นความจริง หรือถ้าเป็นความจริงก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายเช่นกัน เพราะทางมหาเถรสมาคมได้มีประกาศคณะสงฆ์ว่าห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค และห้ามโฆษณารับรองสรรพคุณยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย ซึ่ง อย.กำลังอยู่ระหว่างดำเนินคดีกับผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป

 เลขาธิการฯ กล่าวต่อในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณให้ดี อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา โดยซื้อยาที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงมาใช้รักษาโรค หรือแม้กระทั่งแอบอ้างชื่อพระภิกษุเป็นผู้ปรุงยา เพราะนอกจากจะไม่ได้รับประโยชน์จากยาตามสรรพคุณที่อวดอ้างแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายมีโรคร้ายซ้ำขึ้นมาอีกได้ หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน ในส่วนการดำเนินงานของ อย. จะมีการสุ่มตรวจยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณที่จำหน่ายตามท้องตลาดอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้าผู้บริโภคท่านใดพบเห็นหรือสงสัยว่า มีการโฆษณาสรรพคุณยาโอ้อวดหรือไม่ตรงกับที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ขอได้โปรดร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่อ อย. จะได้เร่งตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้กระทำผิดทันที

 ที่มา : tp://elib.fda.moph.go.th

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,186
Page Views2,012,372
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view