http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.ศึกษากระบวนการผลิตข้าวถุงของโรงงาน

อย. นําสื่อ ศึกษาเส้นทางกระบวนการผลิตข้าวถุงจากโรงงานผลิตข้าวของ ซี.พี. สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

 

หลังแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมาอย. เดินหน้า นําสื่อศึกษากระบวนการผลิตข้าวบรรจุ

ถุง ให้เห็นของจริงว่าแต่ละขั้นตอนมีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ พร้อมทั้งให้เห็นการเก็บตัวอย่าง

ข้าวนํามาตรวจหาสารฟอสฟีน และเมทิลโบรไมด์ว่ามีการตกค้างหรือไม่รุดดูที่โรงงานของบริษัท ข้าวซี.พี. จํากัดซึ่ง

ผลิตข้าวตราฉัตรขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา ย้ํายังมีแผนไปตรวจโรงงานข้าวอื่นๆ

อย่างต่อเนื่องขอให้ผู้บริโภคมั่นใจในข้าวบรรจุถุงของไทย

 

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่

นพ.ประดิษฐสินธวณรงค์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้อยและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจ

โรงงานบรรจุข้าวถุง ทั่วประเทศ เ พื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพข้าวไทย

 

พร้อมสุ่มเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้างในข้าวด้วย นั้น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกันปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด

 

ล่าสุดในวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 อย. นําทีมสื่อมวลชนไปศึกษากระบวนการผลิตข้าวถุง ณ บริษัท ข้าว ซี.พี. จํากัด

ตั้งอยู่ที่ 135 หมู่ที่ 5 ต.แม่ลา อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาผู้ผลิตข้าวตราฉัตร โรงงานดังกล่าวมีการควบคุม

คุณภาพข้าวที่ได้มาตรฐาน และมีการส่งออกข้าวไปจําหน่ายยังต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศใน

สหภาพยุโรป นอกจากนี้ข้าวตราฉัตรได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารจากอย. แล้วดังนั้น สื่อมวลชนจะได้เห็นกระบวน

การผลิตข้าวบรรจุถุงทั้งระบบ ก่อนวางจําหน่ายสู่ผู้บริโภค พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่สุ่มตัวอย่างข้าวจากโรงงาน เพื่อตรวจ

วิเคราะห์หาสารฟอสฟีน และสารเมทิลโบรไมด์ซึ่งเป็นสารที่ผู้ผลิตข้าวสารนิยมใช้รมควันกันมอดแมลงว่ามีปริมาณ

ตกค้างในเกณฑ์ที่จะทําให้ผู้บริโภคเป็นอันตรายหรือไม่

 

เลขาธิการฯอย.กล่าวต่อไปว่าอย. ได้ร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการเก็บตัวอย่างข้าวถุงตรวจ

วิเคราะห์ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์เบื้องต้น จํานวน 87 ตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่ไม่พบสารตกค้างจากการรมยา บาง

ตัวอย่างตรวจพบแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยตามข้อกําหนดขององค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่ง

ประเทศคู่ค้ากับประเทศไทยเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป ใช้เป็นเกณฑ์ที่กําหนดเพื่อการค้าและ

ส่งออกโดยยอมรับในเกณฑ์มาตรฐานของ FAO ดังกล่าวสรุปได้ว่าข้าวสารของประเทศไทยปลอดภัยสําหรับผู้บริโภค

หากตรวจพบสารพิษตกค้างไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่อย. ประกาศจะถูกจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน

50,000 บาท หรือเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์มีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

 

อย่างไรก็ตามอย. จะร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศส่ง

เจ้าหน้าที่ไปสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวบรรจุถุงและตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการผลิตข้าวถุงยังโรงงานข้าวแห่งอื่น

ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องสําคัญต่อสุขภาพประชาชน และเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าข้าวที่ขาย

ในประเทศไทยและส่งออกต่างประเทศมีคุณภาพและปลอดภัยไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่เป็นข่าว

อนึ่ง เพื่อให้มั่นใจในการบริโภคข้าวขอให้ผู้บริโภคล้างข้าวหรือซาวข้าวก่อนหุงข้าวทุกครั้ง เนื่องจากสารรมกันมอด

แมลงมีจุดเดือดต่ําจะระเหยเมื่อผ่านการหุงต้ม

 

ที่มา :  กองพัฒนาศกยภาพผ ั ู้บริโภค 3 กรกฎาคม 2556 แถลงข่าว 21 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ----

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/1130136661_

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,178
Page Views2,012,364
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view