http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เร่งตรวจสารเคมีข้าวสารบรรจุถุง

เร่งตรวจสอบสารเคมีในข้าวสารบรรจุถุง

 สะพัด! พบสารเคมีในข้าวถุง ห่วงโกดังรับจำนำข้าวฉีดป้องกันแมลงมอดเพียบ สธ.รับลูกสุ่มตรวจข้าวตามตลาดด่วน มั่นใจมีคุณภาพ คาดรู้ผลสัปดาห์นี้ เล็งทำมาตรฐาน GMP

 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข่าวข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวที่เก็บรักษาไว้ในโกดัง มีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) เพื่อป้องกันแมลงและมอด เนื่องจากต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน และข้อกังวลเรื่องเชื้อราในข้าวบรรจุถุง ว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อความมั่นใจของประชาชน ตนจึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจคุณภาพข้าวบรรจุถุงซึ่งจำหน่ายในตลาดกว่า 50 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความชื้น สารเคมีต่างๆ และการปนเปื้อน คาดว่าจะสามารถแถลงผลได้ภายในวันที่ 28 มิ.ย.

 ทั้งนี้ การตรวจสอบไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่จะมีการสุ่มตรวจไปเรื่อยๆ แต่ที่เริ่มทำประมาณ 50 ตัวอย่างก่อน เพราะแต่ละตัวอย่างใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 3-5 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเชื่อมั่นว่าอาหารที่มีการจำหน่ายมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่แล้ว แต่จะพัฒนามาตรการต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากที่ผ่านมาบัญชีสินค้าที่ต้องอยู่ในความควบคุมตรวจสอบมีเพียง 58 ตัวเท่านั้น ซึ่งข้าวไม่ได้อยู่ในรายการบัญชีดังกล่าว เพราะเป็นอาหารธรรมดาทั่วไป

 นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.ได้ดำเนินการมาตรฐานการผลิต หรือ GMP โดยชวนผู้ผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว โดยให้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี หากผู้ประกอบการใดพร้อมก็สามารถเข้ารับการตรวจสอบเพื่อขอมาตรฐานรับรองจาก อย.ได้เลย ซึ่งจะคุ้มครองผู้บริโรคได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ สธ.ยังมีความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อทำให้มาตรฐานอาหารในประเทศเทียบเท่ากับมาตรฐานอาหารส่งออก และมีคุณภาพสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

 นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทย์ เริ่มเก็บตัวอย่างและสุ่มตรวจข้าวในตลาด ตั้งแต่เริ่มมีความกังวลในเรื่องดังกล่าว โดยเน้นติดตามและประเมินความเสี่ยง เพื่อรายงานสถานการณ์ ซึ่งการตรวจในครั้งนี้จะตรวจหาเชื้อรา ยาฆ่าแมลงตกค้าง สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น และจะเปรียบเทียบระหว่างตัวอย่างที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้วย อย่างสารเมธิลโบรไมด์ที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ เพราะสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ ก็จะต้องมีปริมาณตามมาตรฐานโคเดกซ์ (Codex) จึงถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กรมวิทย์ไม่มีหน้าที่และไม่สามารถเก็บตัวอย่างที่อยู่ในโกดังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

 ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า จากกระแสข่าวการพบสารเคมีเมทิลโบรไมด์และแมกนีเซียมฟอสไฟด์ในข้าวถุงนั้น สารเคมีทั้ง 2 ชนิดเป็นสารที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯ แต่เมื่อข้าวถูกบรรจุถุงและถูกส่งขายในตลาด จึงเป็นหน้าที่ของ อย.ต้องเข้าไปดูแล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวถุงจากห้างดังหลายแห่งแล้ว เพื่อทำการตรวจหาสารทั้ง 2 ชนิด จากนั้นจะส่งต่อไปให้กรมวิทย์ตรวจสอบเรื่องยาฆ่าแมลงและเชื้อรา ซึ่งคาดว่าจะทราบผลภายใน 3-5 วัน ทั้งนี้ ข้าวเป็นอาหารทั่วไปไม่ได้เป็นเรื่องที่ควบคุมพิเศษ แต่ข้าวที่ต้องเข้าไปควบคุมพิเศษ คือข้าวถุงที่มีการพ่นสาร ว่ามียาฆ่าแมลงและเชื้อราหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลได้ในวันที่ 28 มิ.ย. ว่าจำเป็นต้องนำเรื่องข้าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารว่า ข้าวต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP หรือไม่ สำหรับแม่บ้านหรือเกษตรกรที่ทำข้าวถุงแล้วต้องการขอเลขทะเบียน อย.ก็สามารถมาขออนุญาตได้ที่ อย.

 นายวิฑูร เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากการสำรวจปริมาณนำเข้าสารรมควันพิษ จากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พบว่า สถิติการนำเข้าลดลงตั้งแต่ปี 2551 แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นในปี 2555 ถึงร้อยละ 62 ทั้งที่ควรลดลงเนื่องจากพันธกรณีของไทยภายใต้พิธีสารมอนทรีออลที่ต้องลดการใช้สารเมทิลโบร์ไมด์ ซึ่งใช้ในการรมข้าว เป็นแก๊สเรือนกระจก โดยต้องทยอยลดให้หมดเป็นลำดับ จนเหลือศูนย์ภายในปี 2556 และสหภาพยุโรปได้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวในเดือน มิ.ย.2555 ไปแล้ว ทั้งนี้ ยังพบว่าการนำเข้า เมทิลโบร์ไมด์ ยังมาในรูปการผสมกับ คลอโรพิคริน ซึ่งเป็นสารที่อียูประกาศห้ามใช้แล้วเช่นกัน โดยพบว่า คลอโรพิคริน เป็นสารที่ตกค้างปะปนในผลผลิตได้ 

 ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35199

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,199
Page Views2,012,385
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view