http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แพทย์แนะศึกษาก่อนตัดเต้าป้องกันมะเร็ง

แพทย์แนะ ก่อนตัดเต้าป้องกันมะเร็งควรศึกษาให้ดีก่อน

 แพทย์ศิริราช ถอดบทเรียนแองเจลีนา โจลี ตัดเต้านมทิ้งหลังตรวจพบยีนกลายพันธุ์เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม-รังไข่สูง ขณะที่ไม่แนะตัด 2 อวัยวะเพื่อป้องกัน ระบุควรศึกษาก่อนตัดสินใจ ชี้ในคนเอเซียยีนกลายพันธุ์น้อยกว่ายุโรป

 กลุ่มมะเร็งเต้านม สถานีวิทยามะเร็งศิริราช ร่วมกับสาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ-คอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดเสวนาวิชาการ “การตรวจเพื่อทำนายมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ แนวทางการักษา” โดยถอดบทเรียนจากแองเจลีนา โจลี ที่ตัดสินใจผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้าง เนื่องจากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วโลก เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

 ผศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า มะเร็งเต้านมชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบีอาร์ซีเอ 1 (BRCA1) และบีอาร์ซีเอ 2 (BRCA2) โดยกลุ่มคนที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนบีอาร์ซีเอ 1 มีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมสูงถึง 65% และเป็นมะเร็งรังไข่ 39% หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนบีอาร์ซีเอ 2 เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 45% และเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงถึง 11% และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลในต่างประเทศพบว่าคนทั่วไปมีโอกาสที่ยีนทั้ง 2 ตัว 1 ต่อ 500-1,000 ประชากร แต่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มชาวยิวและไอส์แลนด์ ส่วนอัตราการเกิดในคนไทยยังไม่มีรายงาน แต่ข้อมูลของประชากรในภูมิภาคเอเชียพบว่ามีอัตราการกลายพันธุ์ของยีนที่ว่านี้จำนวนน้อย

 ผศ.นพ.มานพ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนบีอาร์ซีเอทั้ง 2 ชนิดได้ ร่วมกับการวิเคราะห์ประวัติครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการพยากรณ์โรค ดังนั้นควรตรวจในคนที่เป็นมะเร็งที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ซึ่งอัตราค่าบริการจะอยู่ที่ 50,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมาโรงพยาบาลศิริราชได้ทำการศึกษาครอบครัวผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง 60 ครอบครัว ในจำนวนนี้ พบว่ามี 4 ครอบครัวที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ดังนั้นจึงถือว่าอุบัติการณ์ในประเทศไทยไม่เยอะ ทั้งนี้ การรักษาต้องดูที่ระยะ โดยหากเป็นระยะแรกสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้าได้ แต่หากเป็นระยะลุกลามก็ต้องตัดทิ้งทั้งหมด 

 รศ.พญ.พรพิมพ์ กอแพร่พงศ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า การตรวจคัดกรองสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การตรวจด้วยตัวเอง และการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น การทำแมมโมแกรม การทำอัลตราซาวด์ และการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถตรวจได้ตั้งแต่ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กประมาณ 5 มม. ทำให้มีโอกาสในการรักษาได้สูง อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสม่ำเสมอร่วมกับการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ เนื่องจากยังมีมะเร็งเต้านมชนิดอื่นที่เครื่องแม่เหล็กไม่สามารถตรวจพบได้ เช่น มะเร็งที่เกิดจากหินปูน ทั้งนี้ การตรวจหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติที่ได้ผลควรเป็นช่วง 10-20 วันหลังจากมีประจำเดือนแล้ว

 นพ.วิษณุ โล่สิริรัตน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า การสร้างเต้านมเทียมจะมี 2 วิธีคือ การใช้เนื้อเยื่อของร่างกายส่วนอื่นๆ กับการใช้เต้านมเทียม โดยสามารถทำร่วมกับการผ่าตัดตัดเต้านมได้เลย หรือจะรอทำหลังการผ่าตัด และได้รับการรักษาโรคมะเร็งจนแน่ใจแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์ไม่แนะนำให้ตัดเต้านมทิ้งเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต เพราะถึงแม้จะสามารถสร้างเต้านมใหม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ ส่วนกรณีผู้หญิงที่เคยผ่านการศัลยกรรมเต้านมเพื่อความงามมาแล้วนั้น ก็ยังสามารถทำการตรวจหาโรคได้ตามปกติ โดยให้ผลที่แม่นยำเช่นเดิม

 ด้าน ผศ.พญ.สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา กล่าวว่า ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนบีอาร์ซีเอ 1 และบีอาร์ซีเอ 2 เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่สูงกว่าคนปกติ 10 เท่า ประมาณ 3% เกิดในผู้ที่มีอายุน้อย ทั้งนี้ มะเร็งชนิดนี้รักษายากยังไม่มีวิธีการคัดกรอง ถึงแม้จะรักษาด้วยการผ่าตัดรังไข่แล้ว แต่ก็สามารถเกิดมะเร็งชนิดอื่นได้ เพราะมีเยื่อบุผิวหนังจำนวนมาก ทั้งนี้ หากตัดรังไข่ออกซึ่งจะเกี่ยวพันกับฮอร์โมน ดังนั้นจะทำให้เกิดภาวะเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติ ผมร่วงง่าย ผิวหนังเหี่ยว อารมณ์แปรปรวน ความจำไม่ค่อยดี กระดูกเสียหาย ไขมันแปรปรวน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจตัดรังไข่ทิ้งจะต้องได้รับคำแนะนำจากอายุรแพทย์ สูติ-นรีแพทย์ จิตแพทย์ และศัลยแพทย์ ก่อน

 “ก่อนที่จะตัดสินใจตัดรังไข่จึงต้องประเมินก่อนว่าตนเองอยู่ในภาวะเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน โดยในคนที่มียีน BRCA 1 และ BRCA 2 จะเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าขณะนี้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ยังไม่มีวิธีไหนที่ดีในระยะแรกเริ่ม ดังนั้นจึงต้องคิดหน้าคิดหลังให้มากๆ เพราะถึงแม้ว่าตัดรังไข่ออกไปแล้วจะไม่เป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อรังไข่ แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดอื่นในช่องท้องได้” ผศ.พญ.สุวนิตย์ กล่าว

 ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/34656

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,567
Page Views2,012,753
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view