http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวัง! ไม่กินข้าวเช้าเสี่ยงเบาหวาน

ระวัง! ไม่กินข้าวเช้าเสี่ยงเบาหวาน เลือกกินข้าวเหนียวหมูปิ้งได้แต่ต้องมีผัก

เปิดสถิติกลุ่มวัยทำงานกินข้าวเช้าเป็นประจำแค่ 50.45% ดื่มชา กาแฟแทนข้าว 25% ส่วนวัยเรียนไม่กินข้าวเช้า 30% มีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่ม แพทย์เตือนไม่กินข้าวเช้าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานง่ายกว่า ย้ำเมนูฮิตอย่างข้าวเหนียวหมูปิ้งกินได้แต่ต้องไม่มัน ไม่เกรียม และควรเพิ่มผักด้วย

 นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการกินอาหารเช้า โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยในปี 2555 จำนวน 220 ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 88.2 เป็นกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ซึ่งกินอาหารเช้าเป็นประจำ ร้อยละ 59.55 กินอาหารเช้าเกือบทุกวัน ร้อยละ 24.09 โดยเพศชายกินอาหารเช้าทุกวันมากกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่กินข้าวเป็นอาหารเช้าเป็นประจำร้อยละ 50.45 และดื่มชา กาแฟ แทนข้าว ร้อยละ 25 และนมจืดพร่องมันเนย ร้อยละ 13.64 สาเหตุส่วนหนึ่งที่กลุ่มวัยทำงานไม่ได้รับประทานอาหารเช้า คือ การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบส่งผลให้การเริ่มต้นระบบเผาผลาญของร่างกายช้าลง ร่างกายจึงรู้สึกหิวตลอดเวลา และกินอาหารในมื้อถัดไปมากยิ่งขึ้น กินจุบกินจิบ และมักเลือกเมนูอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การอดอาหารเช้ายังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากคนที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำจะลดภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน หรือภาวะดื้อของอินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึง ร้อยละ 35-50 และผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกายังพบว่าการรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจอีกด้วย

       
       นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า สำหรับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน พบว่า เด็กอายุ 6 - 11 ปี ร้อยละ 30 ไม่กินอาหารเช้า และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง อายุ 12-14 ปี ไม่กินอาหารเช้า ถึงร้อยละ 52 ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้าโดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม หากเด็กวัยเรียนไม่รับประทานอาหารเช้าจะส่งผลเสียต่อการเรียนและสุขภาพ เพราะร่างกายจะทำงานเพื่อเผาผลาญตลอดเวลาแม้ในขณะหลับและเมื่อไม่ได้ทานอาหารเช้าทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารจะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสีย อาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลม เพราะสมองได้รับน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ยิ่งมีอาการในช่วงเวลาเรียน จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิเรียนอาจเป็นโรคกระเพาะจนถึงขั้นต้องพักการเรียนได้
       
       “อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย ควรให้พลังงานประมาณ 400 - 450 กิโลแคลอรี เลี่ยงอาหารสำเร็จรูปเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อยและมีโซเดียมสูง แต่สามารถเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่มีขายทั่วไปได้ และเพิ่มผักสด ผลไม้สดเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน สำหรับการเตรียมอาหารเช้าให้เด็กวัยเรียน ต้องเป็นเมนูที่ถูกหลักโภชนาการ มีโปรตีนสูง และเตรียมง่าย เช่น ข้าวต้มเครื่อง โจ๊ก ข้าวผัด อาหารประเภทซีเรียลผสมนมรสจืด ขนมปังแซนวิช สำหรับข้าวเหนียวหมูปิ้งซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่หาซื้อได้ง่าย ต้องเลือกเป็นหมูปิ้งไม้ที่ไม่ติดมัน ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไป และควรเพิ่มผักสดและผลไม้ประมาณ 1 ผล เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
       
       นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า หลักโภชนาการที่ถูกต้องควรกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมาก หากไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าเองก็ควรจะเพิ่มเวลาซัก 10-20 นาที เพื่อออกไปเลือกเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมนอกบ้าน เพราะทุกวัยโดยเฉพาะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการพลังงาน สารอาหารที่ครบถ้วน และหลากหลายให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ขมหวาน ขนมขบเขี้ยว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนของเด็กไทย พร้อมทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สมองสามารถเรียนรู้ จดจำ มีสมาธิ พร้อมเริ่มวันใหม่ ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้กันเพื่อนได้อย่างดี ควบคู่กับสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย

 ที่มา: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062132

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,273
Page Views2,012,459
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view