http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ปริมาณขยะติดเชื้อปี 55 สูง 4.2 หมื่นตัน

อึ้ง! ปริมาณขยะติดเชื้อ ปี 55 สูงถึง 4.2 หมื่นตัน

 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จับมือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมควบคุมมลพิษแก้ไขการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ เผยปริมาณขยะติดเชื้อในประเทศไทยมีประมาณ 42,000 ตันต่อปี ทำให้สถานบริการสาธารณสุขจ้างบริษัทเอกชนนำไปกำจัด

 นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากปัญหาการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเตาเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแห่งไม่สามารถใช้การได้ ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง และค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในระบบเผามีราคาแพง สำหรับเตาเผาขยะติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเพียง 13 แห่ง ก็เป็นเตาแบบเก่าที่ไม่สามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพมีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพและเป็นเตาเผาแบบหมุน คือ เตาเผาขยะติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและเทศบาลเมืองวารินชำราบ

 

ส่วนเตาเผาขยะติดเชื้อขนาดใหญ่ของเอกชนมีเพียง 4 แห่ง ส่งผลให้โรงพยาบาลที่มีจำนวนกว่า 800 แห่ง ส่วนใหญ่ส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดภายนอกโรงพยาบาล ร้อยละ 56 เผาด้วยเตาเผาในโรงพยาบาลร้อยละ 30 ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำจัดร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 6 อีกทั้งยังพบแนวโน้มที่โรงพยาบาลจะส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนรับนำไปกำจัดมากขึ้น

 นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจปริมาณขยะติดเชื้อโดยกระทรวงสาธารณสุขในปี 2555 พบว่า มีขยะติดเชื้อประมาณ 42,000 ตันต่อปี โดยแบ่งเป็นสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 28,000 ตัน และสถานบริการสาธารณสุขของเอกชน 14,000 ตัน ซึ่งขยะติดเชื้อที่กำจัดไม่ถูกวิธีจะแพร่กระจายเชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์ กรมอนามัยจึงร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมควบคุมมลพิษแก้ไขการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ โดยให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมจัดการประชุมสาธารณสุขรวมใจท้องถิ่นต้านภัยมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อควบคุมกำกับปริมาณขยะติดเชื้อในประเทศไทยให้เป็นระบบ

 นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบเอกสารกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ ให้โรงพยาบาล ผู้ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ (เอกชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และผู้กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (เอกชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ต้องจัดทำเอกสารหรือแบบกำกับ ซึ่งจะเริ่มใช้เอกสารกำกับการขนส่งปริมาณมูลฝอยติดเชื้ออย่างเป็นระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นไป รวมทั้งเสนอทางเลือกสำหรับการจัดการขยะติดเชื้อด้วยเทคโนโลยีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำอีกด้วย

 นายแพทย์ณรงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดการขยะติดเชื้อโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการสาธารณสุขที่เป็นแหล่งกำเนิดขยะติดเชื้อ หรือโรงพยาบาลที่ให้บริษัทเอกชนขนส่งและกำจัดขยะติดเชื้อต้องมีการกำกับและตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อเอกสารหรือหลักฐานของบริษัทเอกชนให้ถูกต้อง และให้บริษัทเอกชนดำเนินการการเก็บ ขน จนถึงขั้นตอนการกำจัดทำลาย ณ สถานที่กำจัดทำลายที่ถูกวิธี ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องมีใบอนุญาตรับทำการเก็บ และขนมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ใบอนุญาตรับทำการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และรายงานการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาขยะติดเชื้อ ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/34611

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,267
Page Views2,012,453
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view