http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. เดินหน้าดำเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพ

อย. เดินหน้าดำเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง ผิดซ้ำซาก ปรับเพิ่มทวีคูณ

          อย. เผยอาหารนําเข้าจากต่างประเทศ พบสารเคมีกําจัดศัตรูพืชในส้มสดองุ่นสด นอกจากนี้ยังคงพบการ

โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารยาเครื่องสําอางและเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆโดยไม่ได้รับอนุญาตโอ้อวดสรรพคุณ

เกินจริง เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอ้างทําให้ผิวขาวลดความอ้วน ฟื้นฟูสมองช่วยให้ความจําดีโฆษณาขายยา

โดยมีการรับรองยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น โฆษณาเครื่องสําอางโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

ในสาระสําคัญเกี่ยวกับเครื่องสําอาง เป็นต้น ในเดือนกุมภาพันธ์อย. จึงได้ดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดรวม 105 ราย

เป็นเงินค่าปรับกว่า 9 แสนบาท พร้อมเตือนผู้ประกอบการ หากกระทําผิดซ้ําจะได้รับโทษทวีคูณ สําหรับผู้บริโภค

หากพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายขอให้แจ้งที่ อย.

หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อดําเนินการให้หลาบจํา

             ภญ.ศรีนวลกรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สํานักงาน

คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆในช่วงเดือน

กุมภาพันธ์ 2556 ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 จํานวน 53 ราย พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

จํานวน 41 ราย พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์พ.ศ. 2551 จํานวน 6 ราย พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ.

2535 จํานวน 4 รายและพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จํานวน 1 รายรวมทั้งสิ้น 105 ราย คิดเป็น

มูลค่า 959,800 บาท

           รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า จากการดําเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร ได้เปรียบเทียบปรับ

ผู้กระทําผิดในกรณีต่างๆเช่น กรณีอาหารนําเข้าจากต่างประเทศ พบสารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชกลุ่ม

ออร์กาโนคลอรีนในส้มสดและกลุ่มไพรีทอยด์ในองุ่นสดซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดจึง

ได้ดําเนินคดีในข้อหานําเข้าเพื่อจําหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารยา

เครื่องสําอางและเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆได้แก่ นิตยสาร หนังสือพิมพ์เว็บไซต์และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพบโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอ้างช่วยทําให้ผอมขาวและระบบขับถ่ายดีกระชับผิว บางผลิตภัณฑ์อ้างช่วยปรับฮอร์โมน

กระชับภายใน ฟื้นฟูสมองช่วยให้ความจําดีช่วยทําให้โรคเบาหวาน ภูมิแพ้ดีขึ้น บรรเทาโรคมะเร็งปอด หอบหืด

เนื้องอกในมดลูกเป็นต้น ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวงโอ้อวดเกินจริงทั้งสิ้น เพราะ

ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้

       ในส่วนของผลิตภัณฑ์ยา พบโฆษณาทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในลักษณะทําให้หายใจสะดวกขึ้น หลับลึก

เสียงนอนกรนลดลง โดยมีผู้ดําเนินรายการและผู้ร่วมรายการพูดคุยกัน ซึ่งเป็นการขายยาโดยแสดงสรรพคุณ

อันเป็นเท็จมีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น มีการโฆษณาสรรพคุณบํารุงหัวใจ ปอดสมองและ

รักษาโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคตับ โรคไตเป็นต้น ซึ่งเป็นการขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ เป็นการ

โฆษณาขายยาโดยแสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบําบัด บรรเทารักษา หรือป้องกันโรค หรืออาการของโรคที่ห้าม

โฆษณา นอกจากนี้พบการนําเข้ายาโดยไม่ผ่านการตรวจสอบ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ณ ด่านนําเข้า พบการขาย

ยาแผนปัจจุบันไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตโดยมียาอันตรายไว้เพื่อจําหน่ายอีกทั้งไม่จัดทําบัญชีการซื้อและขาย

ยาและขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์พบการโฆษณาโดย

ไม่ได้รับอนุญาต และผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง พบการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดใน

สาระสําคัญเกี่ยวกับเครื่องสําอาง เช่น ช่วยปรับสีผิวบริเวณหัวนมและปานนมที่ดําคล้ํา ทําให้ผิวกระจ่างใสชุ่มชื่น

นุ่มเนียน แลดูเป็นสีชมพูอย่างเป็นธรรมชาติช่วยเนรมิตให้คุณกลับมาสวยอย่างวัยแรกสาวได้อีกครั้งอ้างช่วยลด

ริ้วรอยแห่งวัยที่สะสมตลอด 1 ปีได้ภายในเวลา 6 สัปดาห์เป็นต้น

         อย. ได้มีการดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดอย่างต่อเนื่องและหากพบว่ามีการกระทําผิดซ้ําซากก็จะเพิ่มโทษ

ทวีคูณ ทั้งนี้ขอแนะนําผู้บริโภคให้เลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยโดยอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง

และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริงอาหารไม่ใช่ยาจะต้องไม่โฆษณาในทางยาเช่น ต้อง

ไม่อ้างรักษาโรค หรือลดความอ้วน ส่วนผลิตภัณฑ์ยาต้องไม่โฆษณาว่าสามารถรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน

อัมพฤกษ์อัมพาตให้หายขาดส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางต้องไม่โฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนสีผิวให้ขาวกว่า

ธรรมชาติไม่อวดอ้างรักษาสิวแก้ฝ้าและไม่โอ้อวดว่าสามารถขยายทรวงอกได้ซึ่งหากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผิดกฎหมาย หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภคขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่ออย. จะได้

ดําเนินการตามกฎหมายต่อไป รองเลขาธิการฯกล่าวในที่สุด

          ที่มา : กองพัฒนาศักยภาพผบรู้ ิโภค 3 พฤษภาคม 2556 ข่าวแจก 52 / ปีงบประมาณ 2556

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,549
Page Views2,012,735
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view