http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. แจงตรวจสอบวัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์

อย. แจงกรณีการตรวจสอบวัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์ขององค์การเภสัชกรรม

          อย. แจงกรณีวัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่มีข้อสงสัยว่าเป็นวัตถุดิบที่ใกล้

สิ้นอายุหรือไม่ เผยจากการตรวจสอบ ไม่ได้เป็นวัตถุดิบที่ใกล้สิ้นอายุเป็นแต่เพียงวัตถุดิบที่ระบุวันที่ต้องตรวจ

วิเคราะห์คุณภาพซ้ํา (Retest Date) ในเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งอภ. แจ้งว่าจะดําเนินการตรวจวิเคราะห์

คุณภาพของวัต ถุดิบตามข้อ กําหนดในใบรับรองผลการวิเคราะห์ (COA) ทุกหัว ข้อ อีกทั้ง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบซ้ํา เพื่อยืนยันผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ขอให้

ประชาชนมั่นใจการผลิตยาทุกล็อตจะไม่มีปัญหาวัตถุดิบที่หมดอายุหากพบปัญหาของความคงสภาพ อภ.

จะต้องเรียกเก็บคืนยาจากท้องตลาดทันทีย้ํา ประเทศไทยจะมีการสํารองยาโอเซลทามิเวียร์ให้เพียงพอกับ

สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนก พร้อมกับ อย. ได้ออกประกาศเพื่อควบคุมและป้องกันมิให้นําเภสัช

เคมีภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานนําไปขายต่อเพื่อผลิตยา ป้องกันมิให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากยาที่ไม่ได้คุณภาพ

มาตรฐาน

             นพ.บุญชัยสมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่าตามที่รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุขสั่งการให้กรมควบคุมโรคกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสํานักงานคณะกรรมการ

อาหารและยา (อย.) ประชุมร่วมกับองค์การเภสัชกรรมเพื่อพิจารณาแนวทางดําเนินการกรณีวัตถุดิบโอเซลทา

มิเวียร์ (Oseltamivir) ขององค์การเภสัชกรรมที่มีข้อสงสัยว่าเป็นวัตถุดิบที่ใกล้สิ้นอายุเพื่อสร้างความมั่นใจ

ให้กับผู้บริโภคในการผลิตยาขององค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข

สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และมีการสํารองยาโอเซลทามิเวียร์ให้เพียงพอสําหรับรองรับสถานการณ์การ

ระบาดของโรคไข้หวัดนก (H7N9) นั้น อย. จึงได้ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขอชี้แจงผลการ

ตรวจสอบดังนี้

  1. องค์การเภสัชกรรมได้จัดซื้อยาโอเซลทามิเวียร์จากบริษัทผู้ผลิตคือ Hetero Labs Limited
  2. ประเทศอินเดียเพื่อนํามาผลิตเป็นยาต้านไวรัสในชื่อ GPO-A-FLU จํานวน 2 ช่วงคือช่วงที่ 1 ระหว่าง 1
  3. สิงหาคม 2551 – 16 กรกฏาคม 2552 จํานวน 1,540 กก. ซึ่งได้มีการผลิตเป็นยาสําเร็จรูปและขายไป
  4. หมดแล้วและช่วงที่ 2 ระหว่าง 24 กรกฎาคม 2552 – 31 กรกฎาคม 2552 อีกจํานวน 4,399.68 กก.ซึ่งได้มี
  5. การผลิตเป็นยาสําเร็จรูปขายไปบ้างแล้วคงเหลือวัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์ในคลังสํารองวัตถุดิบอีกจํานวน
  6. 3,469.9 กก.
  7.  2. ตรวจสอบฉลากที่ภาชนะบรรจุยามีการกําหนดวันที่ผลิต(Mfg.Date)และวันที่ให้ทําการวิเคราะห์ซ้ํา
  8. (Retest Date) ซึ่งไม่ใช่วันหมดอายุ(Expiry) ของวัตถุดิบแต่อย่างใดตรงกับหนังสือรับรองผลการตรวจ
  9. วิเคราะห์ (COA) ตามที่ผู้ผลิตในต่างประเทศแจ้งไว้
  10.  3. องค์การเภสัชกรรมแจ้งว่าจะดําเนินการตรวจวิเคราะห์ซ้ํา (Retest) วัตถุดิบที่เป็นตัวยาสําคัญ
  11. เป็นประจําปีละครั้งตามหัวข้อที่สําคัญ และในกรณีที่ถึงกําหนดการตรวจวิเคราะห์ซ้ําตามที่ระบุในฉลากของถัง
  12. บรรจุองค์การเภสัชกรรมจะดําเนินการวิเคราะห์ซ้ําครบทุกหัวข้อตรงตามใบ COA ที่กําหนด

          เลขาธิการฯอย.กล่าวต่อไปว่า จากการประชุมร่วมกัน มีข้อสรุปว่าในการใช้วัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์ทุกรุ่น

องค์การเภสัชกรรมจะดําเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของวัตถุดิบตาม Raw material specification

ให้ครบทุกหัว ข้อ หากไม่ผ่านมาตรฐานครบทุกหัว ข้อจะยกเลิก วัต ถุดิบ รุ่นนั้นทันทีอีกทั้ง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะดําเนินการตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบโอเซลทามิเวียร์ทุกรุ่นภายหลังการตรวจ

วิเคราะห์ขององค์การเภสัชกรรมด้วยเพื่อเป็นการยืนยันให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยา

โอเซลทามิเวียร์แต่ละรุ่นที่ผลิตออกมาจะต้องมีการศึกษาความคงสภาพทุก 6 เดือนตลอดช่วงอายุของยารุ่น

นั้นๆ ทั้งนี้หากพบความผิดปกติของผลการศึกษาความคงสภาพหรือพบปัญหาด้านคุณภาพของยาโอเซลทา

มิเวียร์ทางองค์การเภสัชกรรมจะดําเนินการเรียกเก็บยาคืนจากโรงพยาบาลต่างๆ ทันที

        เลขาธิการฯอย.กล่าวในตอนท้ายว่าอย. ได้มีมาตรการควบคุมและป้องกันมิให้นําวัตถุดิบที่มีปัญหา

มาใช้ในการผลิตยาโดยอย. ได้ออกประกาศสํานักงานฯเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาดังกล่าวโดยกําหนด

หน้าที่ของผู้รับอนุญาตผลิตหรือนําเข้าฯเภสัชเคมีภัณฑ์ที่เป็นสารออกฤทธิ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูปที่มี

ส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ต้องจัดทําบัญชีแสดงปริมาณการรับคืน และปริมาณคงเหลือในคลังสินค้าของ

วัตถุดิบที่มีการรับคืนเพราะปัญหาคุณภาพ โดยแจ้งให้อย. ทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการส่งคืน

ตลอดจนให้ระงับการผลิตขาย หรือนําเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ที่มีส่งคืนดังกล่าวรวมทั้งให้ผู้ซื้อหยุดการใช้เภสัช

เคมีภัณฑ์ที่มีการส่งคืนดังกล่าวด้วยทุกราย

       ที่มา--กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 9 พฤษภาคม 2556 แถลงข่าว 13 /ปีงบประมาณ พ.ศ.2556—

http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,354
Page Views2,012,540
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view