http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้ทัน โรคพาร์กินสัน

รู้ทัน …โรคพาร์กินสัน (Parkinson Disease)

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)  เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารบางอย่างที่ชื่อว่า “โดพามีน” ลดลง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวช้าลง ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจใช้ชีวิตลำบากได้

โรคพาร์กินสันมีทั้งหมด 5 ระยะ

ระยะที่ 1 : มีอาการเริ่มต้นคือ มีอาการสั่นเมื่อมีการหยุดพัก หรือไม่มีการเคลื่อนไหวอวัยวะ เช่นนิ้วมือ แขนเป็นต้น นอกจากนี้จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเเขน ขา และลำตัวร่วมด้วย

ระยะที่ 2 :  อาการจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มหลังงอ เคลื่อนไหวช้า หรือเดินตัวโก่งไปข้างหน้า

ระยะที่ 3 : มีอาการทรงตัวผิดปกติ มีโอกาสหกล้มได้ง่าย เวลาลุกยืนจะลำบาก

ระยะที่ 4 : ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง อาการสั่นลดลง แต่มีอาการเเข็งเกร็งและเคลื่อนไหวช้ากว่าเดิม ในระยะนี้ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยอาจจะหกล้มได้ง่าย และไม่สามารถยืนได้

ระยะที่ 5 : กล้ามเนื้อเเข็งเกร็งมากขึ้นจนผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้เลย กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือเท้าหงิกงอ เสียงแผ่วเบา ไม่มีการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้ร่างกายซูบผอมลง ทรวงอกเคลื่อนไหวได้น้องลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

สาเหตุที่ทำให้การผลิตสารโดพามีนลดลงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าคืออะไร และยังไม่แน่ชัดว่ามีปัจจัยใดที่กระตุ้นการเกิดโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตามโรคพาร์กินสัน อาจเกิจจากสาเหตุอื่นก็ได้ซึ่งที่พบบ่อยๆในผู้สูงอายุ คือ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้เวียนศรีษะ แก้มึนงง ยาแก้อาเจียน ยารักษาความผิดปกติทางจิตบางชนิด ยากล่อมประสาท เป็นต้น นอกจากนั่นอาจเกิดจากความผิดปกติในสมองจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดสมองแตก สมองขาดออกซิเจน สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศรีษะ เป็นต้น บางคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสันซึ่งสามารถพบได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมร้อยละ 10-15%

การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

  • การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

https://www.synphaet.co.th/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99-parkinson-disease/

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/09/2023
สถิติผู้เข้าชม1,649,167
Page Views1,896,879
« September 2023»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
view