http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โภชนาการสำหรับเด็กในวัยเรียน

4 ความเชื่อผิดๆ เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กในวัยเรียน

ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทั้งจากการฟังปากต่อปากหรือการรับชมจากสื่อต่างๆ แต่หลายคนก็อาจยังไม่รู้ว่าการที่เด็กขาดหรือได้รับสารอาหารเหล่านั้นมากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้

                   ซึ่งเด็กวัยเรียนในช่วงอายุ  6-12 ปี เป็นวัยที่กำลังเตรียมพร้อมเข้าสู่ช่วงการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตใจ จึงต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งนอกจากการดูแลสภาพแวดล้อมของเด็กให้พร้อมเรียนรู้กับโลกกว้างแล้ว เรื่องอาหารการกินก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กให้พร้อมเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

มาดูกันว่ามีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการให้เด็กทานอาหารแบบไหนบ้างที่ส่งผลเสียต่อเด็กในวัยเรียน

                   1. กินแต่ข้าวกับเนื้อสัตว์ปรุงสุกเยอะๆ ถึงจะดี

                   ความเชื่อที่ว่าให้เด็กกินแต่ข้าวกับเนื้อสัตว์ปรุงสุกเยอะๆ จะช่วยเพิ่มพลังงานให้เด็กและทำให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้นนั้นอาจไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องเท่าไร เพราะการทานแต่ข้าวกับเนื้อสัตว์อาจทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งเด็กจะได้รับเพียงคาร์โบไฮเดรตจากข้าวและโปรตีนจากเนื้อสัตว์เท่านั้น

                   แล้วเด็กยังต้องการสารอาหารอะไรเพิ่มอีก?…สารอาหารที่เด็กควรได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวันมีดังนี้

                   ๐ คาร์โบไฮเดรต ที่มาจากอาหารเช่น ข้าว แป้ง

                   หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตคือการให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดิน วิ่ง ออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ถ้าหากเด็กได้รับสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินความต้องการของร่างกายจะกลายเป็นไขมันสะสมได้

                   ๐ โปรตีน ที่มาจาก เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์

                   โปรตีนช่วยให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโต ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ ฮอร์โมนเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่น โดยโปรตีนที่เด็กวัยเรียนควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ 1-1.1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

                   ๐ วิตามินและแร่ธาตุ ที่มาจากผักและผลไม้

                   วิตามินและแร่ธาตุเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ถ้าไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้จะทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ขาดสารอาหารรวมถึงจะทำให้เด็กป่วยง่าย

                   ๐ ไขมัน ที่มาจากไขมันพืชและไขมันสัตว์

                   ถึงแม้ว่าการได้รับสารอาหารประเภทนี้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากไขมันเป็นสาเหตุของการเกิดไขมันสะสมในร่างกายได้ แต่ร่างกายของเด็กยังคงต้องการไขมันเพื่อเป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน

                   จะเห็นได้ว่าหากกินเพียงข้าวและเนื้อสัตว์ปรุงสุกนั้น จะไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่มาจากผักและผลไม้

                  2. อาหารฟาสต์ฟู้ดกินเมื่อไหร่ก็ได้

                   ปัจจุบันอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด (อาหารที่ได้รับสมญานามว่าเป็น “อาหารขยะ”) เกิดขึ้นมากมายทั้งรูปแบบของร้านอาหารไปจนถึงอาหารแบบแช่แข็งที่หลายครอบครัวเลือกให้ลูกกินในชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนและยังได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็กในระยะยาวอีกด้วย จึงเกิดเป็นพฤติกรรมการกินอาหารฟาสต์ฟู้ดเพราะความสะดวกสบายมากขึ้น ส่งผลให้เด็กกินอาหารในปริมาณที่มากขึ้นและเป็นสาเหตุให้เด็กเกิดโรคอ้วนได้ง่าย

                   นอกจากอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมีพลังงานที่สูงเกินกว่าที่ร่างกายของเด็กจะใช้ได้หมดแล้ว ในอาหารเหล่านี้ยังมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก เช่น สารกันบูด สารเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ เป็นต้น

                  ๐ อาหารขยะส่งผลต่อความทรงจำและการเรียนรู้

                   เด็กวัยเรียนอยู่ในช่วงที่ร่างกายและระบบความคิดพัฒนาได้อย่างดีเยี่ยม พวกเขาจะตื่นเต้นและจดจำกับสิ่งใหม่ๆ ที่พบในชีวิตตลอดเวลา แต่การที่เด็กในวัยนี้ได้รับสารอันตรายจากอาหารขยะเป็นจำนวนมากจะส่งผลเสียต่อระบบความคิดและระบบการจำของเด็กได้ ซึ่งนอกจากส่งผลต่อระบบสมองให้ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลต่อเด็กในด้านของอารมณ์และสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

                  3. ให้กินขนมหวานหลังมื้ออาหาร

                   พ่อแม่ของเด็กวัยเรียนหลายคนมักจะหว่านล้อมให้ลูกกินข้าวด้วยการใช้ขนมหวานหลังอาหารเป็นตัวล่อ ทำให้เด็กติดนิสัยในการกินเพื่อให้ได้กินขนมหวานหลังจากอาหารมื้อนั้น โดยขนมหวานเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งอันตรายใกล้ตัวเด็ก ถ้ากินบ่อยๆ หรือกินในปริมาณมาก เด็กจะติดรสชาติหวานซึ่งส่งผลให้เด็กอยากกินขนมหวานบ่อยขึ้นหรือชอบกินอาหารที่มีรสชาติหวานมากขึ้น

                   สิ่งที่ตามมาจากการกินหวานบ่อยของเด็กๆ คือจะทำให้ฟันผุและอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ นอกจากจะส่งผลต่อสภาพร่างกายแล้วยังส่งผลต่อด้านอารมณ์ของเด็กที่ทำให้สมาธิสั้น โกรธและฉุนเฉียวง่ายขึ้นอีกด้วย

                  4. วิตามินเสริมทดแทนอาหารหลักได้

                   เด็กวัยเรียนหลายคนเริ่มมีพฤติกรรมเลือกกินมากขึ้นและส่วนมากเลือกที่จะไม่กินผักและผลไม้ พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนจึงเลือกที่จะให้ลูกกินวิตามินเสริมทดแทนวิตามินที่ไม่ได้รับจากผักและผลไม้โดยตรง ซึ่งเมื่อเด็กได้รับวิตามินเสริมเป็นระยะเวลานานจะส่งผลต่ออวัยวะภายในซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ทางที่ดีควรปลูกฝังเด็กให้กินผักและผลไม้สดตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้วิตามินจากธรรมชาติที่หลากหลาย ได้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กและช่วยในการป้องกันโรคได้

                   วิตามินและแร่ธาตุอะไรบ้างที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ

                   แคลเซียม

                   มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากขาดแคลเซียมจะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เป็นตะคริวและเจริญเติบโตช้า โดยแหล่งแคลเซียมจากอาหารได้แก่ ถั่วเหลือง นมและผลิตภัณฑ์นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว

                   ธาตุเหล็ก

                   มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทั้งร่างกาย สมอง และช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้สมรรถภาพการทำงานของร่างกายดี ไม่เหนื่อยง่าย หากเด็กขาดธาตุเหล็กจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและส่งผลต่อศักยภายของการเรียนรู้ได้ โดยแหล่งอาหารของธาตุเหล็กได้แก่ ตับ เลือด เครื่องในสัตว์ และไข่แดง

                   ไอโอดีน

                   มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองให้เจริญเติบโตอย่างเป็นปกติ หากขาดไอโอดีนจะทำให้เด็กมีพัฒนาการของสมองที่ช้าลง เกิดโรคคอพอก ร่างกายแคระแกร็น แหล่งอาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล สาหร่ายทะเล ปลาทะเล

                   สังกะสี

                   มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กซึ่งสังกะสีจะทำงานเกี่ยวข้องกับโปรตีน ถ้าเด็กขาดสังกะสีจะทำให้เด็กมีภาวะเตี้ย โดยสังกะสีนั้นมีในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลา ไข่ ขมและผักสีเขียวเข้ม

                   วิตามินเอ

                   มีความสำคัญต่อการมองเห็นของเด็ก การเจริญเติบโตของเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันโรค หากขาดวิตามินเอ จะทำให้มองไม่เห็นในแสงสลัวหรือที่เรียกว่า ตาบอดกลางคืน แหล่งอาหารที่พบวิตามินเอได้แก่ ตับ ไข่ นม ผักผลไม้สีเขียวเข้มและเหลืองส้ม เช่น ผักตำลึง ฟักทอง แครอท มะม่วง

                   วิตามินบี 1

                   มีความสำคัญในการช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ถ้าเด็กขาดวิตามินบี 1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 1 ได้แก่ เนื้อหมู ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง งา

                   วิตามินบี 2

                   มีความสำคัญที่นอกจากช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังช่วยเผาผลาญไขมันและโปรตีนด้วย ช่วยส่งเสริมระบบประสาท ผิวหนัง ดวงตา และช่วยป้องกันเซลล์ถูกทำลาย ถ้าขาดวิตามินบี 2 จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บคอ ริมฝีปากอักเสบและเป็นปากนกกระจอกได้ แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 2 ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม

                   วิตามินซี

                   มีความสำคัญต่อระบบภูมิคต้านทานโรค ยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ หากขาดวิตามินซีจะทำให้เบื่ออาหาร กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน แผลหายช้า เลือดออกตามไรฟันหรือ “โรคลักปิดลักเปิด” แหล่งของวิตามินซีมาจากผักและผลไม้หลายชนิดได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม ขนุน มะเขือเทศ ผักใบเขียว เป็นต้น

                  Tips: ปริมาณอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กวัยเรียน

                   ปริมาณอาหารที่เด็กวันเรียนควรได้รับใน 1 วันมีอะไรบ้าง

                   จากตาราง แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมในการจัดเตรียมอาหารให้ได้โภชนาการครบถ้วนสำหรับเด็กวัยเรียนใน 1 วัน โดยเด็กชั้นอนุบาลช่วงอายุ 4-5 ปี มีความต้องการข้าว-แป้ง 5 ทัพพี, ผัก 3 ทัพพี, ผลไม้วันละ 3 ส่วน, เนื้อสัตว์ประมาณ 3 ช้อนกินข้าว และนม 2-3 แก้ว

                   ส่วนเด็กชั้นประถมหรือช่วงอายุ 6-13 ปี มีความต้องการข้าว-แป้ง 8 ทัพพี, ผัก 4 ทัพพี, ผลไม้วันละ 3 ส่วน, เนื้อสัตว์ประมาณ 6 ช้อนกินข้าว และนม 2-3 แก้ว

                   ข้อมูลจาก : กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

                   สรุป

                   เมื่อได้รู้ถึงโภชนาการที่สำคัญต่อเด็กวัยเรียนแล้ว การให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีปริมาณที่เหมาะสมกับตัวเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงเด็กแต่ละคนด้วยว่าร่างกายของเด็กแพ้อาหารชนิดใดหรือไม่ แล้วสามารถทดแทนสารอาหารเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย

https://www.thaihealth.or.th/4-%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%86-%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1/


 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/03/2023
สถิติผู้เข้าชม1,583,105
Page Views1,828,116
« March 2023»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view