http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เจ็บคอแบบไหน กินยาปฏิชีวนะได้

"เจ็บคอ" แบบไหน กินยาปฏิชีวนะได้

การกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บคอทั้งที่ไม่จำเป็น เป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า คนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มักมีอาการเจ็บคอจากไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) ในการรักษา เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลต่อการรักษาแล้วยังอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาด้วย

"เจ็บคอ" แบบไหน กินยาปฏิชีวนะได้

เจ็บคอจากการติดเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ

มีอาการดังนี้

  • คอแดง
  • ทอนซิลบวมแดง

พร้อมอาการร่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่

  • มีไข้ต่ำๆ
  • ไอ
  • น้ำมูกไหล
  • เสียงแหบ
  • อ่อนเพลีย

อาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส สามารถพบได้บ่อยกว่า จากการเจ็บคอเพราะเป็นไข้หวัดธรรมดา ควรพักผ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอ สามารถกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อบรรเทาอาการระคายคอ ถ้าไอหรือมีน้ำมูกมาก อาจกินยาแก้ไอหรือยาแก้แพ้ โดยทั่วไปมักหายเองได้ภายใน 7-14 วัน

เจ็บคอจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ

มีอาการดังนี้

  • คอแดง
  • มีจุดหนองที่ต่อมทอนซิล
  • ทอนซิลบวมแดง

พร้อมอาการร่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่

  • มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ไม่มีอาการไอ
  • ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรหน้า บวมโตขึ้นหรือกดเจ็บ

อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย พบได้ไม่บ่อยเท่าเจ็บคอจากเชื้อไวรัส ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อประเมินความจำเป็นของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

ทั้งนี้ ยาต้านจุลชีพ ได้แก่ ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาต้านเชื้อรา ยาต้านปรสิต 

พวกเราทุกคนสามารถลดเชื้อดื้อยาได้ โดยหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดเชื้อดื้อยา

  • ซื้อยาต้านจุลชีพกินเอง เช่น ยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะ 
  • ซื้อยาต้านจุลชีพตามคนอื่น
  • รับประทานยาต้านจุลชีพไม่ครบขนาดหรือระยะเวลาการรักษา
  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของการรับประทานยาต้านจุลชีพที่ถูกต้องและเหมาะสม
  • อมยาอมที่ผสมยาฆ่าเชื้อ
  • เอายาต้านจุลชีพชนิดรับประทานมาโรยแผล
  • ใช้ยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์

ดังนั้นหากสงสัยภาวะติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อประเมินความจำเป็นของการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ

https://www.sanook.com/health/31333/




 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/03/2023
สถิติผู้เข้าชม1,583,050
Page Views1,828,061
« March 2023»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view