http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตับถูกไขมันเกาะไม่ใช่เพราะเหล้า

ตับถูกไขมันเกาะ ไม่ใช่แค่เพราะดื่มเหล้า!!!

ภาวะไขมันเกาะตับในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นชื่อเรียกรวมของความผิดปกติที่เกิดกับตับ โดยเริ่มจากไขมันพอกตับ ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะตับวายและมะเร็งตับแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจุบันโรคไขมันเกาะตับเป็นโรคตับเรื้อรังที่พบบ่อยสุด ประเทศไทยพบภาวะไขมันเกาะตับได้มากขึ้นตามแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของภาวะอ้วนลงพุง ความชุกของภาวะไขมันเกาะตับในเด็กในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากเดิมร้อยละ 2.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 5 ในเด็กที่น้ำหนักปกติ แต่ความชุกในเด็กอ้วนจะเป็นร้อยละ 38 และเพิ่มเป็นร้อยละ 48 ในเด็กอ้วนที่เป็นโรคเบาหวาน

ทำไมถึงเกิดภาวะไขมันเกาะตับ

การรับประทานอาหารที่มากเกินไป การไม่ออกกำลังกาย ทำให้ไขมันส่วนเกินสะสมตามส่วนต่างๆ ในอวัยวะภายใน ซึ่งอวัยวะสำคัญที่เก็บสะสมคือตับ แต่ยังสะสมที่อื่นด้วย เช่น หลอดเลือด อวัยวะภายในอื่นๆ ตับอ่อน เยื่อบุหัวใจ เป็นต้น

อาการ

ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับกว่าร้อยละ 50 ไม่แสดงอาการโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นไขมันเกาะตับระยะแรก  ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันเกาะตับ ได้แก่ คนอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ มีภาวะไขมันเกาะตับถึงร้อยละ 90 ในจำนวนนี้ร้อยละ 20 มีอาการตับอักเสบร่วมด้วย และร้อยละ 10 กลายเป็นโรคตับแข็ง

ผลที่ตามมาของโรคไขมันเกาะตับ

1.) โรคร่วมในผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับ ภาวะไขมันเกาะตับพบร่วมกับกลุ่มอาการอ้วนลงพุง สัมพันธ์กับ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และ ไขมันที่ดี (HDL-C)ในเลือดต่ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

2.) ผลต่อตับ การดำเนินของโรคตับในกลุ่มที่มีการอักเสบและพังพืดเป็นเวลานานจะนำไปสู่โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ จะเห็นได้ว่าความผิดปกติและพัฒนาการของโรคเกิดขึ้นเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคตับกลุ่มที่ดื่มสุราเป็นประจำ

การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ

ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนมากจะไม่มีอาการใดๆ โดยมักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ หรือ พบโดยบังเอิญจากการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ หรือจากทำอัลตราซาวนด์ จากข้อบ่งชี้อื่นๆ โดยการตรวจเลือดวัดการทำงานของตับอาจเป็นปกติ หรือมีค่าเอนไซม์ตับส่วนมากจะมีค่าสูงกว่าปกติไม่มากนัก (2-5 เท่า ของค่าปกติ) การตรวจร่างกายอาจพบ ตับโต และอ้วนลงพุง มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกระหว่างภาวะไขมันเกาะตับชนิดธรรมดา (simple steatosis) และ ภาวะไขมันเกาะตับที่มีการอักเสบ (non-alcoholic steatohepatitis (NASH)) ออกจากกัน เนื่องจาก 2 ภาวะนี้มีการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน คือ ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับชนิดธรรมดา จะมีไขมันสะสมในตับ โดยไม่ทำให้เกิดการอักเสบ หรืออาจมีการอักเสบเล็กน้อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุง (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง) ส่วนอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป ในขณะที่ผู้ป่วยภาวะไขมันเกาะตับที่มีการอักเสบจะมีไขมันสะสมในตับร่วมกับการอักเสบที่รุนแรง จนส่งผลให้เกิดพังผืดขึ้น ซึ่งในที่สุดสามารถกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ถึงร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วย  การตรวจอื่นๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แก่ การตรวจทางรังสี รวมถึงการตรวจชิ้นเนื้อตับ

การรักษา

แม้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับจะมีการดำเนินโรคค่อนข้างช้า แต่การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการให้การรักษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่การลดไขมันสะสมในตับและลดการอักเสบของตับในรายที่มีการอักเสบร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรคต่อไป

การลดน้ำหนัก ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับสามารถฟื้นฟูสภาพตับให้กลับมาดีขึ้นได้ด้วยการลดน้ำหนักลงอย่างน้อยร้อยละ 7 (แต่คำแนะนำของสมาคมทางเดินอาหารของอเมริกาแนะนำให้ลดร้อยละ 10)

การออกกำลังกาย แม้ว่าน้ำหนักตัวไม่ลดลงแต่ให้ผลดีต่อตับ ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับควรลดอาหารหวาน อาหารมัน ลดการรับประทานแป้ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ ไขมันในตับก็จะลดลงได้ ร่วมกับการรักษาโรคร่วมที่มี เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การใช้ยาลดน้ำตาลบางชนิดรวมถึง วิตามิน อี อาจจะมีประโยชน์ นอกจากนี้การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่อ้วนมากสามารถทำให้ภาวะไขมันเกาะตับดีขึ้น

ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะตับควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรืออาหารเสริมประเภทน้ำมันต่าง ๆ เช่น น้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส และสมุนไพรต่าง ๆ และควรได้รับการตรวจว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากไม่มีควรได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงการตรวจติดตามค่าเอนไซม์ตับเป็นระยะ

https://www.thaihealth.or.th/Content/56061


 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/09/2023
สถิติผู้เข้าชม1,649,100
Page Views1,896,812
« September 2023»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
view