http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โควิด-19 โรคประจำฤดูกาล? เปิด 6 ปัจจัยทำการระบาดลดลง ช่วงเวลากลับมาพีคอีก

โควิด-19 โรคประจำฤดูกาล? เปิด 6 ปัจจัยทำการระบาดลดลง ช่วงเวลากลับมาพีคอีก

10 ก.พ.2566) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิด-19" ที่เข้าสู่ช่วงขาลง เผย 6 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การระบาดลดลง พร้อมระบุช่วงเวลาที่จะกลับมาระบาดอีกครั้ง

โควิด-19 ลดน้อยลงและการให้วัคซีนประจำปี

ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า หลังจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว "โควิด-19" จะสงบและการติดเชื้อจะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน เป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะโควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว จะไประบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน

การระบาดลดลงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.ประชากรไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ และฉีดวัคซีนไปแล้ว ข้อมูลการศึกษาที่ได้พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะติดเชื้อไปแล้วร่วม 80% ผู้สูงอายุติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50% แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 หรือ 3 เข็ม และมีจำนวนมากที่ได้ 4 เข็ม

2.จะเป็นช่วงที่นักเรียนส่วนใหญ่ปิดเทอมยาว จะลดการระบาดของโรคได้มาก และจะไปเริ่มระบาดใหม่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยจะระบาดหลังจากเปิดเทอมแล้ว 2-3 สัปดาห์ คือในเดือนมิถุนายน

3.ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วและติดเชื้อ จากการติดตามพบว่า การลดลงของภูมิต้านทาน ช้ากว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว ดังนั้นในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เรียกได้ว่า ได้ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ทั้งในระดับการป้องกัน และระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายของโรค หรือลดลงของความรุนแรงได้เป็นอย่างดีมาก การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก (จากการศึกษาของเราในผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ 250 คน)

4.การติดเชื้อขณะนี้ส่วนใหญ่โรคจะไม่รุนแรง จะรุนแรงเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้น้อยกว่า 3 เข็ม และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรคไม่รุนแรง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความลังเล ในการที่จะได้รับวัคซีนในเข็มต่อไป

5.มีการให้ข่าวทางสื่อออนไลน์มากมาย ถึงอาการข้างเคียงของวัคซีนโดยเฉพาะ mRNA ทั้งที่จริงแล้ว วัคซีนเกือบทุกตัวมีอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดจากวัคซีนหรือเกิดขึ้น ต้องมีการพิสูจน์ในรายที่พิสูจน์แล้ว จึงจะใช้คำว่าเป็นอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ในการให้วัคซีนเราจะคำนึงถึงผลได้และผลเสียหรืออาการแทรกซ้อนของวัคซีน

ถ้าโรครุนแรงอย่างในระยะแรกของการระบาด โอกาสลงปอดเป็นจำนวนมาก การให้วัคซีนมีประโยชน์มาก อย่างแน่นอน ขณะนี้ความรุนแรงของโรคน้อยลง ทำให้ผู้จะรับวัคซีน คำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น เกิดความลังเลใจในการที่จะรับวัคซีน

6.ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วและติดเชื้อมาแล้ว มีร่างกายแข็งแรงดี การให้วัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ไม่น่าจะแตกต่างกัน ในประสิทธิภาพของวัคซีน อาจจะต้องเอาอาการข้างเคียงของวัคซีนมาใช้พิจารณาในการตัดสินใจ

https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1052501


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,270
Page Views2,003,188
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view