http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะ 7 วิธี ป้องกันการจมน้ำในพื้นที่น้ำท่วม

แนะ 7 วิธี ป้องกันการจมน้ำในพื้นที่น้ำท่วม

กรมควบคุมโรค แนะประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง หลีกเลี่ยงการขับรถหรือเดินฝ่าบริเวณน้ำท่วม และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมทางน้ำ เช่น ออกหาปลาช่วงน้ำไหลหลาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกกระแสน้ำพัดพาหรืออาจจมน้ำเสียชีวิตได้ เผยเกือบครึ่งหนึ่งของการจมน้ำในช่วงน้ำท่วม เดือน (ก.ย. – ต.ค. 65) เกิดจากการขับรถผ่านน้ำท่วมและออกหาปลา

                    นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฝนที่ตกสะสมและมีน้ำหลากจากทางตอนเหนือไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่า ไหลหลาก ที่น่าห่วงคือการจมน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดเมื่อเกิดน้ำท่วม ซึ่งจากการเฝ้าระวังการเสียชีวิตในช่วงน้ำท่วมของกรมควบคุมโรค และกองสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม – 9 ตุลาคม 2565 พบผู้เสียชีวิตสะสมรวม 51 ราย เสียชีวิตจากการจมน้ำ 49 ราย และอีก 2 รายมีสาเหตุจากต้นไม้ล้มทับ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้น (ร้อยละ 37.3) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 23.5) เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกือบ 4 เท่า

                    โดยผู้เสียชีวิตที่ทราบสาเหตุจำนวน 38 ราย เกือบครึ่งหนึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการขับรถผ่านน้ำท่วมและออกหาปลา (ขับรถผ่านน้ำท่วม ร้อยละ 21.1 และออกหาปลา ร้อยละ 18.4) ส่วนในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี คือ การเล่นน้ำในพื้นที่น้ำท่วม โดยชวนกันไปเล่นน้ำเป็นกลุ่ม (ร้อยละ 15.8) และในผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้องถึง (ร้อยละ 13.7) จุดเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นบริเวณถนนที่มีน้ำท่วมขังมากที่สุด (ร้อยละ 19.6) รองลงมาเป็นบ้านและบริเวณรอบบ้าน (ร้อยละ 15.7) และฝาย (ร้อยละ 15.7) จังหวัดที่พบการจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด คือ ศรีสะเกษ (จำนวน 11 ราย) รองลงมาคือ นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา (จังหวัดละ 5 ราย)

                    นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอแนะนำประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมหรือพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมฉับพลัน ขอให้ระมัดระวังและเพิ่มความปลอดภัยจากการจมน้ำ โดยเฉพาะการเดินทางและทำกิจกรรมทางน้ำ ดังนี้ 1. เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง ไม่ควรขับรถหรือเดินลุยน้ำผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วม เพราะความสูงของน้ำเพียง 15 เซนติเมตร สามารถทำให้เสียหลักและล้มได้  2. หลีกเลี่ยงหรืองดการออกหาปลา เพราะเสี่ยงต่อการถูกกระแสน้ำพัดพา หรือตกลงไปในบ่อน้ำลึกได้  3. ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้รวมกลุ่มชวนกันไปเล่นน้ำ  4. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  5. กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว  ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง  6. สวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางด้วยเรือ หรือทำกิจกรรมทางน้ำ หากไม่มีให้ใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้อย่างง่าย เช่น แกลลอนพลาสติกเปล่าปิดฝาขนาด 5 ลิตร สะพายแล่ง ติดตัวไปด้วย  และ 7. ให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร สภาพอากาศตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 

https://www.thaihealth.or.th/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0-7-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,525
Page Views2,008,677
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view