http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะผู้สูงอายุตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง ช่วยป้องกันเเละชะลอความเสื่อม

แนะผู้สูงอายุตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง ช่วยป้องกันเเละชะลอความเสื่อม

กรมการแพทย์โดยจักษุแพทย์ รพ.เมตตาฯ เผย โรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา และภาวะสายตายาวสูงอายุ  แนะควรตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง หากพบความผิดปกติในระยะแรกจะสามารถรักษาและป้องกันหรือชะลอความเสื่อมได้

                    นายแพทย์ไพโรจน์  สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่าปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอดถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก เนื่องจากถ้าตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็ว ผลการรักษามักได้ผลดี ารตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับความเสื่อม การตรวจคัดกรองดวงตาจะช่วยให้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะรุนแรงและอาจสูญเสียดวงตาไปในที่สุด

                    นายแพทย์อภิชัย  สิรกุลจิรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า โรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ คือ โรคต้อกระจก โรคต้อหิน จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา และภาวะสายตายาวสูงอายุ  นอกจากนี้ ยังมีโรคตาอีกหลายโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ระวัง ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบความผิดปกติในระยะแรกจะสามารถรักษาและป้องกันหรือชะลอความเสื่อมได้  นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพของตนเอง สวมแว่นกันแดดเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว สีเหลือง และไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

                    แพทย์หญิงมิ่งขวัญ  ลำยองเสถียร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุที่มารับการรักษาโรคตาที่โรงพยาบาลเมตตาฯ มากเป็นอันดับต้น ๆ  คือ 1.โรคต้อกระจก 2.ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา 3.โรคต้อหิน ซึ่งโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุที่พบบ่อยที่สุดและเป็นเมื่ออายุมากขึ้น คือ 1.ต้อกระจก เกิดจากความขุ่นมัวของเลนส์แก้วตาธรรมชาติ จากสาเหตุส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้แสงผ่านเข้าไปที่จอตาประสาทด้านในลูกตาได้น้อยลง  ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจตาบอดได้ วิธีการรักษา คือ การผ่าตัดเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนที่

                    2. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา สาเหตุจากโรคเบาหวานทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดฝอยส่งผลให้ขาดเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงจอตา และกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่อย่างผิดปกติที่จอประสาทตา ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นสภาพปกติได้  การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันมุ่งหวังให้โรคไม่ลุกลามไปจากระยะที่เป็นอยู่ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติรวมทั้งดูแลโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ไขมันในเลือดสูงอย่างเหมาะสมและผู้ป่วยเบาหวานทุกคนต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

                   3. ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัวเกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนมีการทำลายประสาทตา ปัจจัยเสี่ยงได้แก่  ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวที่เป็นต้อหิน อายุที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิดที่มีการใช้ยาสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่องเป็นต้น  โรคนี้มักไม่มีอาการ จะเริ่มสูญเสียลานสายตา คือการมองเห็นจำกัดวงแคบลงเรื่อยๆและสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร อาจมีต้อหินบางประเภท เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลันที่มีอาการปวดมาก ตามัวลงและตาแดง ถือเป็นภาวะเร่งด่วนมากต้องมาพบจักษุแพทย์ทันที สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องมาตรวจติดตามอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด

                   4. จุดภาพชัดจอตาเสื่อม เกิดจากภาวะเสื่อมของจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้ปกติ ปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสงรังสี UV สูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ เมื่อจอตาเสื่อมมากขึ้นจะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำตรงกลางภาพ หรือสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพโดยไม่มีอาการปวด

                    5. ภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะอ่าน หรือเขียนหนังสือ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่มองไกลได้ปกติ บางคนมีอาการตาพร่า หรือปวดตา มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความสามารถและระยะในการเพ่งปรับสายตาลดลง เลนส์แก้วตาแข็งตัวขึ้นและการทำงานของกล้ามเนื้อตาลดลง สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นสายตา   แต่ควรมาตรวจกับจักษุแพทย์ให้แน่ใจว่า ไม่มีความผิดปกติของโรคตาอื่นๆร่วมด้วย

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,656
Page Views2,008,821
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view