http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ช่วงหน้าฝน เลี่ยงกินเห็ดที่ไม่รู้จัก ป้องกันอันตรายจากเห็ดพิษ

ช่วงหน้าฝน เลี่ยงกินเห็ดที่ไม่รู้จัก ป้องกันอันตรายจากเห็ดพิษ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ย้ำกินเห็ดป่าช่วงหน้าฝน เน้นกินเห็ดที่คุ้นเคย ได้คุณค่าทางโภชนาการ หลีกเลี่ยงเก็บ ซื้อ กินเห็ดที่ไม่รู้จัก อาจมีพิษอันตรายถึงชีวิต พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

                    นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูกาลเก็บเห็ดป่า เช่น เห็ดเผาะ เห็ดโคน เห็ดระโงก เห็ดตับเต่า เห็ดไค เป็นต้น ประชาชนจึงนิยมออกไปหาเห็ดป่า มาปรุงเป็นอาหาร เพื่อลดรายจ่ายหรือนำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมในครัวเรือน เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่มีพลังงานต่ำ แต่อุดมด้วยโปรตีน ใยอาหาร โปตัสเซียม และวิตามินต่าง ๆ คุณค่าทางโภชนาการของเห็ด แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มีสรรพคุณช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบของร่างกาย เพราะมีวิตามินบีและดีสูง ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัลไซเมอร์ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง  อีกทั้งยังนำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น ยำเห็ดสามอย่าง แกงเลียงเห็ด แกงอ่อมเห็ด ต้มยำเห็ด เป็นต้น ก่อนนำเห็ดมาปรุงประกอบอาหารต้องล้างน้ำให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง ปรุงให้สุกร้อนก่อนกินทุกครั้งด้วย

                    นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ในช่วงฤดูฝนของทุกปีมักมีรายงานว่า พบชาวบ้านมีอาการแพ้ และเจ็บป่วยจากสาเหตุกินเห็ดพิษเข้าไปเป็นประจำ จึงไม่ควรเก็บเห็ดที่ขึ้นใกล้โรงงานสารเคมี หรือเห็ดที่ขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่ทำการเกษตรโดยใช้สารเคมี เนื่องจากเห็ดสามารถดูดซับสารพิษได้ดี หากเห็นเห็ดชนิดใดที่ไม่แน่ใจกินได้หรือไม่ ก็ไม่ควรเก็บมา ให้เลือกกินเฉพาะเห็ดที่รู้จักและคุ้นเคย หากไม่แน่ใจก็ไม่ควรกินจะปลอดภัยที่สุด เพราะอาจเป็นเห็ดพิษ หรือก่อให้เกิดอาการแพ้ และห้ามกินเห็ดดิบ ๆ โดยเด็ดขาด

                    “ทั้งนี้ ลักษณะเห็ดพิษที่พอสังเกตได้ คือ มีสีสัน หากกินเห็ดเข้าไปแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยให้เตรียมน้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal แล้วดื่ม 2 แก้ว ซึ่งแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อน แล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง ไม่ควรใช้ไข่ขาวดิบจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยท้องเสียเพิ่ม หรือติดเชื้อได้ จากนั้นให้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งประวัติ การกินเห็ดโดยละเอียด พร้อมนำตัวอย่างหรือภาพถ่ายเห็ดไปด้วย เพื่อรับการรักษาได้อย่างถูกวิธี” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,346
Page Views2,005,452
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view