http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs กินยาตามแพทย์สั่ง เพื่อผลดีต่อสุขภาพ

แนะผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs กินยาตามแพทย์สั่ง เพื่อผลดีต่อสุขภาพ

แพทย์แนะนำกลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์สั่ง สำหรับการสั่งยาต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยนั้น แพทย์จะพิจารณาโดยคำนึงประโยชน์และผลเสียจากยาเสมอ โดยหวังให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากยามากที่สุดและเกิดผลเสียให้น้อยที่สุด

ศาสตราจารย์ นพ.วินัย วนานุกูล ประธานอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรค "NCDs" หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็น กลุ่มของโรคประกอบด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันเลือดสูง อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด ถุงลม โป่งพองและมะเร็ง ใน 4 โรคแรกนั้นเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะนำมาสู่การเป็นโรคร้ายแรงต่อไปและเสียชีวิตได้ การรักษา ที่สำคัญในเบื้องต้นคือการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ลดความเครียดและนอนหลับ ให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แพทย์จึงต้องแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีความกังวลใจเกี่ยวกับการกินยารักษาโรคเหล่านี้เพราะได้ยินกันมาว่า "กินยานาน  ๆ แล้วจะเป็นโรคตับ โรคไต หรือ ตับไตจะเสียจากการกินยานาน  ๆ" คำพูดนี้เรามาพิจารณาดูกันว่าเป็นจริงมากน้อยเพียงใด?

ในความเป็นจริงแล้ว การที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูงและอ้วนลงพุงต่างหาก ที่หากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว ก็จะสามารถทำให้การทำงานของไตเสื่อมลง เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง หรือเกิดภาวะไขมันพอกตับและตับแข็งในระยะเวลาต่อไปได้ ในปัจจุบันยารักษาโรคทั้งสามนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์ รวมถึงภาวะอันไม่พึงประสงค์แตกต่างกัน เราจะสามารถเหมารวมว่ามีผลเสียเหมือนกันหมดหรือไม่?

ยาและสารทุกชนิดในโลกนี้สามารถก่อให้เกิดผลเสียที่เราไม่ต้องการทั้งสิ้น แต่สารแต่ละชนิดก่อให้เกิดผลเสีย หรือภาวะอันไม่พึงประสงค์ที่แตกต่างกัน และมีอุบัติการณ์ที่ต่างกันด้วย บทความนี้ได้รวบรวมการศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะอันไม่พึงประสงค์ของยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันสูงที่ใช้ในปัจจุบัน โดยจำกัดที่ผลต่อตับและไตลงในตาราง โดยได้รวบรวมการศึกษาที่เป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของยาหลังจากยาออกวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้วแล้ว (Post marketing surveillance) จึงเป็นการศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมาก และมีความน่าเชื่อถือสูง

การสั่งยาต่าง  ๆ ให้กับผู้ป่วยนั้น แพทย์จะพิจารณาโดยคำนึงประโยชน์และผลเสียจากยาเสมอ โดยหวังให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากยามากที่สุดและเกิดผลเสียให้น้อยที่สุด หลังสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วย แพทย์หรือเภสัชกรจะมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา นัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาและมีการเฝ้าระวังผลเสียหรือภาวะอันไม่พึงประสงค์ของยาที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ต่อไป ในส่วนของผู้ป่วยเองก็ควรรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกิดจากยา หรือได้รับยาหรืออาหารเสริมนอกเหนือจากที่ได้รับจากแพทย์ ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยทุกครั้ง สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา

โดยสรุป ยาแต่ละชนิดแต่ละกลุ่ม มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่ต่างกัน ไม่ควรเหมารวมไปทั้งหมด การกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันเลือดสูงนาน  ๆ มีโอกาสเกิดผลเสียต่อตับหรือไตไม่มาก แต่กลับจะได้ประโยชน์มากกว่า ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง จะทำให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุดและ มีโอกาสเกิดผลเสียจากยาน้อยที่สุดด้วย

https://www.thaihealth.or.th/Content/56347


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,385
Page Views2,003,303
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view