http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วิธีป้องกันจุดเสี่ยง ในห้องน้ำสาธารณะ

วิธีป้องกันจุดเสี่ยง ในห้องน้ำสาธารณะ

แนะวัด ศาสนสถาน และสถานประกอบการ ทุกแห่ง ล้างห้องน้ำให้สะอาดเพื่อรองรับประชาชนที่ไปใช้บริการ โดยเฉพาะจุดที่มีการสัมผัสบ่อย เพื่อลดความเสี่ยงโรคโควิด-19

          นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ของวัด ศาสนสถาน และสถานประกอบการทุกแห่ง ร่วมกันล้างห้องน้ำสาธารณะให้สะอาดเพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการ เน้นการทำความสะอาดบริเวณ ผิวสัมผัสร่วม 7 จุดเสี่ยง เพื่อเป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดี และลดความเสี่ยงโรคโควิด-19 ได้แก่

1.สายฉีดชำระ

2.ที่กดโถชักโครก

3.โถปัสสาวะ

4.ลูกบิดหรือกลอนประตู

5.ที่รองนั่งโถชักโครก

6.พื้นห้องน้ำ

7.หัวก๊อกน้ำ

          ส่วนผู้ใช้บริการ ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด และมีพฤติกรรมในการใช้ห้องน้ำอย่างถูกต้อง โดยปิดฝาโถชักโครกก่อนกดชักโครกทุกครั้ง เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค เว้นระยะห่างขณะรอใช้ห้องน้ำ 1-2 เมตร ไม่ขึ้นไปเหยียบบนโถชักโครกแบบนั่งราบ เช็ดฆ่าเชื้อก่อนนั่งลงบนโถ ไม่ทิ้งวัสดุใดๆ ลงไป และล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำ ถือเป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเอง ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังส่วนรวมด้วย นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังและป้องกันตนเองตามหลัก UP-DMHTA โดยเน้นย้ำการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง และล้างมือ เพื่อป้องกันโรค

          สำหรับพนักงานทำความสะอาด ขณะปฏิบัติงานต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง สวมถุงมือยาง และผ้ายางกันเปื้อน สวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น และหลังจากปฏิบัติงานเสร็จต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำทันที

          ทั้งนี้ กรมอนามัยได้สนับสนุนให้สถานประกอบการ วัด และศาสนสถาน ทุกแห่ง ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาห้องน้ำสาธารณะให้ได้มาตรฐานสาธารณะระดับประเทศ (HAS)

1.สะอาด (Health) ห้องส้วมดำเนินการตามหลักสุขาภิบาล สุขภัณฑ์ต้องสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น

2.เพียงพอ (Accessibility) มีห้องน้ำเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงผู้พิการ ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ และพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ

3.ปลอดภัย (Safety) ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ห้องน้ำ เช่น สถานที่ตั้งไม่เปลี่ยว แยกเพศชาย-หญิง มีแสงสว่างเพียงพอ

https://www.thaihealth.or.th/Content/56346


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,165
Page Views2,003,081
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view