http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้ปรุงและสัมผัสอาหาร ต้องสวมหน้ากากป้องกันโควิด

ผู้ปรุงและสัมผัสอาหาร ต้องสวมหน้ากากป้องกันโควิด

ในสถานประกอบการร้านอาหารต่างๆ ผู้ให้บริการใกล้ชิดแก่ลูกค้า รวมถึงพนักงานครัวที่จัดเตรียมวัตถุดิบและปรุงอาหาร ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้แม้จะมีประกาศให้สวมหน้ากากอนามัยตามความสมัครใจแบบมีเงื่อนไข โดยแนะนำให้สวมหน้ากาก เมื่อไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ อยู่ในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงกลุ่มเสี่ยง 608 ที่เสี่ยงติดเชื้อมีอาการรุนแรง ผู้ติดเชื้อและสัมผัสเสี่ยงสูง

"การออกประกาศแบบนี้เพื่อให้เป็นทางเลือก ให้การสวมหน้ากากไม่ถูกตีตรา เพื่อสร้างสมดุล 2 เรื่อง คือ ยังเตือนผู้คนที่มีความเสี่ยงให้สวมหน้ากาก และคุ้มครองสิทธิของคนอยากสวมหน้ากากไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติว่า ป่วยหรือไม่ ถ้าป่วยไม่ให้เข้าสถานที่ หรือถูกบูลลี่ว่าป่วย การออกมากลางๆ แบบนี้ จึงเป็นแบบสมัครใจและมีเงื่อนไข จะช่วยให้เปลี่ยนผ่านระยะนี้ไปได้" นพ.สุวรรณชัย กล่าว

อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในสถานประกอบการร้านอาหารต่างๆ ผู้ให้บริการใกล้ชิดแก่ลูกค้า รวมถึงพนักงานครัวที่จัดเตรียมวัตถุดิบและประกอบปรุงอาหาร ยังต้องสวมหน้ากากเพื่อป้องกันโรคด้วย

"ก่อนหน้านี้ เรากำหนดให้สวมหน้ากากด้วยเงื่อนไขของโรคโควิด-19 แต่ตอนนี้เวลาเปลี่ยนผ่าน เราจะกำหนดให้เป็นสุขอนามัยและสุขลักษณะของร้านตามปกติ ซึ่งได้เพิ่มเรื่องการสวมหน้ากากลงในข้อกำหนดและคำแนะนำเกี่ยวกับสุขลักษณะของสถานที่สะสมอาหาร หรือสถานที่ทำอาหารของกรมอนามัยแล้ว เหมือนการกำหนดให้สวมหมวกคลุมผม ผ้ากันเปื้อน และหากต้องสัมผัสอาหารโดยตรง ก็ต้องสวมถุงมือ ถ้าเราเชื่อและพยายามพาสังคมไปแบบนี้ โรคติดต่อทางเดินหายใจและโรคติดต่อทางเดินอาหารก็จะลดลง เพราะสวมหน้ากาก ล้างมือ ทำความสะอาด เช็ดโต๊ะกันมากขึ้น เราพยายามยกระดับเพื่อให้สุขภาพดี การบริการนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ" นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อผ่อนคลายมาตรการต่างๆ อาจจะทำให้กลับไปมีพฤติกรรมตามเดิม จะคงการรักษาสุขอนามัยของร้านอาหารต่างๆ ต่อไปอย่างไร นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า คงดำเนินการ 2 ทาง คือ 1.เมื่อยกระดับถึงจุดหนึ่งเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา ขณะเข็นมักหมดแรงเราต้องหาไม้หมอนมาหนุน ไม้หมอนสำคัญคือมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาเป็นตัวนำ และ 2.มาตรการที่เป็นการส่งเสริมให้คนที่ทำดี ได้รับการยอมรับ

"สองส่วนนี้สำคัญที่จะดำเนินการ หากไปดูต่างประเทศเวลาร้านอาหารเจอหนูตัวหนึ่งเขาสั่งปิดไว้ก่อนแล้วให้ร้านยืนยันรับรอง (Declare) แต่บ้านเราเจอหนู วันรุ่งขึ้นเปิดเลย ก็มีข้อสงสัยว่า ตกลงหยิบหนูออกแล้วทุกอย่างเหมือนเดิมหรือไม่ แต่เมืองนอกต้องคลีนทั้งหมดแล้ว Declare ตอนนี้เชื่อว่าช่วงผ่านสถานการณ์โควิด-19 คนและผู้ประกอบการเริ่มคุ้น แต่อย่าย้อนกลับไป คือ จะต้องมีกฎหมายมาค้ำ ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานไว้ และอีกส่วนคือ พลังของผู้บริโภคที่จะบอกว่าร้านไหนสะอาดหรือไม่สะอาด ร้านไหนสะอาดก็ต้องอุดหนุน ร้านไหนไม่สะอวดก็ให้คำชี้แนะ ถ้าร้านไหนมีปัญหา ผู้บริโภคไม่ไปอุดหนุน ร้านก็ปรับโดยอัตโนมัติ แต่ที่ผ่านมาเราเจอปัญหาเราเลือกแต่อร่อย แต่ไม่สะอาด หากสังเกตหลายร้านไม่สะอาด แต่บางทีอร่อย ซึ่งไม่รู้อร่อยจากอะไรก็ตาม แต่เรายังไปอุดหนุน ผู้ประกอบการก็จะรู้สึกว่าปัจจัยสะอาดไม่มีความจำเป็น แต่เราต้องทำให้อร่อยควบคู่กับสะอาดก็จะขับเคลื่อนไปได้" นพ.สุวรรณชัย กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/56293


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,307
Page Views2,005,413
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view