http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โควิด! โรคประจำถิ่น ตื่นตัวอย่าประมาท

โควิด! โรคประจำถิ่น ตื่นตัวอย่าประมาท

“...จะไม่เกิดวิกฤติสูญเสียสาหัส หากวงการเมืองสุจริตวงบริหารจัดการนโยบายซื่อสัตย์ และวงวิชาการมีจริยธรรม...” ยังเป็นคำ
กล่าวย้ำมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทุกๆวันคุณหมอ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ยังคงโพสต์ข้อมูลอัปเดตความรู้ต่างๆเกี่ยวกับไวรัสร้าย “โควิด-19” ในเฟซบุ๊กส่วนตัว
“Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)” อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอราวกับเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ไม่ไหวติงต่อลมฟ้าอากาศ แถมหยัดยืนเพื่อให้
กิ่งก้านร่มใบแผ่ร่มเงาให้ความร่มรื่น ฉ่ำเย็น เป็นประโยชน์ต่อโลก

เปิดบันทึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา...ผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 525 ล้านคนไปแล้ว

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 739,960 คน ตายเพิ่ม 1,453 คนรวมแล้วติดไปรวม 525,478,553 คน เสียชีวิตรวม 6,296,519 คน
5อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน เยอรมนี ออสเตรเลีย สหรัฐฯ
จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก...จำนวน
ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 80.17 ของทั้งโลก ในขณะที่
จำนวนการเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 71.64
การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้น คิดเป็นร้อยละ 60.01 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่ม คิดเป็นร้อยละ 17.27
สำหรับสถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometerเช้านี้ พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็น
อันดับ10ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวานสูงเป็นอันดับ 13 ของโลกถึงแม้สาธารณสุขไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา
จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวาน คิดเป็น 16.73% ของการเสียชีวิตทั้งหมด
ที่รายงานของทวีปเอเชีย
อัปเดต “โอมิครอน ทีมวิจัยจาก Beth Israel Deaconess Medical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการศึกษา
ลักษณะของโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่ BA.1, BA.2, BA.2.12.1, BA.4 และ BA.5 เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ไวรัสดั้งเดิม...
ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า

สายพันธุ์ “โอมิครอน” นั้นดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

นอกจากนี้สายพันธุ์ย่อยที่เกิดขึ้นใหม่อย่าง BA.2.12.1, BA.4, BA.5 นั้น สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นกว่าสายพันธุ์
เดิมๆ อย่าง BA.1 และ BA.2

อัปเดต “ลองโควิด (Long COVID)” อาการลองโควิดที่พบบ่อยคือ การหายใจที่ผิดปกติ อาการไอ ครั่นเนื้อครั่นตัว และเหนื่อยล้า
...อ่อนเพลีย โดยมีอาการผิดปกติที่พบมากจำเพาะตามช่วงอายุ เช่น MIS-C (ภาวะอักเสบหลายอวัยวะในร่างกาย) ในเด็กเล็กอายุ
0-12 ปี, ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติในคนอายุ 13-22 ปี
ภาวะเครียดและวิตกกังวลในคนอายุ 23–35 ปี และภาวะความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ยังพบอีกว่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนติดเชื้อโควิด-19 ประชากรกลุ่มที่ศึกษานี้พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ
(myopathies) เพิ่มขึ้น 11.1 เท่า, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดเพิ่มขึ้น 2.6 เท่า อาการผิดปกติทางสมอง...ระบบประสาท และ...
อาการเหนื่อยล้า...อ่อนเพลีย มากขึ้น 2 เท่า

ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ เพราะ “ลองโควิด” เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย
ทุกกลุ่มอาการทั้งไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรงก็ตาม

“โควิด...ไม่จบแค่หายหรือเสียชีวิต แต่ที่จะเป็นปัญหาระยะยาวคือ ลองโควิด ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตและ
การทำงาน โดยจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ...ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก”

รศ.นพ.ธีระ ย้ำว่า สถานที่ทำงานที่สามารถจัดระบบงาน ลดความแออัด และให้เวิร์กฟรอมโฮมได้นั้น ควรทำต่อเนื่องไปในอนาคต
ก็จะเป็นการดี...หลายงานหลายกิจกรรมไม่จำเป็นต้องไปออนไซต์ และการ WFH กลับทำให้ผลผลิต (productivity) มากกว่าเดิม
ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร วัดประเมินกันที่ผลลัพธ์

น่าสนใจว่า...หลายประเทศทั่วโลกก็ดำเนินตามแนวโน้มข้างต้น

ประเด็น “Endemic diseases”...หรือ “โรคประจำถิ่น

“การประกาศให้โรคใดโรคหนึ่งเป็นโรคที่พบได้ประจำในท้องถิ่นนั้น สิ่งที่ต้องบรรลุก่อนคือ การรู้จักธรรมชาติของมันว่าระบาดอย่างไร
สามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรคนั้นได้”

แต่สำหรับ “โควิด-19 นั้น ตราบจนถึงปัจจุบันยังคาดการณ์ได้ยากว่าตัวเชื้อไวรัสนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอ่อนแอลงหรือ
แข็งกร้าวมากขึ้น แม้ในประเทศตะวันตก พอจะสังเกตเห็นได้จากสองปีที่ผ่านมาว่าจะระบาดหนักในช่วงหน้าหนาว แต่ก็ยังฟันธง
ไม่ได้แน่นอนนัก

นอกจากปัจจัยข้างต้นยังต้องประเมินดูสถานะที่แท้จริงของประเทศว่า ตัวเลขที่เห็นจากรายงานทางการทุกวันนั้น มันสะท้อนสถานการณ์
จริงที่เกิดขึ้นในสังคมจริงหรือไม่?

เพราะหากเป็นภาพจริง ก็ย่อมทำให้ประเมินสถานะตนเองได้ดีว่า การระบาดนั้นเอาอยู่ ทรัพยากรเพียงพอและสูญเสียน้อย จนควบคุมโรค
อยู่หมัดได้จริง

แต่...หากเป็นภาพที่ไม่ตรงกับความจริง ตัวเลขติดเชื้อน้อย ทั้งที่จริงแล้ว คนตรวจด้วยตนเองแต่ไม่รายงาน หรือไม่ตรวจแม้จะมีอาการ
ไม่สบายเพราะรู้ว่า รายงานเข้าระบบไปก็ไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

...วิ่งหาหยูกยาหรือรักษาตนเองดูจะสะดวกกว่า หรือไม่รายงาน เพราะรู้ว่าหากเลเบลตนเองว่าติดเชื้อจะต้องหยุดงาน ไม่มีกลไกสนับ
สนุนช่วยเหลือเยียวยาอย่างเพียงพอ

หรือหากตัวเลขตายลดลงสวยงาม แต่โดยแท้จริงแล้วไม่สะท้อนสถานการณ์จริงที่มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ตาย โดยพบว่า ติดเชื้อแต่
มีโรคอื่นประจำตัว ไม่รวมไว้ในรายงานสถานการณ์ให้สังคมได้ทราบ ก็ย่อมส่งผลต่อการประเมินสถานการณ์ และการรับรู้ความเสี่ยง
ที่บิดเบือนไป จนอาจเกิดผลต่อพฤติกรรมป้องกันตัว

นับรวมไปถึงการวางแผนนโยบายและมาตรการต่างๆ รวมถึงการผลักดันให้เป็น “โรคประจำถิ่น” ได้เช่นกัน...ที่สำคัญมากคือ การ
ประเมินระบบสุขภาพของตนเองว่า จริงๆแล้วหยูกยาที่มีใช้นั้นเป็นไปตามหลักฐานทางการแพทย์มาตรฐานสากล มีปริมาณเพียงพอ
เข้าถึงได้สะดวกหรือไม่

รวมถึงวัคซีนป้องกันและสัดส่วนประชากรทุกช่วงวัยที่ได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนที่ดี มีมาตรฐานสากลอย่างเพียงพอ ทุกเรื่อง
ข้างต้นล้วนมีความสำคัญในการกำหนดย่างก้าวของแต่ละประเทศท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังไม่ได้สิ้นสุด

หลายเรื่องในสังคมนั้นเปรียบเหมือนการขึ้นรถไฟที่ไม่หวนกลับ เช่น การปลดล็อกกัญชา ซึ่งเริ่มเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว การตัด
สินใจเรื่องโรคโควิด-19 ก็เช่นกัน ธรรมดา...เอาอยู่...เพียงพอ...ประจำถิ่นรวดเร็วดังสายฟ้าแลบ ผลลัพธ์ที่ผ่านมาประชาชนในแต่ละ
ประเทศย่อมทราบดีว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่
มันใช่จริงหรือ? สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนทุกคนในสังคม เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด.

https://www.thairath.co.th/news/local/2400642


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,301
Page Views2,005,407
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view