http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะทิ้งชุดตรวจ ATK ถูกวิธี ลดแพร่ระบาด

แนะทิ้งชุดตรวจ ATK ถูกวิธี ลดแพร่ระบาด

ชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen Test Kit (ATK) ก่อให้เกิดขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น และนำไปสู่ความเสี่ยงในการแพร่กระจายโควดิ-19 ได้ ดังนั้น การทิ้งชุดตรวจ ATK ให้ถูกวิธีและปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินต่อไปนั้น นอกจากส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (Single use plastic) มีปริมาณเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นเดียวกัน

โดยขยะติดเชื้อส่วนหนึ่งที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมานั้นเป็นขยะติดเชื้อจากการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และการเฝ้าระวังการติดเชื้อของประชาชนโดยทั่วไป รวมไปถึงจากผู้ป่วยที่มีการแยกกักตัวที่บ้านผ่านระบบติดตามดูแลอาการหรือ โฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation) ซึ่งนอกจากเรื่องปริมาณที่เพิ่มขึ้นเแล้วยังพบว่าปัญหาสำคัญของขยะติดเชื้อคือการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไม่ถูกต้อง และทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไป ทั้งนี้หากไม่มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องก็จะส่งผลให้ขยะประเภทอื่นๆ เป็นขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นและนำไปสู่ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อที่มากขึ้นตามไปด้วย

และจากการที่ประชาชนต้องใช้ชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen Test Kit ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ATK ด้วยตนเองอยู่เป็นประจำจึงเป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดขยะติดเชื้อที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อลดความสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และลดการตกค้างของขยะติดเชื้อในพื้นที่ต่างๆ การทิ้งชุดตรวจ ATK ที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้

คัดแยกชุดตรวจ ATK ออกเป็น 2 ส่วน 1.ส่วนที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ คู่มือ/เอกสารกำกับชุดทดสอบ ทิ้งเป็นขยะรีไซเคิล และซองพลาสติกใส่ตลับทดสอบ ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก ทิ้งเป็นขยะทั่วไป 2.ส่วนที่สัมผัสกับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งในจมูก ได้แก่ ตลับทดสอบ หลอดดูดน้ำลาย ไม้ Swab (ไม้แหย่จมูก) ไม้กวาดลิ้น/ช่องปาก หลอดใส่น้ำยา ทิ้งเป็นขยะติดชื้อโดยบรรจุลงในซองพลาสติกซิปล็อกที่ให้มาหรือถุงพลาสติก และฉีดพ่นฆ่าเชื้อหรือราดด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70% เพื่อทำลายเชื้อก่อนปิดถุงให้สนิท จากนั้นซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกให้แน่น ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบริเวณปากถุง อีกครั้ง

และก่อนนำไปทิ้งต้องเขียนบนถุงว่า "ขยะติดเชื้อ" ทิ้งให้ถูกที่โดยแยกทิ้งในถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อ และหากพื้นที่ใดไม่มีถังขยะติดเชื้อ ต้องนำแยกใส่ถุงและเขียนกำกับให้เห็นชัดเจนว่าขยะติดเชื้อŽ และแยกทิ้งจากถังขยะทั่วไป โดยต้องทิ้งให้รถเก็บขนขยะของสำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นำไปกำจัด โดยหลังจัดการขยะติดเชื้อแล้วต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

ในสถานการณ์การการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะยุติการระบาดลงเมื่อใดนั้น จึงเป็นความน่ากังวลอย่างยิ่งต่อปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มปริมาณขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เราเองก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการลดขยะติดเชื้อตั้งแต่ต้นทางตามวิธีที่กล่าวมาข้างต้น

https://www.thaihealth.or.th/Content/56060


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,642
Page Views2,008,806
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view