http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย่าซื้อ !! สบู่กำจัดติ่งเนื้อหลุดถาวร ไม่ได้ผล

อย่าซื้อ !! สบู่กำจัดติ่งเนื้อหลุดถาวร ไม่ได้ผล

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
อย่าซื้อ !! สบู่กำจัดติ่งเนื้อหลุดถาวร ไม่ได้ผล
อย่าซื้อ !! หรือหลงเชื่อการโฆษณาสบู่ ที่อ้างว่าสามารถกำจัดติ่งเนื้อได้ ไม่เป็นความจริงแนะหากต้องการกำจัดติ่งเนื้อแบบถาวร ควรปรึกษาแพทย์

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีพบการโฆษณาขายสบู่กำจัดติ่งเนื้อ ติ่งเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่ หลุดถาวร ทางออนไลน์นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า “ติ่งเนื้อ” มีลักษณะเป็นตุ่มที่ยื่นออกมา นิ่มๆ เป็นเนื้อเยื่อ และมีเส้นเลือดเล็กๆ พบได้ในบริเวณที่ผิวหนังมีการเสียดสีต่อเนื่อง เช่น รอบคอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ หรือใบหน้าพบมากในผู้มีอายุ 30-50 ปี ขึ้นไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือการดำรงชีวิต ยกเว้นพบว่ามี ขนาดเกิน 5 มิลลิเมตร หรือโตเร็วผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา หรือเป็นเนื้องอกที่มีอันตราย การลดความเสี่ยงที่เกิดจากติ่งเนื้อทำได้ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายและเลือกเครื่องประดับที่เหมาะสม เพื่อลดการเสียดสีสำหรับในบางรายที่ต้องการกำจัดติ่งเนื้อ เพื่อความสวยงาม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งรับคำแนะนำการดูแลแผลให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 
 
ทั้งนี้ อย. แนะผู้บริโภคอย่าซื้อหรือหลงเชื่อการโฆษณาสบู่ ที่อ้างว่าสามารถกำจัดติ่งเนื้อได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะสบู่จัดเป็นเครื่องสำอางที่ใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกายใช้ร่วมกับน้ำสะอาดเพื่อชะล้างเหงื่อไคล ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกในชีวิตประจำวันไม่สามารถกำจัดติ่งเนื้อได้
รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวว่า ผู้โฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ข้อความที่เป็นเท็จเกินความจริงหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การโฆษณาเครื่องสำอางไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตก่อนเผยแพร่  ดังนั้น อย. จึงมีแนวทางที่ถูกต้องในการโฆษณาเครื่องสำอาง ตามคู่มือแนวทางการโฆษณา เผยแพร่ไว้ที่ https://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/SitePages/Advertise.aspx  
******************************************************
วันที่เผยแพร่ข่าว  30 มีนาคม 2565  ข่าวแจก 99 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,477
Page Views2,005,585
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view