http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

แนะปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดได้จากการรับประทานอาหารรสหวานมันเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งเราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เข้าสู่เดือนแห่งความรัก ไม่เพียงแต่การดูแลความรักของตนเองแล้ว การดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองและคนข้างๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการดูแลหัวใจให้แข็งแรง เพราะหัวใจเป็นอวัยวะในทรวงอก อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากการทำงานของหัวใจผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกายได้

สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว หรือที่เรียกว่า Heart Failure คือ ภาวะที่หัวใจอ่อนแรงไม่สามารถสูบฉีดเลือดไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างปกติ เนื่องจากหัวใจมีการบีบตัวหรือคลายตัวที่ผิดปกติ บางครั้งหัวใจมีขนาดโตหรือหนากว่าปกติ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดได้จากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการหรือบกพร่อง โรคกล้ามนื้อหัวใจอักเสบและการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สาเหตุอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง จากสารพิษต่างๆ เช่น การดื่มสุรา หรือยาเสพติด พันธุกรรม โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

นอกจากนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบมากยิ่งขึ้น เกิดได้จากการรับประทานอาหารรสเค็ม หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง การดื่มน้ำมากเกินไป (มากกว่าที่ปัสสาวะออกจากร่างกาย) การรับประทานยาที่ไม่สม่ำเสมอ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การรับประทานยากลุ่ม NSAIDS และภาวะอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ การติดเชื้อในร่างกาย ภาวะซีดหรือเลือดจาง

ทางด้านนายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก เผยว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย หรือหอบ นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนเพิ่มหรือนั่งหลับ สะดุ้งตื่นมาตอนกลางคืน เพราะอึดอัดหายใจลำบาก บวมที่ข้อเท้าและหน้าแข้ง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 2 กิโลกรัม ใน 2 วัน, อ่อนเพลีย, ไม่มีแรง, คลื่นไส้, อาเจียน, เบื่ออาหาร และท้องอืด

ดังนั้นผู้ป่วยควรดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบมากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ดังนี้ ชั่งน้ำหนักทุกวัน ก่อนทานอาหารเช้าทุกวัน หรือภายหลังเข้าห้องน้ำขับถ่ายแล้วในช่วงเช้า และจดบันทึกน้ำหนักเพื่อช่วยประเมินตนเอง ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ตามแผนการรักษาของแพทย์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม จำกัดปริมาณโซเดียมที่รับประทานต่อวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างพอดี

โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินทางราบ หากหอบเหนื่อยควรหยุดพักทันที งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะสารพิษในบุหรี่จะส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การบีบตัวของหัวใจลดลง รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำของแพทย์ มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง รวมทั้งควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีในกรณีไม่มีข้อห้าม และที่สำคัญผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีป้องกันความรุนแรงของโรค และนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

https://www.thaihealth.or.th/Content/55879


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,520
Page Views2,008,672
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view