http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้สูงวัยกับภัยจากโซเชียลมีเดีย

ผู้สูงวัยกับภัยจากโซเชียลมีเดีย

ผู้สูงวัยที่มีพฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดียอาจจะโดยเริ่มจากลูกหลานสอนให้เล่น หรือเล่นเองตามกระแส ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ผู้สูงวัยนิยมใช้มากที่สุดคือ Line รองลงมาคือ Facebook และ YouTube ตามลำดับ ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงวัยใช้โซเชียลมีเดียก็เพื่อติดต่อสื่อสารกับคนอยู่ห่างไกล ทำให้ได้พบเจอเพื่อนเก่าแล้วสร้างกลุ่มขึ้นมา ชวนกันต่อมาเป็นทอดๆ จนเกิดเป็นชุมชนใหญ่ที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มเพื่อนประถม กลุ่มเพื่อนมัธยมและกลุ่มเพื่อนมหาวิทยาลัย 
    ในทางกลับกันบางครั้งก็ต้องเสียเพื่อนที่รู้จักกันมานานด้วยเหตุแห่งการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในกลุ่ม จนบางคนต้องออกจากกลุ่มไปหรือไม่ก็ร้ายแรงถึงขนาดต้องถูกเตะออกจากกลุ่ม หรือแม้กระทั่งการ block หรือ unfriend จนโกรธกันไปเลยก็มี หรือไม่เช่นนั้นก็ถูก “ทัวร์ลง” กรณีโพสต์แบบเปิดสาธารณะได้

1.ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียต่อผู้สูงวัย

1.1 รับรู้สถานการณ์และข่าวสาร ทำให้เป็นคนทันสมัย ไวต่อเหตุการณ์ต่างๆ เพราะข่าวสามารถแพร่กระจายและถูกส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สูงวัยรู้ความเป็นไปในสังคมของตัวเอง ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงในระดับประเทศและระดับโลก

1.2 เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น จากเดิมที่เราจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ สักอย่างจะต้องใช้เวลาเดินทางไปเรียน ไปเข้าหลักสูตรอบรม หรือสัมมนาไกลๆ ซึ่งบางคนไม่สะดวกทั้งเรื่องเวลา การเดินทาง สุขภาพและเรื่องเงิน แต่ด้วยโซเชียลมีเดียสามารถทำให้เข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้โดยง่าย เพียงแค่เปิดดูคลิป ก็สามารถทำตามได้เองที่บ้าน

ด้วยสิ่งใหม่นี้ทำให้ผู้สูงวัยไม่เบื่อ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีกิจกรรมใหม่ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งใคร ใช้เวลาว่างไปกับกิจกรรมที่เพิ่งเรียนรู้ได้เอง และบางคนอาจค้นพบตัวตนที่ตามหามานานเลยก็ได้

1.3 ไม่เหงา ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนๆ ง่ายขึ้น แทนที่จะต้องรอคอยการกลับบ้านของลูกหลานที่อยู่ห่างไกลในวันสำคัญหรือวันหยุด ซึ่งนอกเหนือจากวันเหล่านั้นอาจทำให้รู้สึกเหงา เบื่อ จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หรือทุกข์ใจได้

แต่เมื่อมีโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือก็ทำให้ผู้สูงวัยสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกหลานได้โดยง่าย ได้รู้ความเป็นไปของกันและกัน และยิ่งกว่านั้นหากผู้สูงวัยคุยแบบวีดิโอได้ ก็ยิ่งทำให้เหมือนได้อยู่ใกล้กับลูกหลานกันเลยทีเดียว

นอกจากนั้น โลกโซเชียลมีเดียยังทำให้ ผู้สูงวัยไม่เหงา สามารถพูดคุยกันได้มากขึ้นในกลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกัน เช่น สนใจในเรื่องของสุขภาพ การวิ่ง หรือเพื่อนเก่าๆ เมื่อต่างคนต่างมีครอบครัว และภาระหน้าที่ของตัวเอง แต่ด้วยโซเชียลมีเดียก็ทำให้มีการจัดตั้งกลุ่ม รวมตัวคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน ซึ่งทำให้ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้

1.4 ลดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ผู้สูงวัยจะต้องรับมือกับปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น เช่น สมองเสื่อม หลงลืม หรือซึมเศร้า แต่จากการใช้โซเชียลมีเดียจะเป็นการกระตุ้นการใช้สมอง ช่วยฝึกความจำ และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้เป็นอย่างดี

จึงกล่าวได้ว่าเพราะโซเชียลมีเดียนี่เอง ที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี เพราะเทคโนโลยีที่ผ่านโซเชียลมีเดียจะช่วยให้ได้พักผ่อนสมอง และคลายความเครียดจากภาวะที่ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว ทำให้ไม่คิดฟุ้งซ่าน เช่น การดูหนัง ฟังเพลง อ่านเรื่องราวต่างๆ ข่าวสารทางสุขภาพ นิยายหรือวรรณกรรม เรียนภาษาต่างประเทศ ฯลฯ ก็ทำให้มีความสุขมากขึ้น

2.โทษของโซเชียลมีเดียต่อผู้สูงวัย

2.1 เสียสุขภาพ การจ้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานๆ ทำให้สายตาพร่ามัว ทำลายจอประสาทตา ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ปวดต้นคอ ปวดหลัง การใช้โซเชียลมีเดียก่อนเข้านอน ทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากมีการกระตุ้นระบบประสาทมากเกินไป จนอาจนำมาซึ่งโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ที่สำคัญคือทำให้ขาดการออกกำลังกาย

2.2 ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด เราสามารถพูดคุย เห็นหน้า ส่งความรักให้กันในโซเชียลมีเดียได้ก็จริงอยู่ แต่ความสุขที่แท้จริงนั้นคือการอยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัว ดังนั้น ผู้สูงวัยควรแบ่งเวลาในการเล่นโซเชียลมีเดียมาทำกิจกรรมกับลูกหลานให้พอเหมาะ ไม่อย่างนั้นก็อาจเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในโลกแห่งความเป็นจริงได้

2.3 เสียเวลา การเล่นโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนทำให้เราหมดเวลากับมันโดยไม่รู้ตัวนั้นอันตรายยิ่ง เพราะเมื่อเราเสพติดโซเชียลมีเดียจะทำให้เราเสียเวลาในการทำกิจกรรมที่ดีอื่นๆ โดยไม่จำเป็น

2.4 อาจถูกหลอก ในโซเชียลมีเดียมีข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมายทุกวัน ซึ่งมีทั้งภาพตัดต่อ การนำคำพูดคนนั้นมาใส่คนนี้ การปลุกปั่นต่างๆ ทั้งทางการเมือง เชื้อชาติ และศาสนา 

เมื่อผู้สูงวัยเห็นข่าวอะไรที่น่าสนใจ จะเชื่อฝังหัวสนิทใจว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง (ดื้อ) การแชร์ของผู้สูงวัยจึงมักจะขาดการไตร่ตรอง แม้จะเป็นข่าวปลอมแค่ไหน ถ้ามันสะเทือนใจหรือมีความรู้สึกร่วม (in หรือ touch เกินเหตุ) ก็จะถูกแชร์ต่อไปอย่างรวดเร็วทันที (จะภูมิใจมากถ้าได้แชร์เป็นคนแรก) ซึ่งการเสพข่าวที่ไม่จริงนี้อาจทำให้เกิดความกังวลและตื่นตระหนกได้

นอกจากนั้นผู้สูงวัยเองก็มักจะถูกหลอกเอาง่ายๆ เช่น การหลอกให้โอนเงินช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย หรือการยกเอาบุคคลที่ดูน่าเชื่อถือมาอ้างอิง ให้เกิดน้ำหนักเพื่อหลอกขายสินค้า อีกทั้งผู้สูงวัยบางคนชอบการซื้อของออนไลน์เหมือนกับเด็กได้ของเล่นใหม่ เมื่อเห็นของถูกที่ไหนต้องรีบโอนเงินซื้อทันที มีผู้สูงวัยบางคนที่สั่งของออนไลน์จนเงินหมดตัว กลายเป็นภาระของลูกหลาน

โซเชียลมีเดียมีทั้งคุณทั้งโทษ อยู่ที่เราจะเลือกเอามาใช้ เลือกผิดนอกจากจะเสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพ หรือเสียเพื่อนแล้ว หากพลาดพลั้งไปโพสต์หรือไปแชร์ต่อโดยเข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็อาจจะต้องไปลำบากตอนแก่ได้

https://www.bangkokbiznews.com/columnist/973765


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,346
Page Views2,003,264
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view