http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

7 วิธี ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกขโมยเงินในธนาคาร

ไม่อยากตกเป็นเหยื่อเสียเงินให้โจรต้องอ่าน!  ยิ่งยุคนี้เศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองหายาก กว่าจะได้มาแต่ละบาทต้องเหนื่อยกายใช้น้ำพักน้ำแรงทำมาหากิน แต่จู่ๆ มิจฉาชีพที่ไหนก็ไม่รู้มาฉกเงินในกระเป๋าเราไปเสียดื้อๆ เจ็บใจยังไม่พอ ยังสร้างความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ระยะหลังๆ มานี้ มิจฉาชีพมาแบบแยบยลกว่าเดิม หลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ บ้าง หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือบ้าง  มีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่น้อย และอย่าคิดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะเป็นแค่กลุ่มผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมากพอ หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงนั้น คนที่มีความรู้เรื่องไอทีอย่างดี คนหนุ่มคนสาว ที่มีหน้าที่การงานดีๆ  ก็ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้วเพียงเพราะความประมาท ขาดสติ  มาเสริมเกราะความรู้เพื่อเท่าทันกลโกงของโจรออนไลน์ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเสียทั้งเงิน เจ็บทั้งใจ เรามี 7 วิธีสร้างเกราะป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์มาฝากกัน

1. ตั้งสติ

ระวัง ช่างสังเกต อย่าให้ข้อมูลกับใครง่ายๆ ไม่ว่าข้อความนั้นจะส่งมาจากใคร ผ่านช่องทางใดก็ตาม เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพมาแบบแนบเนียนมากสามารถส่ง SMS มาในชื่อของแบงก์ องค์กรที่น่าเชื่อถือหรือเบอร์โทรที่เราคุ้นเคยได้ อย่ารีบร้อนและไม่ทำธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะอาจทำให้เผลอและขาดความระมัดระวังได้ 

2.อย่าให้หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวในทันที

เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ ขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขที่บัตรเครดิต/เดบิต วันเดือนปีเกิด Login Name รหัสผ่านต่างๆ หรือ OTP ใดๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล, SMS, LINE, Facebook Messenger เป็นต้น หากไม่แน่ใจโทรถาม call center ของธนาคารที่หมายเลข 02-777-7777

3. สังเกตลิงก์ที่แนบมากับข้อความเสมอ

ว่าลิงก์นั้นเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่ โดยเว็บไซต์ของธนาคารจะขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น และมีสัญลักษณ์รูปกุญแจอยู่ด้านหน้าชื่อ รวมทั้งต้องตรวจสอบชื่อ URL ว่าถูกต้องหรือไม่  เช่น  URL Official Website ของ SCB คือ https://www.scb.co.th

4.ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ

ในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ เพราะมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเจาะเอาข้อมูลสำคัญเช่น Username, Password  ในการเข้าไปขโมยเงินในบัญชีของเราได้

5.จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน

เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงินจำนวนมาก โดยลูกค้าสามารถเปลี่ยนวงเงินเบิกถอนต่อวันได้เองผ่าน SCB Easy App

6. หากเผลอให้ข้อมูลไปแล้ว รีบเปลี่ยนรหัส

ในการทำธุรกรรมต่างๆ ทันที แล้วรีบติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัญชีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

7  แชร์ความรู้ต่อ

ให้คนในครอบครัว เพื่อนและคนรอบตัว ให้รู้เท่าทันกลโกงจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอีกต่อไป

ตั้งสติ ระวัง ช่างสังเกต ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์พร้อมๆ กับทำกิจกรรมอย่างอื่นจะได้ไม่เผลอยื่นกุญแจให้โจร พบสิ่งผิดสังเกตหรือไม่แน่ใจโทรสอบถาม Call Center ของธนาคาร

https://www.bangkokbanksme.com/en/buy-sell-online-scams-consumers-victim

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 20/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,590
Page Views2,005,723
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view