http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จักกลโกงซื้อ - ขายออนไลน์ยอดฮิต สะกิดผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อ

รู้จักกลโกงซื้อ - ขายออนไลน์ยอดฮิต สะกิดผู้บริโภคไม่ตกเป็นเหยื่อ

จากกรณีการเกิดเป็นกระแสร้อนแรงบนโลกออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็น ‘การโดนโกงจากการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์’ ซึ่งบางกรณีพบว่ามีผู้เสียหายจำนวนมากนั้น เพื่อการไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเหล่านี้ Bangkok Bank SME จึงขอนำกลโกงเจ้าประจำที่ถูกใช้บ่อยๆ มาให้ได้ทราบ เพื่อให้คุณรู้ทันไม่ตกเป็นเหยื่อ

1. หลอกโอนเงิน ไม่มีสินค้าส่งจริง

จากสถิติร้องเรียนมายังรับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212) พบว่า ปัญหาการสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้ามาเป็นอันดับ 1 ถึง 45% ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรตั้งข้อสังเกตในเรื่องการตั้งราคาที่ถูกเกินจริง เช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายจากเว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/ ว่าอยู่ในบัญชีดำคนโกงหรือไม่ รวมถึงลองนำชื่อร้านไปค้นหาบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada)

2. สินค้าไม่ตรงปก

จริงอยู่ว่าอาจมีขาช้อปหลายคนอ่านรายละเอียดก่อนสั่งซื้อสินค้าไม่ครบถ้วน แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่อ่านรายละเอียดทั้งรูปภาพและข้อความดีแล้ว แต่สินค้าที่ส่งมากลับไม่ตรงปก ผิดสี ผิดขนาด ไม่ได้อย่างที่ตกลงกัน รวมถึงติดต่อร้านเพื่อแจ้งเปลี่ยนก็ทำไม่ได้ ซึ่งปัญหานี้มีการร้องเรียนถึง 29% ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับสินค้า แนะนำให้ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับร้องเรียนได้

3. ซื้อแบรนด์เนมแท้ แต่ได้ของปลอม

แม้จะชอบอุดหนุนสินค้าแบรนด์เนม ก็อาจพลาดโดนผู้ค้าหัวใสบนโลกออนไลน์ได้ โดยมักจะโพสต์รูปสินค้าแบรนด์เนมแท้ขายบนช่องทางออนไลน์ หลอกลูกค้าว่าได้ของแท้ แต่สุดท้ายกลับได้สินค้าผิดกฎหมายหรือสินค้าปลอม ดังนั้นแนะนำให้พิจารณาข้อมูลร้านค้าอย่างถี่ถ้วน ตรวจสอบรหัสสินค้า ใบรับประกันสินค้า ตรวจสอบบัญชีธนาคารก่อนโอน หรือติดต่อซื้อขายที่ร้านค้าทางการ (Official) จะดีกว่า

4. นักรับหิ้วของเชิดเงิน

การรับหิ้วของ หรือการมองหาคนมารับหิ้ว โดยยอมเสียเงินจ้างเพิ่มเล็กน้อยทดแทนการเสียค่ารถออกจากบ้านและความเสี่ยงเข้าไปในย่านชุมชนในยุคโควิด 19 เป็นเรื่องที่ควรระวัง เพราะจะเชื่อใจผู้มาสวมบทรับหิ้วได้อย่างไร ตรวจสอบประวัติให้ดี เลี่ยงการจ้างวานผู้ที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวมารับหิ้วให้ หรือสั่งจากร้านโดยตรงจะดีกว่า 

5. หลอกเซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย

บางครั้งเหล่ามิจฉาชีพก็มากันเป็นทีม และใช้ความฮิตเรื่องการซื้อของออนไลน์ที่กลายเป็นวิถีปกติของคนยุคโควิด 19 มาลวงเหยื่อถึงหน้าบ้าน ล่าสุดทางไปรษณีย์ไทยออกจดหมายแจ้งเตือน ระวังมิจฉาชีพหลอกเป็นผู้คนส่งของ แล้วให้เซ็นรับพัสดุที่อาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมจัดฉากเป็นตำรวจปลอมเข้าตรวจ ดังนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ แนะนำให้ตั้งสติ แล้วตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้สั่งของ และห้ามรับสิ่งของที่ไม่ได้สั่งเด็ดขาด

6. ได้รับของชำรุด-เสียหาย

การซื้อสินค้าออนไลน์อาจถือเป็นความเสี่ยง หากเราไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง เช่น สินค้าที่ได้รับชำรุด เสียหาย สาเหตุมาจากต้นทางคือร้านค้า หรือระหว่างทางจากระบบการขนส่ง ดังนั้น แนะนำให้ตรวจสอบกับทางร้านค้าก่อนเป็นอันดับแรก อาจจะให้ร้านค้าช่วยถ่ายรูปส่งมาให้ดู เช็กประวัติการเดินทางของสินค้า หากเสี่ยงต่อการแตกหัก ทางร้านค้ามีการรับประกันความเสียหายแค่ไหน-อย่างไร รวมทั้งเสิร์ชหาข้อมูลการรีวิวการขนส่งสินค้าของร้าน ตลอดจนเช็กบริษัทขนส่งว่ามีการรับประกันความเสียหายหรือไม่

7. หลอกซื้อลอตเตอรีออนไลน์

สำหรับผู้ชื่นชอบการซื้อลอตเตอรีเสี่ยงดวง ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มซื้อขายลอตเตอรี่ออนไลน์ถูกกฎหมาย แต่การเสี่ยงดวงก็มาพร้อมความเสี่ยงของกลโกงที่มาในรูปแบบตัวแทนขายเช่นกัน ซึ่งในกรณีถ้าเราถูกลอตเตอรีออนไลน์ ตัวแทนจะเป็นผู้ติดต่อบริษัทซื้อขายใหญ่ เพื่อแจ้งข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัญชีธนาคาร เพื่อให้บริษัทจัดการโอนเงินเข้าบัญชีให้ แต่ก็อาจเจอตัวแทนโกง ใส่เลขที่บัญชีตนเองแล้วเชิดเงินหนีได้เช่นกัน ดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลตัวแทนที่เชื่อถือได้จริง แหล่งซื้อขายลอตเตอรีออนไลน์ รวมถึงตรวจเช็กเลขบนลอตเตอรีให้ถี่ถ้วน

8. โปรไฟล์หลอกเช่าพระบูชา

ในวงการคนชอบพระ ก็พบกับปัญหาโดนหลอกลวงจากการซื้อขายออนไลน์ เช่น โอนเงินเร็วแล้วร้านค้าหนีหาย มิจฉาชีพใช้รูปโปรไฟล์ปลอมมาหลอกให้ซื้อ ดังนั้นการซื้อขายในยุคดิจิทัลแบบนี้ ควรใช้เครื่องมือให้เป็นประโยชน์โดยขอวิดีโอคอลกับคนขายเพื่อดูพระ

9. หลอกขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์

การซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าขนาดใหญ่หรือราคาสูง ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าจะไม่โดนเชิดเงิน ชวดได้รับสินค้า ซึ่งกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ จึงควรพิจารณาเอกสารสัญญาซื้อขายที่แจ้งรายละเอียดชัดเจน หรือถ้าซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ควรเลือกร้านที่เป็นทางการ (Official) ดูรีวิวผู้ซื้อต่างๆ พร้อมตรวจสอบข้อมูลร้านและบัญชีผู้ขาย

10. หลอกขายต้นไม้ไม่ตรงปก

วงการต้นไม้ที่กำลังร้อนแรง โดยเฉพาะไม้มงคลและไม้ประดับภายในบ้านในยุค Work From Home การโกงผ่านซื้อ-ขายออนไลน์ก็มีเช่นกัน ถ้าซื้อต้นไม้ราคาถูก แนะนำให้ซื้อขายแบบนัดรับกับทางร้านจะดีกว่า และเลี่ยงการโอนเงินมัดจำก่อน สิ่งที่แนะนำคือควรเลือกร้านขายที่โพสต์รูปต้นไม้พร้อมมีป้ายระบุชื่อต้นไม้ หรือร้านที่เจ้าของร้านถ่ายภาพคู่ต้นไม้ ซึ่งจะช่วยยืนยันเบื้องต้นได้ว่า ร้านและเจ้าของร้านนี้มีอยู่จริง นอกจากนี้ควรขอวิดีโอคอลเพื่อตรวจสอบต้นไม้ว่าตรงปกหรือไม่ และก่อนโอนชำระเงินแนะให้เจ้าของร้านถ่ายรูปคู่กับต้นไม้ โดยถือบัตรประชาชนหรือกระดาษที่เขียนเลขที่บัญชีธนาคารมาให้ดูอีกครั้ง

แหล่งอ้างอิง : ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ ‘1212 OCC’

https://www.bangkokbanksme.com/en/buy-sell-online-scams-consumers-victim

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,401
Page Views2,003,319
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view