http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เสนอเก็บภาษีความเค็ม ป้องกันโรคไต

เสนอเก็บภาษีความเค็ม ป้องกันโรคไต

พฤติกรรมกินเค็ม ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมาย ทั้งโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นทางเครือข่ายลดบริโภคเค็ม จึงเดินหน้าเสนอแนวทางการเก็บภาษีความเค็มเพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมหรือกินเค็มโดยเฉลี่ยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวันหรือเท่ากับเกลือ 1.8 ช้อนชา ทั้งๆ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ทำให้คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายมากมาย ทั้งโรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยที่ผ่านมาทางเครือข่ายลดการบริโภคเค็มได้ประชุมร่วมกับองค์การอนามัยโลก สสส. และ อย. เพื่อหาแนวทางในการปรับปริมาณเกลือในอาหารสำเร็จรูปลงปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องให้ภาครัฐวางกฎระเบียบ เพื่อควบคุม เช่น นโยบายภาษี เช่นเดียวกับภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

รศ.นพ. สุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสาธารณสุข (HITAP) พบว่าถ้ามีการใช้งบประมาณในการรณรงค์ลดเกลือ 1 บาทจะได้ผลกำไรในการป้องกันโรคถึง 10 บาท และถ้าเราลดเกลือลงได้ 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2568 เราจะป้องกันการตายได้เป็นแสนคน ค่าใช้จ่ายจะประหยัดไปหลายหมื่นล้านบาท

นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก กลุ่มงานพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามและเครือข่ายกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า แนวโน้ม 5-6 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม มีปริมาณโซเดียมลดลง ในขณะที่อาหารแช่เย็น แช่แข็งกลับมีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่ตามร้านสะดวกซื้อ ได้มีการปรับสูตรโซเดียมเพิ่มขึ้น มีเพียง 1 ใน 3 ที่ปรับสูตรโซเดียมลดลง ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลตั้งแต่ปี 2558-2562 เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่าแนวโน้มสูตรการลดโซเดียวยังมีไม่มากพอ ดังนั้นภาครัฐต้องมีมาตรการเพิ่มขึ้นด้วยการกำหนดเพดานการเก็บภาษี รณรงค์ให้ผู้บริโภคอ่านฉลากมากขึ้น ควรมีตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ กำหนดมาตรการให้มีการปรับสูตรโซเดียมต่ำในผลิตภัณฑ์อาหาร

นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย เปิดเผยจากผลสำรวจอาหาร 53 ตัวอย่าง พบว่า อาหารจานด่วนมีปริมาณโซเดียม 450-1,390 มิลลิกรัม ขนมขบเคี้ยวโดยเฉพาะมันฝรั่งมีปริมาณโซเดียมสูงสุด รองลงมาคือ ปลาเส้น ซึ่งเป็นอาหารที่คนทุกวัยบริโภค โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น อาหารแช่เย็น แช่แข็งในร้านสะดวกซื้อ และขนมขบเคี้ยว สามารถเลือกซื้อได้ง่าย

"ข้อเสนอของเราคือ ควรมีฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ และฉลากโภชนาการแบบ GDA เพื่อง่ายต่อผู้บริโภคตัดสินใจก่อนเลือกซื้อ ผู้ประกอบการควรลดโซเดียมตามปริมาณที่เหมาะสม และหน่วยงานรัฐต้องมีการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับการลดโซเดียม และสนับสนุนให้เกิดมาตรการภาษีโซเดียมเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารและทาง อย.ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง" นายธนพลธ์ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 26 พฤศจิกายน คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมสรรพสามิต ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม จัดการประชุมสัมมนาเพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย โดยมีวาระสำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือในประเทศไทย และ ลดการบริโภคเค็มด้วยแนวทางการเก็บภาษีโซเดียมเพื่อสุขภาพหรือภาษีอาหารที่มีรสเค็มจัด โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานและรับฟังแนวทางการขับเคลื่อนด้วยตัวเองhttps://www.thaihealth.or.th/Content/55606


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,551
Page Views2,005,659
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view